เมนู

5. สุนักขัตตสูตร



ว่าด้วยภาวะแห่งอรหัตผล



[67] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหา-
วัน กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[68] พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบว่า ภิกษุมากรูปได้ทูล
พยากรณ์อรหัตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า ภิกษุมากรูป
ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์
อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล
โดยชอบหรือ หรือว่าภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วย
ความสำคัญว่าตนได้บรรลุ.
[69] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ พวกภิกษุที่
พยากรณ์อรหัตผลในสำนักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง

นี้มิได้มีนั้น มีบางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มี
ภิกษุบางเหล่าในที่นี้ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุ
ดูก่อนสุนักขัตตะ ในภิกษุเหล่านั้นภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้
นั้น ย่อมมีอรหัตผลจริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วย
ความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่
เธอ ดูก่อนสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ตถาคตมีความดำริว่าจักแสดงธรรมแก่ภิกษุ
เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่ง
ปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จัก
แสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป.
พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ขณะนี้เป็น
กาลสมควรแล้ว ๆ ี่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.
พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าวต่อไป.
พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดำรัสแล้ว.
[70] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ กามคุณ
นี้มี 5 อย่างแล 5 อย่างเป็นไฉน คือ
(1) รูปที่รู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น
ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(2) เสียงที่รู้ด้วยโสตะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น
ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(3) กลิ่นที่รู้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น
ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(4) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น
ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(5) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูก่อนสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ 5 อย่าง.
[71] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้
น้อมใจไปในโลกามิส นั้นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกา
มิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอัน
ควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมี
ใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้ง
จิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จาก
บ้านหรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไป
ใหม่ ๆ ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากิน
ดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความ
เกษม ทำมาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอ
จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้ง
จิตรับรู้ คบบุรุษนั้นและใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ.
สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่บุรุษบุคคลบางคน
ในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคล
ผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้นย่อมตรึก ย่อม
ครองธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่น

นั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสต-
สดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น บุคคล
ที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส.
[72] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็น
ผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อมใจ
ไปในอาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อม
ตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และ
ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเสมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉัน
ใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิส
ของบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้
พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ พรากแล้วจาก
ความเกี่ยวข้องในโลกามิส.
[73] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้
น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้
น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตน-
สมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยว
กับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบ
คนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออก
เป็น 2 ซีกแล้ว ย่อมเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉัน
นั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ของบุรุษบุคคลผู้น้อม

ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึง
ทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ พราก
แล้วจากความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ.
[74] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็น
ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษ
บุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่
เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย
โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบ
เหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกอิ่มหนำแล้วพึงทิ้งเสีย ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เขาจะพึงมีความปรารถนาในโภชนะนั้นอยู่หรือ
หนอ.
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า
พ. นั่นเพราะเหตุไร.
สุ. เพราะว่าโภชนะโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว.
พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องใน
อากิญจัญญายตนสมาบัติ อันบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติคายเสียแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคล
ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้อง
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.

[75] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี่ เป็นผู้
น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อม
ใจไปในนิพพานโดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน
ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น
และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก
ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในเนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัด
ขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุทั้งอยู่ได้ดังต้นตาล เป็นไปไม่ได้แล้ว มี
ความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็น
บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องใน
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.
[76] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความ
ดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา
ย่อมกำเริบด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัด
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่น
เป็นฐานะที่มีได้แล สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้
แก่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบาย
ด้วยฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอัน ไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่
เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่

สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่
เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะ
อันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว
ราคะพึงตามกำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงตาย หรือทุกข์ปาง
ตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตรสหาย
ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศัสตราแหละปากแผล
ของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศรแล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษ
คือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า
พ่ออมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มี
เชื้อเหลือติดอยู่แล้ว ท่านหมดอันตราย และพึงบริโภคโภชนะที่สบายได้ เมื่อ
ท่านบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้อกำเริบและท่านต้องชะแผลตาม
เวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อท่านชะแผลตามเวลา ทายาสมาน
ปากแผลตามเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดรัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยว
ตากลมตากแดดไปเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมไปเนือง ๆ แล้วก็อย่าให้ละออง
และของสกปรกติดตามทำลายปากแผลได้ พ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษา
แผลอยู่จนกว่าแผลจะประสานกัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศร
ให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษ หมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เราหมด
อันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลงอยู่ แผลก็
กำเริบ และไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่
ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็รัด
ปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ไปเนือง ๆ เมื่อเขาเที่ยวตากลม
ตากแดดไปเนือง ๆ แล้ว ปล่อยให้ละอองและของสกปรกติดตามทำลายปาก
แผลได้ ไม่คอยรักษาแผลอยู่ จนแผลประสานกันไม่ได้ เพราเขาทำสิ่งที่

แสลงนี้แล แผลจึงถึงความบวมได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ไม่กำจัดของไม่
สะอาดและโทษคือพิษอันยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ เขามีแผลถึงความบวมแล้ว พึง
เข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอกงามได้
ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน
เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็น
ฐานะที่มีได้ สิ่งที่เป็นแผลเบื้องตันพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
อารมณ์ไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเสียง
อันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วย
ฆานะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อัน
ไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนือง ๆ ซึ่งกาวะเห็นรูปอันไม่เป็น
ที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่
สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็น
ที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตาม
กำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปาง
ตาย.
ดูก่อนสุนักขัตตะ ก็ความตายนั้นวินัยของพระอริยะ ได้แก่ลักษณะ
ที่ภิกษุบอกคืนสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อหีนเพศ ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะ
ที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง.

[77] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความ
ดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา
ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ
นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบนั่นแล เธอไม่
ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดย
ชอบแล้ว ได้แก่ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
กลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบาย
ด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบาย
ด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วย
ชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่
สบายด้วยมโน ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว
ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรมียาพิษ
อาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา
หมอผ่าตัดใช้ศัสตราชำแหละปากแผลของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหา
ลูกศร แล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษคือพิษที่ยังมีเธอเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า
ไม่มีเธอเหลืออยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่าน
เสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเธอเหลือติดอยู่ แล้วท่านหมดอันตราย
และพึงบริโภค. โภชนะที่สบายได้ เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลงก็อย่าให้แผล
ต้องกำเริบ และท่านต้องชะแผลตามเวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อ

ท่านชะแผลตามเวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือด
รัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยว
ตากลมตากแดดไปเนือง ๆ แล้ว ก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตามทำลาย
ปากแผลได้ พ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะประสาน
กัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษ
หมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อติดอยู่แล้ว เราหมดอันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่
สบาย เมื่อบริโภคโภชนะที่สบายอยู่ แผลก็ไม่กำเริบ และชะแผลทุกเวลา
ทายาสมานปากแผลทุกเวลา เมื่อเขาชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุก
เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่รัดปากแผล และเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไป
เนืองๆ เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนือง ๆ ละอองและของสกปรกก็ไม่
ติดตามทำอันตรายปากแผล เขาคอยรักษาแผลอยู่ จนแผลหายประสานกัน
เพราะเขาทำสิ่งที่สบายนี้แล แผลจึงหายได้ด้วย 2 ประการคือ กำจัดของไม่
สะอาด และโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เขามีแผลหาย ผิวหนัง
สนิทแล้ว จึงไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมกำเริบ
ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหาได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็น
พิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะ
ที่มิได้ เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอไม่ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจ อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบแล้ว ได้แก่
ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ไม่ประกอบ
เนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
กลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบาย

ด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่
สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่
สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน
ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตาม
กำจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย.
ดูก่อนสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความใน
อุปมานี้ คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน โทษคือพิษ เป็นชื่อของ
ตัณหา เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ศัสตราเป็นชื่อของปัญญาของพระอริยะ
หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ดูก่อน
สุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ 6 อย่าง
รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรสแต่
ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียด
ทุกข์ พึงมาพบเข้า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ
นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ.
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
[78] พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ
ความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ 6 อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้า

แห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จัก
น้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูก่อนสุนักขัตตะ
เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนา
สุข เกลียดทุกข์ พึงมาพบเข้า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือหัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะถึงตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ.
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
[79] พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ
ความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ 6 อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้า
แห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จัก
น้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ สุนักขัตตสูตรที่ 5

อรรถกถาสุนักขัตตสูตร



สุนักขัตตสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสุนักขัตตสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระอรหัตชื่อว่า
อัญญา. บทว่า พฺยากตา ความว่า อัญญา คือ พระอรหัต ท่านกล่าวด้วยบท
ทั้ง 4 มีอาทิว่า อธิมาเนน ความว่า เป็นผู้มีความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ถึง
ว่าถึงแล้ว มีความสำคัญผิดว่า พวกเราได้บรรลุแล้วดังนี้.
บทว่า เอวํ เอตฺก สุนกฺขตฺต ตถาคตสฺส โหติ ความว่า ดูก่อน
สุนักขัตตะ ในการที่พวกภิกษุเหล่านี้ พยากรณ์พระอรหัตนี้ ตถาคตมีความดำริ
อย่างนี้ว่า ฐานะนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังมืดอยู่สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
เหตุ ภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีความสำคัญในธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ
แล้ว เอาเถิด เราตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ทำให้บริสุทธิ์ให้ปรากฏ.
บทว่า อถ จ ปนีเธกจฺเจ ฯปฯ ตสฺส โหติ อญฺญถตฺตํ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุผู้ปฏิบัติในเรื่องที่มีโมฆบุรุษบางพวก
ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นว่าโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนปัญ-
หานี้แล้ว ไม่รู้เลย ก็ทำเหมือนรู้ เมื่อยังไม่ถึงก็สำคัญว่าถึง จักเที่ยวโพนทนา
คุณวิเศษไปในตามนิคมเป็นต้น ข้อนั้นก็จักไม่เป็นประโยชน์ จักเป็นทุกข์แก่
โมฆบุรุษเหล่านั้นตลอดกาลนาน. พระดำริที่เกิดขึ้นแต่พระตถาคตว่า เราจัก
แสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเหตุที่พวก
โมฆบุรุษตั้งอยู่ในอิจฉาจารด้วยอาการอย่างนี้ ทรงหมายเอาข้อความนั้นจึงได้
ตรัสคำนี้.