เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์ คือ สติสัมปชัญญะ 1 การเว้นจากบุคคลผู้มีสติหลง
ลืม 1 การคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น 1 ความเป็นผู้น้อมไป
หาสตินั้น 1.

จริงอยู่ สติสันโพชฌงค์ จะเกิดขึ้นในที่ 7 สถาน มีการก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น เพราะมีสติสัมปชัญญะ เพราะเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม
เช่นกับการเก็บอาหารไว้ เพราะคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเช่น
พระติสสทัตตเถระ และพระอภยเถระเป็นต้น และเพราะเป็นผู้มีจิต
โอนเอียงโน้มน้อมไปเพื่อให้สติตั้งขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการนั่ง การ
นอนเป็นต้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า ก็ความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์
นั้น ที่เกิดขึ้นแล้วด้วยเหตุ 4 อย่างอย่างนี้ จะมีได้ด้วยอรหัตตมรรค.

การเกิดของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์


ส่วนธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า มีอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลาย กุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ธรรมที่มีส่วนคล้าย
คลึงกับกัณหธรรมและสุกกธรรมเหล่าใด การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) เป็นไปเพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์แห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์บริบูรณ์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง 7 ประการ คือ การสอบถาม 1 การ
ทำวัตถุให้ผ่องใส 1 การปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ 1 การเว้นบุคคล
ผู้มีปัญญาทราม 1 การคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญา 1 การพิจารณาความ

ประพฤติด้วยญาณอันลึกซึ้ง 1 การน้อมใจไปในธัมมวิจยะนั้น 1 ย่อม
เป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. ความเป็นผู้มากด้วยการ
สอบถามเกี่ยวกับเนื้อความของ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ. อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ มรรค องค์ฌาน สมถะ และวิปัสสนา
ชื่อว่า ปริปุจฉกตา
ในบรรดาธรรม 7 เหล่านั้น.
การกระทำวัตถุทั้งภายในและภายนอกให้ผ่องใส ชื่อว่า วตฺถุ-
วิสทกิริยา.
เพราะว่า เมื่อใด ผม เล็บ และขน ของเธอยาวเกินไป
หรือร่างกายของเธอมีโรค (โทส) มาก และแปดเปื้อนไปด้วยมลภาวะ
คือเหงื่อ เมื่อนั้น วัตถุอันมีอยู่ในภายในใจจะไม่ผ่องใส ไม่บริสุทธิ์.
แต่เมื่อใด จีวรของเธอเก่า เศร้าหมอง มีกลิ่น หรือเสนาสนะ เปรอะ
เปื้อน เมื่อนั้น วัตถุที่มีในภายนอก จะไม่ผ่องใส ไม่บริสุทธิ์ เพราะ-
ฉะนั้น วัตถุภายใน เธอต้องกระทำให้ผ่องใส โดยการปลงผมเป็นต้น
โดยการทำร่างกายให้เบาสบาย ด้วยการชำระทั้งข้างบนข้างล่าง เป็นต้น
(และ) โดยการอบ อาบ.
วัตถุภายนอก ต้องทำให้ผ่องใสด้วยการเย็บ การซัก การย้อม
และการทำเครื่องใช้เป็นต้น. เพราะว่า แม้ญาณในจิต และเจตสิก
ที่เกิดขึ้นในเพราะวัตถุภายใน และภายนอกนี้ที่ไม่ผ่องใส ก็จะไม่ผ่องใส
(ไปด้วย) เหมือนแสงสว่างของเปลวประทีป ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ตะเกียงไส้และน้ำมันที่ไม่สะอาดฉะนั้น ส่วนแม้ญาณในจิตและเจตสิก
ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในเพราะวัตถุภายในและภายนอกที่ผ่องใส ก็จะผ่อง
ใส (ไปด้วย) เหมือนแสงสว่างของเปลวประทีปที่เกิดขึ้น โดยอาศัย
ตะเกียงไส้และน้ำมันที่สะอาดฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า การทำวัตถุให้ผ่องใส ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์.
การทำอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้มีความเสมอกัน ชื่อว่า การปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน . เพราะถ้าว่าสัทธินทรีย์ของเธอมีพลัง อินทรีย์นอกนี้
อ่อน. ต่อนั้นไป วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ประคองไว้ได้ สตินทรีย์
ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ปรากฏได้. สมาธินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ไม่ให้ฟุ้ง
ซ่านได้ ปัญญินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่พิจารณาเห็นได้. เพราะฉะนั้น
พระโยคาวจรพึงให้สัทธินทรีย์นั้นเสื่อมไปโดยพิจารณาถึงสภาวธรรม หรือ
โดยไม่ใส่ใจถึง โดยทำนองที่เมื่อใส่ใจถึง สัทธินทรีย์จะมีพลัง. ก็ในข้อนี้
มีเรื่องของพระวักกลิเถระเป็นตัวอย่าง. แต่ถ้าวิริยินทรีย์มีพลัง ภายหลัง
สัทธินทรีย์จะไม่สามารถทำหน้าที่น้อมใจเชื่อได้เลย อินทรีย์นอกนี้
ก็ไม่อาจทำหน้าที่ต่างประเภทนอกนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร
พึงให้วิริยินทรีย์นั้นเสื่อมไปด้วยการเจริญปัสสัทธิเป็นต้น. แม้ในข้อนั้น
พึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระให้เห็น. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็พึง
ทราบอย่างนั้น. เมื่ออินทรีย์อย่างเดียวมีพลัง พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้
ก็หมดสมรรถภาพในหน้าที่ของตน.
แต่ในเรื่องนี้ ท่านสรรเสริญ ความที่ศรัทธากับปัญญาเสมอกัน
และสมาธิกับวิริยะเสมอกันไว้โดยพิเศษ. เพราะว่า ผู้มีศรัทธามีพลัง แต่มี
ปัญญาอ่อน จะมีความเลื่อมใสอย่างงมงาย คือเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ
ผู้มีปัญญามีพลัง (แต่) มีศรัทธาหย่อน ย่อมจะกระเดียดไปทางข้างเกเร
แก้ไขยาก เหมือนโรคดื้อยา ไม่ทำกุศลมีทานเป็นต้น โดยคิดเลยเถิดไป
ว่า กุศลจะมีได้ด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเท่านั้น ย่อมเกิดในนรก. (แต่)

เพราะศรัทธาและปัญญาทั้งคู่เสมอกัน เขาจะเลื่อมใสในพระรัตนตรัยที
เดียว. ส่วนสมาธิมีพลัง แต่วิริยะหย่อน โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน)
จะครอบงำ (เธอ) เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ ความเกียจคร้าน.
(ถ้า) วิริยะมีพลัง แต่สมาธิหย่อน อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
จะครอบงำเธอ เพราะวิริยะเป็นฝ่ายแห่งอุทธัจจะ ก็สมาธิที่ประกอบ
ไปด้วยวิริยะ จะไม่มีตกไปในโกสัชชะ. ความเกียจคร้าน. วิริยะที่ประกอบ
ไปด้วยสมาธิจะไม่มีตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น ควรทำสมาธิและวิริยะ
ทั้งคู่นั้นให้เสมอกัน. ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้เพราะวิริยะและสมาธิทั้งคู่
นั้นเสมอกัน.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ ศรัทธาถึงจะมีพลัง
ก็ใช้ได้. เมื่อเธออย่างนี้ กำหนดอยู่ จะถึงอัปปนา. ในสมาธิและปัญญา
สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ เอกกัคคตา (สมาธิ) มีพลังย่อมใช้ได้. ด้วย
ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะบรรลุอัปปนา. สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา
ปัญญามีพลังย่อมใช้ได้. ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะถึงการแทงตลอด
ลักษณะ (พระไตรลักษณ์). ก็เพราะทั้งสองอย่างนั้นเสมอกัน อัปปนา
ก็จะมีทีเดียว. ส่วนสติ มีพลัง ใช้ได้ในที่ทุกสถาน. เพราะว่าสติจะ
รักษาจิตไว้ได้ จากการตกไปสู่อุทธัจจะ ด้วยอำนาจของศรัทธา วิริยะ
และปัญญา ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ จะรักษาจิตไว้ได้จาก
การตกไปสู่โกสัชชะ ด้วยสมาธิ ที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ เพราะ-
ฉะนั้น สตินั้นจึงจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนในแกงทุกอย่าง
ต้องเหยาะเกลือ และเหมือนในราชกิจทุกชนิด ต้องประสงค์ผู้สำเร็จราช-
การ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการอารักขาเป็นเครื่อง
ปรากฏ. เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิตจะมีไม่ได้.
การเว้นให้ห่างไกล ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทราม คือ ผู้มีปัญญาไม่
หยั่งลงในธรรมประเภทมีขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าการเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
การคบหาบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับที่กำหนดลักษณะ (ความเกิดความดับ) 50 ถ้วน ชื่อว่าการ
คบหาบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งปัญญาอันลึกซึ้ง ที่เป็น
ไปแล้วในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง ชื่อว่าการพิจารณาความเป็นไปแห่ง
ญาณอันลึกซึ้ง. ความที่จิตโน้มน้อมและโอนไปเพื่อให้ธัมมวิจยสัม-
โพชฌงค์ตั้งขึ้น ในอิริยาบถนั่ง และอิริยามถนอมเป็นต้น ชื่อว่าความ
น้อมจิตไปในธันมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. เธอรู้ชัดว่า ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
นั้น ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ จะมีการให้ภาวนาบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

การเกิดของวิริยสัมโพชฌงค์


วิริยสัมโพชฌงค์มีการเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่
อารัพภธตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
และการกระทำให้มากในอารัพภธาตุเป็นต้นนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย )
จะเป็นไปเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิญโญภาพ
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิริยสัม-
โพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.