เมนู

การเกิดของสังโยชน์


ถามว่า ก็สังโยชน์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
แก้ว่า จะกล่าวในจักษุทวารก่อน เมื่อเธอชอบใจเพลิดเพลินยินดี
อิฏฐารมณ์ที่มาสู่คลอง (จักษุ) ด้วยอำนาจแห่งความพอใจในอิฏฐารมณ์
กามราคสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อโกรธในเพราะอนิฏฐารมณ์ ปฏิฆสังโยชน์
จะเกิดขึ้น. เมื่อสำคัญว่า นอกจากเราแล้วไม่มีใครอื่นจะสามารถสำแดง
อารมณ์1นี้ให้แจ่มแจ้งได้ มานสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อยึดถือว่า รูปารมณ์นี้2
เที่ยง ยั่งยืน ทิฏฐิสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อสงสัยว่า รูปารมณ์นี้2 เป็น
สัตว์หรือหนอ หรือเป็นของสัตว์ วิจิกิจฉาสังโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อ
ปรารถนาภพว่า ภพ ( การเกิด ) นี้มิใช่3จะหาได้ง่าย ในสัมปัตติภพเลย
ภวราคสังโยชน์4 จะเกิดขึ้น, เมื่อยึดมั่นศีลและพรตว่า เราสมาทานศีล
และพรตแบบนี้แล้วอาจจะได้ (บรรลุคุณวิเศษ) ต่อไป สีลัพพต-
ปรามาสสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อริษยาว่า ไฉนหนอ คนอื่น ๆ จึงจะไม่
ได้รูปารมณ์นี้ อิสสาสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อตระหนี่รูปารมณ์อันตนได้
แล้วต่อผู้อื่น มัจฉริยสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อไม่รู้ โดยไม่รู้ธรรมที่เกิด
ขึ้นพร้อมกับธรรมเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแหละ อวิชชาสังโยชน์จะเกิดขึ้นได้.
บทว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า สังโยชน์ทั้ง 10 อย่าง
นั้น ที่ยังไม่ได้เกิด จะเกิดขึ้นด้วยเหตุ คือด้วยการไม่ฟุ้งขึ้นอันใด เธอ
รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
1. ปาฐะว่า เอกํ ฉบับพม่าเป็น เอตํ แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า เอวํ ฉบับพม่าเป็น เอตํ แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า สมฺปตฺติภเว อตฺตโน พม่าเป็น สมฺปตฺติภเว วน โต แปลตามฉบับพม่า.
4. ปาฐะว่า ภวสํโยชน์ ฉบับพม่เป็น ภวราคสํโยชนํ แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า ยถา จ อุปฺปนฺนสฺส ความว่า ส่วนการละสังโยชน์แม้
ทั้ง 10 อย่างนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วโดยความหมายว่า ยังละไม่ได้ก็ดี โดย
การฟุ้งขึ้นก็ดี ด้วยเหตุใด เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุนั้นด้วย.
บทว่า ยถา จ ปหีนสฺส ความว่า สังโยชน์ 10 อย่างนั้นแม้
ที่ละได้แล้วโดยตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป
เพราะเหตุใด เธอก็รู้เหตุนั้นด้วย. อธิบายว่า ก็สังโยชน์นั้นจะไม่มีการเกิด
ขึ้นต่อไป คือสังโยชน์ 4 อย่าง ต่างด้วยทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส อิสสา
และ มัจฉริยะ จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป เพราะโสดา-
ปัตติมรรคก่อน.
สังโยชน์ทั้งคู่ คือกามราคะและปฏิฆะอย่างหยาบจะไม่มีการเกิดขึ้น
ต่อไป เพราะสกทาคามิมรรค สังโยชน์ทั้งคู่คือ กามราคะและปฏิฆะ
ที่ไปด้วยกันอย่างละเอียด จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป เพราะอนาคามิมรรค,
สังโยชน์ 3 อย่าง คือ มานะ ภวราคะ และอวิชชา จะไม่มีการเกิด
ขึ้นต่อไป เพราะอรหัตตมรรค ด้วยเหตุใด เธอก็รู้เหตุนั้นด้วย.
แม้ในบทว่า ในเสียงเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้
พึงทราบกถาว่าด้วยอายตนะ โดยพิสดารตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วใน
อายตนนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเทอญ.
พระโยคาวจร พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายของตนด้วยการ
กำหนดอายตนะภายในหรือในธรรมทั้งหลายของผู้อื่นด้วยการกำหนดอาย-
ตนะภายนอก คือในธรรมทั้งหลายของตน ตามกาล (เหมาะสม)
หรือของผู้อื่นตามกาล (เหมาะสม) อยู่ด้วยประการอย่างนี้. ก็ในอายตน-
บรรพนี้ สมุทยธรรม และวยธรรม ควรนำออกไปโดยนัยแห่งรูปาย-

ตนะที่ตรัสไว้แล้วในรูปขันธ์ แห่งอายตนะในบรรดาอรูปายตนะทั้งหลาย
ที่ตรัสไว้ในวิญญาณขันธ์ แห่งธรรมายตนะ ที่ตรัสไว้ในขันธ์ที่เหลือว่า
เพราะอวิชชาเกิด จักษุจึงเกิด. ไม่ควรหมายถึงโลกุตตรธรรม. คำต่อ
แต่นี้ไป มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

อริยสัจในอายตนะ


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดอายตนะ ในอายตนบรรพนี้ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว พึงประกอบความดังกล่าวมานี้ แล้วทราบมุขคือข้อปฏิบัติที่
เป็นเหตุนำออก (จากทุกข์) แห่งภิกษุผู้กำหนดถืออายตนะเป็นอารมณ์.
คำที่เหลือก็อย่างนั้นเหมือนกันแล.
จบ อายตนะบรรพ

โพชฌงคบรรพ


[144] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนา โดย
อายตนะที่เป็นไปในภายในและภายนอกอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง
จำแนกโดยโพชฌงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โพชฺฌงฺเคสุ ได้แก่องค์แห่งบุคคลผู้
ข้องอยู่ในการตรัสรู้.
บทว่า สนฺตํ ได้แก่มีอยู่โดยการกลับได้.
บทว่า สติสมฺโพชฺณงฺคํ ได้แก่องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้
กล่าวคือสติ.