เมนู

ก็เมื่อบุคคลนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สำคัญ
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความ
สำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะ.
ก็ในบทว่า ปชาปตึ เม นี้ ย่อมได้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหาชนิดหนึ่งนั่นแล. และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหานี้นั้น พึง
ทราบว่า ย่อมเป็นไปแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า ของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า
ปชาบดีเป็นครูของเรา เป็นนายของเรา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.

ความหมายของพรหม


ในบทนี้ว่า พฺรหฺมํ พฺรหฺมโต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่า เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ
อีกอย่างหนึ่งท้าวมหาพรหมก็ดี พระตถาคตก็ดี พราหมณ์ก็ดี
มารดาบิดาก็ดี สิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็ดี ท่านก็เรียกว่า พรหม.
จริงอยู่ ท้าวมหาพรหม ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยค
เป็นต้นว่า พรหม 1,000 2,000.
พระตถาคต ท่านก็เรียกว่า พรหม (ดัง). ในประโยคนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตนั่นแล.
พราหมณ์ ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า
พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความมืด ผู้มีพระจักษุรอบคอบ
ผู้ถึงที่สุดแห่งโลก ผู้ก้าวล่วงภพทั้งปวง ผู้ไม่มีอาสวะ
ผู้ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ผู้กล่าวสัจจะ ผู้อันพรหม