เมนู

สัมปชัญญะ นิวรณ์ และสัมโพชฌงค์ แต่จะเกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ.
ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ย่อมเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐาน
แม้เหล่านั้น (มีอิริยาบถเป็นต้น) เพราะว่า พระโยคาวจรนี้ย่อมกำหนด
อย่างนี้ว่า อิริยาบถ 4 ของเรา มี หรือไม่มี สัมปชัญญะ 4 ของเรา มี
หรือว่าไม่มี นิวรณ์ 5 ของเรา มี หรือว่าไม่มี โพชฌงค์7 ของเรามี
หรือว่าไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐานทุกข้อ.

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน


บทว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุ
หรือภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม.
บทว่า เอวํ ภเวยฺย ความว่า พึงเจริญ (สติปัฏฐาน ) ไป
ตามลำดับแห่งภาวนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตั้งแต่แรก.
บทว่า ปาฏิกงฺขํ แปลว่า พึงหวัง. อธิบายว่า มีแน่แท้.
บทว่า อญฺญา ได้แก่พระอรหัตตผล.
บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า หรือ เมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ คือยังไม่สิ้นไป.
บทว่า อนาคามิคา ได้แก่ความเป็นพระอนาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่ศาสนธรรมเป็นเครื่อง
นำออกด้วยอำนาจ (ระยะเวลา) 7 ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นเข้าไปอีก จึงตรัสคำว่า ติฏฺฐนฺตุ ภิกฺขเว ดังนี้
เป็นต้น และธรรมทั้งหมดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจ
เวไนยบุคคลผู้ (มีสติปัญญา) ปานกลางเท่านั้น. ฝ่ายพระโบราณาจารย์

หมายเอาบุคคลผู้มีปัญญาแก่กล้า จึงกล่าวไว้ว่า
บุคคลผู้มีปัญญาแก่กล้า ได้รับคำสอนในตอนเช้า
ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในตอนเย็น ได้รับคำสอนใน
ตอนเย็น ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในตอนเช้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ศาสนธรรมของเราตถาคต เป็นธรรมเครื่องนำออกอย่างนี้ ดังพรรณนา
มาฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงตบแต่งพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
ด้วยอดคือพระอรหัต ในฐานะแม้ 21 อย่าง แก่พระสาวก จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก ฯลฯ เพราะอาศัยคำที่กล่าวไว้
แล้วอย่างนี้ เราตถาคตจึงได้กล่าวสติปัฏฐานสูตรนี้ ไว้. คำที่เหลือ มี
ความหมายง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร
สูตรที่ 10
และจบวรรคที่ 1 ชื่อมูลปริยายวรรค