เมนู

บำเรอแล้ว ดังนี้.
มารดาบิดา ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง ) ในประโยคนี้ว่า มารดา-
บิดา ท่านเรียกว่า พรหม, มารดาบิดา ท่านเรียกว่า บุพพาจารย์. สิ่งที่
ประเสริฐที่สุด ท่านเรียกว้า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ายังจักรอันประเสริฐให้เป็นไป ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาพรหมที่เกิดขึ้นต้นกัลป. อนึ่ง แม้
พรหมปุโรหิต และพรหมปาริสัชชะ พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย พรหม
ศัพท์นั้นนั่นแล แต่การพรรณนาเนื้อความในข้อนี้ พึงทราบโดยที่
กล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.

อธิบายอาภัสสรพรหม


ในวาระว่าด้วยอาภัสสรพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
รัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกายกองพรหมเหล่านั้นเหมือนกับขาดตกไป
คล้ายเปลวไฟขาดตกไปจากคบเพลิงฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พรหมเหล่านั้น
จึงชื่อว่าอาภัสสรา. ด้วยการกำหนดอาภัสสรพรหมเหล่านั้น (เป็นเกณฑ์)
จึงเป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของทุติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย. ก็พรหมที่สถิต
อยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่) ปริตตาภา-
พรหม อัปปมาณาภาพรหม (และ) อาภัสสรพรหม.

อธิบายสุภกิณหพรหม


ในวาระว่าด้วยสุภกิณหพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า สุภกิณหา เพราะหมายความว่า แพรวพราวไปด้วยสี

ที่สวยงามคือด้วยรัศมีกายอันโสภา จึงสง่างามดังทองแท่ง เปล่งแสงประกาย
อันเขาเก็บไว้ในหีบทองแท่งทึบ. ด้วยการกำหนดเอาสุภกิณหพรหมเหล่านั้น
(เป็นเกณฑ์) เป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของตติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย.
ก็พรหมที่สถิตอยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่)
ปริตตสุภพรหม อัปปมาณสุภพรหม สุภกิณหพรหม.

อธิบายเวหัปผลพรหม


ในวาระว่าด้วยเวหัปผลพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะหมายความว่า มีผลอันไพบูลย์
ท่านกล่าวว่าได้แก่พรหมชั้นจตุตถฌาน. ส่วนการอธิบายขยายความประกอบ
ในวาระทั้ง 3 นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภูตวาระนั่นแล.

อธิบายอภิภูพรหม


ในวาระว่าด้วยอภิภู พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ที่ชื่อวา อภิภูเพราะหมายความว่า ครอบงำ ถามว่า ครอบงำซึ่ง
อะไร ? ตอบว่าครอบงำซึ่งอรูปขันธ์ 4. คำว่า อภิภู นั่นเป็นชื่อของ
อสัญญีภพ. เหล่าเทพ (พรหม) อสัญญีสัตว์สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัป-
ผลพรหม (แต่ว่าแยก) สถิตอยู่ในโอกาสแห่งหนึ่ง (และ) ท่านบังเกิด
(ตายจากโลกมนุษย์) ด้วยอิริยาบถใด ก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นนั่นแล
ตราบอายุขัยคล้ายภาพจิตกรรม ในที่นี้ท่านหมายถึงเวหัปผลพรหม และ
อสัญญีสัตว์แม้ทั้งหมดนั้นด้วยคำว่า อภิภู. อาจารย์บางพวกยกย่องพรหมผู้
เป็นใหญ่ในชั้นนั้น ๆ (ว่าอภิภู) โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหม 1,000