เมนู

แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจสัจจะ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ปุน จปรํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาถูตํ ปชานาติ
ความว่า พระโยคาวจรย่อมทราบชัดธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ยกเว้นตัณหา
ตามสภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ก็แลย่อมทราบชัดตัณหาเก่าที่เป็นตัวการณ์
ให้ทุกข์นั้นแลเกิด คือตั้งขึ้นตามสภาพเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย ย่อม
ทราบชัดพระนิพพาน คือความไม่เป็นไปของทุกข์และตัณหาทั้ง 2 ตาม
สภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ ย่อมทราบชัดอริยมรรคอันเป็นตัว
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำนิโรธให้แจ้ง ตามสภาพที่เป็นจริงว่า
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยอริยสัจที่เหลือ ได้อธิบายให้
พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรกำหนดสัจจะ 4
ของตนหรือของบุคคลอื่นแล้ว คือกำหนดสัจจะทั้ง 4 ของตนตามกาล หรือ
ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
ส่วนความเกิดขึ้นและความดับไปในจตุสัจจบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจ
ความเกิดและความดับของสัจจะทั้ง 4 ตามสภาพที่เป็นจริง. คำอื่นจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

อริยสัจในอริยสัจ


ด้วยว่า ในจตุสัจจบรรพนี้ สติเครื่องกำหนดสัจจะ 4 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดสัจจะ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือเป็นเช่น