เมนู

แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจสัจจะ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ปุน จปรํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาถูตํ ปชานาติ
ความว่า พระโยคาวจรย่อมทราบชัดธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ยกเว้นตัณหา
ตามสภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ก็แลย่อมทราบชัดตัณหาเก่าที่เป็นตัวการณ์
ให้ทุกข์นั้นแลเกิด คือตั้งขึ้นตามสภาพเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย ย่อม
ทราบชัดพระนิพพาน คือความไม่เป็นไปของทุกข์และตัณหาทั้ง 2 ตาม
สภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ ย่อมทราบชัดอริยมรรคอันเป็นตัว
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำนิโรธให้แจ้ง ตามสภาพที่เป็นจริงว่า
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยอริยสัจที่เหลือ ได้อธิบายให้
พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรกำหนดสัจจะ 4
ของตนหรือของบุคคลอื่นแล้ว คือกำหนดสัจจะทั้ง 4 ของตนตามกาล หรือ
ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
ส่วนความเกิดขึ้นและความดับไปในจตุสัจจบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจ
ความเกิดและความดับของสัจจะทั้ง 4 ตามสภาพที่เป็นจริง. คำอื่นจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

อริยสัจในอริยสัจ


ด้วยว่า ในจตุสัจจบรรพนี้ สติเครื่องกำหนดสัจจะ 4 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดสัจจะ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือเป็นเช่น

(กับคำที่กล่าวมานี้แล้ว) นั่นแล.
จบ จตุสัจจบรรพ
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกัมมัฏ-
ฐานไว้ 21 อย่าง คือ อานาปานะ (ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า) 1
จตุอิริยาบถ (อิริยาบถ 4) 1 จตุสัมปชัญญะ (สัมปชัญญะ 4) 1
ทวัตติงสาการะ (อาการ 32) 1 จตุธาตุววัตถานะ ( การกำหนด
ธาตุ 4) 1 นวสีวถิกา (ป่าช้า 9) 1 เวทนานุปัสสนา (การ
กำหนดนิวรณ์) 1 จิตตานุปัสสนา ( การพิจารณาเห็นจิต) 1 นิวรณ-
ปริคคหะ
(การกำหนดนิวรณ์) 1 ขันธปริคคหะ (การกำหนดขันธ์) 1
อายตนปริคคหะ (การกำหนดอายตนะ) 1 โพชฌังคปริคคหะ (การ
กำหนดโพชฌงค์ ) 1 สัจจปริคคหะ (การกำหนดสัจจะ) 1.
บรรดากัมมัฏฐาน 21 อย่างนั้น อานาปานะ 1 ทวัตติงสาการะ 1
นวสีวถิกา (ป่าช้า 9) 1 รวมเป็นกัมมัฏฐานที่ให้ถึงอัปปนา 11. ฝ่าย
พระมหาสิวเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกาย กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสนวสีวถิกาไว้ ด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นโทษ. เพราะฉะนั้น ตาม
มติของพระมหาสิวเถระนั้น กัมมัฏฐาน 2 ( คือ อานาปานะ และ
ทวัตติงสาการะ ) เท่านั้น เป็นกัมมัฏฐานที่ให้ถึงอัปปนา กัมมัฏฐานที่
เหลือ เป็นกัมมัฏฐานที่ให้ถึงอุปจาร.
ถามว่า ก็ความยึดมั่น จะเกิดในกัมมัฏฐานเหล่านั้นทั้งหมดหรือไม่
เกิด ?
ตอบว่า ไม่เกิด เพราะว่า ความยึดมั่นย่อมไม่เกิดในอิริยาบถ

สัมปชัญญะ นิวรณ์ และสัมโพชฌงค์ แต่จะเกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ.
ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ย่อมเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐาน
แม้เหล่านั้น (มีอิริยาบถเป็นต้น) เพราะว่า พระโยคาวจรนี้ย่อมกำหนด
อย่างนี้ว่า อิริยาบถ 4 ของเรา มี หรือไม่มี สัมปชัญญะ 4 ของเรา มี
หรือว่าไม่มี นิวรณ์ 5 ของเรา มี หรือว่าไม่มี โพชฌงค์7 ของเรามี
หรือว่าไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐานทุกข้อ.

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน


บทว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุ
หรือภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม.
บทว่า เอวํ ภเวยฺย ความว่า พึงเจริญ (สติปัฏฐาน ) ไป
ตามลำดับแห่งภาวนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตั้งแต่แรก.
บทว่า ปาฏิกงฺขํ แปลว่า พึงหวัง. อธิบายว่า มีแน่แท้.
บทว่า อญฺญา ได้แก่พระอรหัตตผล.
บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า หรือ เมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ คือยังไม่สิ้นไป.
บทว่า อนาคามิคา ได้แก่ความเป็นพระอนาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่ศาสนธรรมเป็นเครื่อง
นำออกด้วยอำนาจ (ระยะเวลา) 7 ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นเข้าไปอีก จึงตรัสคำว่า ติฏฺฐนฺตุ ภิกฺขเว ดังนี้
เป็นต้น และธรรมทั้งหมดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจ
เวไนยบุคคลผู้ (มีสติปัญญา) ปานกลางเท่านั้น. ฝ่ายพระโบราณาจารย์