เมนู

เสขบุคคล


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของปุถุชนซึ่งมี
ธรรมคือสักกายทิฏฐิทั้งหมดเป็นมูลในวัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้นดังพรรณนา
มาฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงความเป็นไปของพระเสขบุคคลในวัตถุธาตุ
เหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขุ เสโข ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า โย เป็นคำขึ้นต้น. คำว่า โส เป็นคำแสดง
ไข. ปิ อักษร มีการประมวลมาเป็นอรรถ ดุจในประโยคว่า ธรรมแม้นี้
ไม่เที่ยง ดังนี้.
ก็ด้วย ปิ ศัพท์นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคล โดยความเสมอกัน
ทางอารมณ์ หาได้ประมวลมาโดยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่ แต่โดย
กำหนดอย่างต่ำ ได้แก่บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในที่นี้มุ่งเอาบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฐิ ความเสมอกันของบุคคลทั้ง 2 นั้นไม่มี แต่อารมณ์ของบุคคล
พวกแร (ผู้มีทิฏฐิวิบัติ) เป็นอย่างไร อารมณ์ของคนพวกหลังเหล่านี้
(ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวไว้ว่า ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคลโดยความเสมอกันแห่งอารมณ์ หา
ได้ประมวลมาด้วยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่.
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระเสขบุคคลที่จะพึง
กล่าว ในบัดนี้ ด้วยทำทั้งสิ้นนี้ว่า โยปิ โส. บทว่า ภิกฺขเว ภิกฺขู
นี้ มีนัยดังกล่าวนั้นแล.
บทว่า เสกฺโข ความว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ตอบว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะได้เสขธรรม. สมจริงดังพระดำรัสที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ที่ชื่อว่าเป็นเสขะ ด้วยธรรมมีประมาณเท่าใด พระพุทธเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ
ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นเสขะ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ
อันเป็นเสขะ ภิกษุ ชื่อว่าเป็นเสขะด้วยธรรมมีประมาณเท่านี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า ยังศึกษาอยู่
ดังนี้บ้าง. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุศึกษา
อยู่อย่างนี้แล ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสขะ ถามว่า พระเสขบุคคล
ย่อมศึกษาอะไร ? ตอบว่า ย่อมศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขา
บ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง ภิกษุย่อมศึกษาอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า เสขะ.

บุคคลแม้ใด เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ด้วย
อนุโลมปฏิปทา มีศีลสมบูรณ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้จักประมาณในการบริโภคโภชนะ ตามประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่น
อยู่ ตามประกอบภาวนานุโยคซึ่งโพธิปักขิยธรรม ตลอดราตรีต้น และ
ราตรีปลายอยู่ด้วยความคิดว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน
วันนี้หรือพรุ่งนี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เสขะ เพราะกำลังศึกษา.
แต่ในเนื้อความนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิเวธนั้นเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า
เสขะ หาใช่ประสงค์เอาปุถุชนไม่.

อธิบายคำว่า มานัส


มานัส อันบุคคลนั้น ยังไม่บรรลุแล้ว ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า
ผู้มีมานัสอันยังไม่บรรลุ. ราคะก็ดี จิตก็ดี พระอรหัตก็ดี ชื่อว่า
มานัส.
ความจริง ราคะ ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า มานัสนี้ใด
ย่อมเที่ยวไป เหมือนบ่วงที่เที่ยวไปในอากาศฉะนั้น.
จิต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า จิต มโน มานัส.
พระอรหัต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน พระเสขะมีพระอรหัตอันยังไม่ได้
บรรลุ พึงทำกาละ ดังนี้.
พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า มานัสในที่นี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงมีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีพระอรหัตอันไม่บรรลุแล้ว. บทว่า
อนุตฺตรํ แปลว่า ประเสริฐที่สุด อธิบายว่า ไม่มีธรรมอะไรเทียบได้.
พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เพราะหมายความว่า เกษมจากโยคะ 4 คือโยคะ 4 ไม่ประทุษร้ายแล้ว.
บทว่า ปตฺถยมาโน มีวินิจฉัยว่า ความปรารถนามี 2 อย่าง คือ
ความปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา และความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะ.
ปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา ย่อมได้ในประโยคว่า
ก็เมื่อบุคคลยังปรารถนาอยู่ ตัณหากระซิบหูย่อมเกิด
อีกทั้งจิตก็ยังหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ที่ตัณหาและทิฏฐิ-
กำหนดแล้ว ดังนี้.