เมนู

ในสมัยใดจิตเป็นธรรมชาติไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความสดชื่น เป็นไปใน
อารมณ์อย่างสม่ำเสมอ ดำเนินไปตามวิถีทางของสมถะเพราะอาศัยการปฏิบัติ
ชอบ ในการยก การข่ม และการประคองจิตนั้นให้ร่าเริง เปรียบเหมือน
นายสารถี ไม่ต้องวุ่นวายในม้าที่วิ่งไปสม่ำเสมอ นี้เรียกว่า การเพ่งดูจิต
เฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดูเฉย ๆ).
ที่ชื่อว่า การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ได้แก่การหลีกเว้น
ให้ไกล ซึ่งบุคคลผู้ยังไม่ได้บรรลุอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ ผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน.
ที่ชื่อว่า การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ได้แก่การซ่องเสพ การ
คบหา การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนา-
สมาธิ.
ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้น้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ได้แก่ความ
เป็นผู้มีจิตน้อม โน้ม นำไปในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน และนั่ง เป็นต้น
แท้ทีเดียว.
ก็เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิด
ขึ้น. ก็เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างนั้น พระโยคาวจรย่อมทราบ
ชัดว่า ความเจริญเต็มที่ (ของสมาธิสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยอรหัตต-
มรรค.

การเกิดขึ้นของอุเบกขาสัมโพชฌงค์


อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

และการทำให้มากในธรรมนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไป เพื่อให้อุเบกขาสัม-
โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่. ในพระดำรัส
นั้น อุเบกขานั่นแหละ ชื่อว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 5ประการคือ ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางใน
สัตว์ 1 ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางในสังขาร 1 การหลีกเว้นบุคคล
ผู้ผูกพันในสัตว์สังขาร 1 การคบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์
สังขาร 1 ความเป็นผู้น้อมไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น 1
ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรม 5 ประการนั้น พระโยคาวจรย่อมยังความวางตน
เป็นกลางในสัตว์ให้เกิดขึ้นด้วยอาการ 2 อย่างคือ ด้วยการพิจารณาเห็นว่า
สัตว์มีกรรมเป็นของตนอย่างนี้ว่า เจ้ามาตามกรรมของตนแล้ว ก็จักไป
ตามกรรมของตน (เหมือนกัน) เจ้าจะไปผูกพันใครกันเล่า ? และ
ด้วยการพิจารณาเห็นว่า ไม่ใช่สัตว์อย่างนี้ว่า ว่าโดยปรมัตถ์แล้ว สัตว์ไม่มี
เลย เจ้านั้นจะไปผูกพันใครเล่า ?
ย่อมยังความวางตนเป็นกลางในสังขารให้เกิดขึ้นด้วยอาการ 2 อย่าง
คือ ด้วยพิจารณาเห็นว่า ไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรผืนนี้ เข้าถึง
การเปลี่ยนสี และความคร่ำคร่า ตามลำดับ จักกลายเป็นผ้าเช็ดเท้า
ถูกเขาเขี่ยทั้งด้วยปลายไม้เท้า ก็ถ้าว่า จีวรนั้นจะพึงมีเจ้าของไซร้ เจ้าของ
ก็จะไม่ยอมให้จีวรนั้นพินาศไปอย่างนั้น 1 และด้วยการพิจารณาเห็นว่า
เป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้ ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ชั่วคราว 1.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทำการประกอบความ แม้ในบาตรเป็นต้นเหมือน

อย่างในจีวรฉะนั้น.
ในคำว่า สตฺตสงฺขารเกฬายนปุคฺคลปริวชฺชนตา (การหลีก
เว้นบุคคลผู้ผูกพันในสัตว์และสังขาร) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ ย่อมยึดถือปิยชนทั้งหลาย มีบุตรและธิดา
เป็นต้น ของคนว่าเป็นของเรา หรือเป็นบรรพชิต ย่อมยึดถืออันเตวาสิก
สัทธิวิหาริก และผู้ร่วมอุปัชฌาย์เป็นต้น ของตนว่าเป็นของเรา ลงมือ
ทำการงานทั้งหลาย มีการปลงผม เย็บผ้า ซักจีวร ย้อมจีวร และระบม
บาตรเป็นต้นให้แก่บุคคลเหล่านั้นเองทีเดียว ไม่เห็นเพียงชั่วครู่ ก็เที่ยว
ตามหาให้จ้าละหวั่น ไม่ผิดอะไรกับเนื้อตื่นภัย (ร้องถามว่า) สามเณร
รูปโน้นไปไหน ? ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน แม้ถูกผู้อื่นขอว่า ขอท่าน
จงส่งภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรรูปโน้นไปให้ ช่วยปลงผมเป็นต้นสักหน่อย
เถิด ก็ไม่ยอมให้ไป ด้วยอ้างว่า แม้พวกเรายังไม่ยอมใช้เขาให้ทำงาน
ของตนเลย พวกท่านยังจะมาเอาเขาไป (ใช้งาน) ให้ลำบาก บุคคลนี้
ชื่อว่าผู้ผูกพันในสัตว์.
ส่วนบุคคลใดยึดถือบาตร จีวร ถาด และไม้เท้าคนแก่เป็นต้น
ว่าเป็นของเรา ไม่ยอมให้ผู้อื่นแม้แต่จะเอามือแตะ พอถูกขอยืมเข้า ก็พูด
ว่า พวกเราทั้งหลาย รักสิ่งของนี้ ไม่ยอมใช้สอย พวกเราจักให้พวก
ท่านได้อย่างไร บุคคลนี้ ชื่อว่าผู้ผูกพันอยู่ในสังขาร.
ส่วนบุคคลใด เป็นผู้มีตนเป็นกลาง วางเฉยในวัตถุทั้ง 2 นั้น
บุคคลนี้ ชื่อว่าผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้หลีกเว้น
ห่างไกลบุคคลผู้ผูกพันในสัตว์และสังขารเห็นปานนี้บ้าง ผู้คบหาบุคคล

ผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารบ้าง ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไป เพื่อ
ให้เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืนและนั่งเป็นต้น
บ้าง ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างนั้น พระโยคาวจรย่อม
ทราบชัดว่า ความเจริญเต็มที่ (แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วย
อรหัตตมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรนั้นกำหนด
โพชฌงค์ 7 ของตน หรือของบุคคลอื่นอย่างนี้แล้ว คือ กำหนด
โพชฌงค์ของตนตามกาล หรือโพชฌงค์ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้
ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้. ส่วนความเกิดขึ้น
และความดับไปในโพชฌงคบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจการเกิดและ
การดับของสัมโพชฌงค์ทั้งหลาย. คำอื่นจากนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.

อริยสัจในโพชฌงค์


ด้วยว่า ในโพชฌงคบรรพนี้ สติที่กำหนดโพชฌงค์ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว นักศึกษาพึงทราบทางแห่งธรรมเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดโพชฌงค์ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือ
เป็นเช่น (กับที่กล่าวมาแล้ว) นั้นเหมือนกัน.
จบ โพชฌงคบรรพ

สัจจบรรพ


ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนา ด้วยอำนาจโพฌงค์ 7 อย่างนี้