เมนู

ความหมายของสัมโพธิ


อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้พร้อมสรรพในธรรมทั้ง 7 นี้ จำเดิม
แต่ปรารภวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง 7 นั้นจึงชื่อว่า สัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้น. ตื่น คือลุกขึ้นจากกิเลสนิทรา หรือ
แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยธรรมสามัคคี 7 ประการใด มีสติเป็นต้น
ธรรมสามัคคีนั้น ชื่อว่า สัมโพธิ. ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งสัมโพธิธรรมหรือสัมโพธิธรรมสามัคคีนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า สัมโพชฌงค์ กล่าวคือสติ. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือก็พึงทราบ
อรรถพจน์โดยนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อสนฺตํ ความว่า ไม่มีโดยการไม่กลับได้. ก็ในบททั้งหลาย
มีอาทิว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

การเกิดของสติสัมโพชฌงค์


อันดับแรก สติสัมโพชฌงค์ จะมีการขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ การกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย และการกระทำให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร
(ปัจจัย) ย่อมเป็นไป เพื่อให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง
เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้วบ้าง. เมื่อสตินั้นมีอยู่นั่นเอง ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ โยนิโสมนสิการมีลักษณะดังกล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่อ
พระโยคาวจรยังโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปในธรรมเหล่านั้นบ่อยครั้งเข้า
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์ คือ สติสัมปชัญญะ 1 การเว้นจากบุคคลผู้มีสติหลง
ลืม 1 การคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น 1 ความเป็นผู้น้อมไป
หาสตินั้น 1.

จริงอยู่ สติสันโพชฌงค์ จะเกิดขึ้นในที่ 7 สถาน มีการก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น เพราะมีสติสัมปชัญญะ เพราะเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม
เช่นกับการเก็บอาหารไว้ เพราะคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเช่น
พระติสสทัตตเถระ และพระอภยเถระเป็นต้น และเพราะเป็นผู้มีจิต
โอนเอียงโน้มน้อมไปเพื่อให้สติตั้งขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการนั่ง การ
นอนเป็นต้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า ก็ความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์
นั้น ที่เกิดขึ้นแล้วด้วยเหตุ 4 อย่างอย่างนี้ จะมีได้ด้วยอรหัตตมรรค.

การเกิดของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์


ส่วนธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า มีอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลาย กุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ธรรมที่มีส่วนคล้าย
คลึงกับกัณหธรรมและสุกกธรรมเหล่าใด การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) เป็นไปเพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์แห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์บริบูรณ์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง 7 ประการ คือ การสอบถาม 1 การ
ทำวัตถุให้ผ่องใส 1 การปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ 1 การเว้นบุคคล
ผู้มีปัญญาทราม 1 การคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญา 1 การพิจารณาความ