เมนู

นี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารเรื่องขันธ์กล่าวไว้แล้วในคันภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิติ รูปํ ความว่า รู้รูปโดยสภาวะว่า นี้รูป รูปเท่านี้
รูปอื่นจากนี้ไม่มี. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ความสังเขปใน
คำนี้มีเท่านี้. ส่วนโดยพิสดาร รูปเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้วในเรื่องขันธ์
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแหละ.
บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดแห่งรูปโดย
อาการ 5 โดยมีอวิชชาเป็นที่เกิดเป็นต้นอย่างนี้.
บทว่า อิติ รูปสฺส อตฺถงฺคโม ความว่า ความดับแห่งรูป โดย
อาการ 5 โดยมีความดับแห่งอวิชชาเป็นต้นอย่างนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้ ส่วนความพิสดารกล่าวไว้
แล้วในเรื่องอุทยัพพยญาณ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย ไม่ว่าของตนหรือของคนอื่น ไม่ว่าตามกาลของตนหรือคนอื่น
ด้วยการกำหนดเบญจขันธ์เป็นอารมณ์อย่างนี้อยู่. ก็ในคำนี้สมุทยธรรม
และวยธรรม พึงยกขึ้นพิจารณาลักษณะ 50 ที่ท่านกล่าวไว้ในขันธ์ทั้งหลาย
มีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด. ต่อจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.

อริยสัจในเบญจขันธ์


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดขันธ์เป็นอารมณ์ ในขันธบรรพนี้ เป็น
ทุกขสัจอย่างเดียว พึงประกอบความดังกล่าวมานี้ แล้วพึงทราบมุขคือ
ข้อปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดถือขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่

เหลือ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
จบ ขันธบรรพ

อายตนบรรพ


[143] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนาโดย
เบญจขันธ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยอายตนะ จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ปุน จปรํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ
ได้แก่อายตนะภายใน 6 เหล่านี้คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
(และ) อายตนะภายนอก 6 เหล่านั้นคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์.

บทว่า จกฺขุํ จ ปชานาติ ได้แก่รู้จักขุปสาท โดยลักษณะแห่งกิจ
ตามความเป็นจริง.
บทว่า รูเป จ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรูปที่มีสมุฏฐาน 4 อย่าง
ภายนอกด้วย โดยลักษณะแห่งกิจตามความเป็นจริง.
ข้อว่า ยญฺจ ตทุภยํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชาติ สญฺโญชนํ ความว่า
ก็เพราะอาศัยอายตนะทั้ง 2 อย่าง คือทั้งตาด้วย ทั้งรูปด้วยสังโยชน์ 10 อย่าง
คือ กามราคสังโยชน์, ปฏิฆะ, มานะ, ทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพต-
ปรามาส, ภวราคะ, อิสสา, มัจฉริยะ
และอวิชชา สังโยชน์อันใด
ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดสังโยชน์นั้น โดยลักษณะตามความเป็นจริงด้วย.