เมนู

พระสุตตันตปิฎก



มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



เล่มที่ 1 ภาคที่ 2


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



สีหนาทวรรค


1. จูฬสีหนาทสูตร


[153] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์
แล้ว.

สมณะ 4 จำพวก


[154] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะ
ที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่าง

เปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบันลือสีหนาท
โดยชอบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะ
มีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ในโลกนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อะไรเป็น
ความมั่นใจของพวกท่าน อะไรเป็นกำลังของพวกท่าน พวกท่านพิจารณาเห็น
ในตนด้วยประการไร จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะ
ที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนา
นี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลายธรรม 4 ประการ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว มีอยู่ ที่พวกเราเห็นธรรมเหล่านี้ในตน
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนา
นี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดา
อื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ธรรม 4 อย่างเป็นไฉน 4 อย่าง คือ ความ
เลื่อมใสในพระศาสดาของพวกเรา มีอยู่ ความเลื่อมใสในพระธรรมมีอยู่ ความ
กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีอยู่ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรม
ร่วมกัน เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ มีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 4
ประการเหล่านั้นแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว ที่พวกเราเล็งเห็นธรรมเหล่านี้ในตน
จึงกล่าวอย่างนี้ สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้
สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่น
ว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล
ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ผู้ใดเป็นศาสดาของ
พวกเรา ความเลื่อมใสในศาสดาแม้ของพวกเราก็มีอยู่ คำสอนใดเป็นธรรมของ

พวกเรา ความเลื่อมใสในธรรมแม้ของพวกเราก็มีอยู่ ศีลเหล่าใดเป็นศีลของ
พวกเรา แม้พวกเราก็กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต
ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แม้ของพวกเราก็เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ. ผู้มีอายุ
ในข้อเหล่านี้อะไรเป็นข้อที่แปลกกัน อะไรเป็นข้อประสงค์ อะไรเป็นข้อที่
การทำให้ต่างกัน ในระหว่างของท่านและของเราดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุ ความสำเร็จมีอย่างเดียวหรือมีมากอย่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ
สำเร็จมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีมากอย่าง. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
ก็ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีราคะหรือของผู้ปราศจากราคะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะมิใช่ของผู้มีราคะ. พวกเธอพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้มีโทสะหรือของผู้ปราศจากโทสะ. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยา-
กรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโทสะ มิใช่ของผู้มีโทสะ.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีโมหะหรือของผู้ปราศจาก
โมหะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดย
ชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโมหะ มิใช่
ของผู้มีโมหะ. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีตัณหา
หรือของผู้ปราศจากตัณหา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้
ปราศจากตัณหา มิใช่ของผู้มีตัณหา. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จ
นั้นเป็นของผู้มีอุปาทาน หรือของผู้ไม่มีอุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ-
สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่มีอุปาทาน มิใช่ของผู้มีอุปาทาน. พวกเธอพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้งหรือของผู้ไม่รู้แจ้ง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์
อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้ง มิใช่ของผู้ไม่รู้แจ้ง. พวกเธอพึง-
กล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดียินร้ายหรือของผู้ไม่ยินดียินร้าย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่ยินดียินร้าย มิใช่ของผู้ยินดี
ยินร้าย. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดีในความ
เนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี หรือของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความ
ไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียร์ถีย์
เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดี
ในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มิใช่ของผู้ยินดีในความ
เนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.

ทิฐิ 2


[155] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฐิ 2 อย่างเหล่านี้ คือ ภวทิฐิ และ
วิภวทิฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้
แอบอิงภวทิฐิเข้าถึงภวทิฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อ
ว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงวิภวทิฐิเข้าถึงวิภวทิฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฐิ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และการถ่ายถอนแห่งทิฐิ 2 อย่างเหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีตัณหา ยังมีอุปาทาน ไม่ใช่
ผู้รู้แจ้ง ยังยินดีและยินร้าย เป็นผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มา
ยินดี พวกเขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร
ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้น
ไปจากทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึงความเกิดความ-
ดับ คุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฐิ 2 อย่างเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก
โมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและ
ยินร้าย มีความยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวก
เขาย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย
ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อนหลุดพ้นไปจากทุกข์.

อุปาทาน 4


[156] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน 4 อย่างเหล่านี้ 4 อย่างเป็น
ไฉน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติ
ความรอบรู้กามุปาทานไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้
สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นรู้ไม่ทั่วถึงฐานะ 3 ประการเหล่านี้ ตามความเป็น
จริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงมีลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่
บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่

บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติ
ความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทาน
ทุกอย่างโดยชอบ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ 2 ประการ
เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้
อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ
ความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ บัญญัติความ
รอบรู้กามุปาทาน. บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติดวามรอบรู้สีลัพ-
พตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ เพราะฉะนั้น พวกเขา
จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้
อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความ
รอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรู้
อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใส
นั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใส
นั้นเราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น
เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด
ข้อนั้นเราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะ