เมนู

การเกิดขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์


สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่สมถนิมิต ที่เป็นอัพยัคคนิมิต การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ
การทำให้มากในสมถนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร ( ปัจจัย) ให้สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่. ในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น
สมถนิมิตเป็นสมถะด้วย ชื่อว่าเป็นอัพยัคคนิมิต เพราะหมายความว่า
ไม่ฟุ้งซ่านด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ คือการทำวัตถุให้สะอาด
หมดจด 1 การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ 1
ความเป็นผู้ฉลาดรั้นนิมิต 1 การยกจิตในสมัย
(ที่ควรยก) 1 การ
ข่มจิตในสมัย
(ที่ควรข่ม) 1 การทำจิตให้ร่าเริงในสมัย (ที่ควรทำ
จิตให้ร่าเริง ) 1 การเพ่งดูจิตเฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดู) 1
การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ 1 การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็น
สมาธิ 1 การพิจารณาฌานและวิโมกข์ 1 ความเป็นผู้น้อมไปใน
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น 1
ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรม 11 ประการนั้น การทำวัตถุให้สะอาดหมดจด และ
การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้ว.
ความเป็นผู้ฉลาดในการเรียน กสิณนิมิต ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในนิมิต.

บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหนตา (การประคองจิตใจใน
สมัยที่ควรประคอง) มีอธิบายว่า ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติหดหู่
ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการทำย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น การยกจิตนั้น ในสมัย
นั้น ด้วยการยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติ-
สัมโพชฌงค์ให้เกิดพร้อมกัน.
บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหนตา (การข่มจิตในสมัยที่
ควรข่ม ) ความว่า ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่านด้วยเหตุ
ทั้งหลายมีการปรารภความเพียรมากเกินไปเป็นต้น การข่มจิตนั้น ในสมัย
นั้น ด้วยการยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์
ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน.
บทว่า สมเย สมฺปหํสนตา (การประคองจิตให้ร่าเริงในสมัย
ที่ควรประคองจิตให้ร่าเริง) ความว่า ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติไม่
สดชื่น เพราะมีปัญญาและความเพียรน้อย หรือเพราะไม่ได้บรรลุถึง
ความสุขอัน เกิดจากความเข้าไปสงบ ในสมัยนั้น พระโยคาวจรย่อมยังจิตให้
สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ (ที่ตั้งแห่งความสังเวช) 9 อย่าง ที่ชื่อ
ว่า สังเวควัตถุ 9 ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ รวมเป็น 4 ทุกข์ในอบายเป็นที่ 5 ทุกข์ที่มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็น
มูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน
(ธรรม
เป็น 3). และให้เกิดความเลื่อมใส ด้วยการหมั่นระลึกถึงคุณของพระ
รัตนตรัย. นี้เรียกว่า การประคองจิตให้ร่าเริง ในสมัย (ที่ควรประคอง
จิตให้ร่าเริง.
ที่ชื่อว่า การเพ่งดูจิตเฉยๆ ในสมัยที่ (ควรเพ่งดูจิตเฉยๆ) ได้แก่

ในสมัยใดจิตเป็นธรรมชาติไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความสดชื่น เป็นไปใน
อารมณ์อย่างสม่ำเสมอ ดำเนินไปตามวิถีทางของสมถะเพราะอาศัยการปฏิบัติ
ชอบ ในการยก การข่ม และการประคองจิตนั้นให้ร่าเริง เปรียบเหมือน
นายสารถี ไม่ต้องวุ่นวายในม้าที่วิ่งไปสม่ำเสมอ นี้เรียกว่า การเพ่งดูจิต
เฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดูเฉย ๆ).
ที่ชื่อว่า การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ได้แก่การหลีกเว้น
ให้ไกล ซึ่งบุคคลผู้ยังไม่ได้บรรลุอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ ผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน.
ที่ชื่อว่า การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ได้แก่การซ่องเสพ การ
คบหา การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนา-
สมาธิ.
ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้น้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ได้แก่ความ
เป็นผู้มีจิตน้อม โน้ม นำไปในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน และนั่ง เป็นต้น
แท้ทีเดียว.
ก็เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิด
ขึ้น. ก็เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างนั้น พระโยคาวจรย่อมทราบ
ชัดว่า ความเจริญเต็มที่ (ของสมาธิสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยอรหัตต-
มรรค.

การเกิดขึ้นของอุเบกขาสัมโพชฌงค์


อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย