เมนู

ในอิริยาบถใด พระโยคาวจรตกอยู่ใต้อำนาจถีนมิทธะ เมื่อเธอ
เปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่นจากอิริยาบถนั้นก็ดี มนสิการถึงแสงจันทร์ แสง
ประทีป และแสงคบเพลิงในตอนกลางคืน (และ) แสงพระอาทิตย์ใน
ตอนกลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี คบหากัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะ
ได้แล้ว เช่นกับพระมหากัสสปเถระก็ดี ถีนมิทธะอันเธอย่อมละได้.
เธอย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการสนทนา ถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ
เกี่ยวกับธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ. ก็พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะที่ละ
ได้แล้วด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไปด้วยอรหัตต-
มรรค.

อธิบายอุทธัจจกุกกุจจะ


เมื่อใจไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้นได้ โดยการไม่ได้
กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ). อาการที่จิตไม่สงบ
ชื่อว่า อวูปสมะ. โดยอรรถ คำว่า อวูปสมะนั้น คืออุทธัจจกุกกุจจะ
นั่นเอง. เมื่อพระโยคาวจร ยังอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปในอวูปสมะนั้น
มากครั้งเข้า อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ความไม่สงบใจ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการทำให้มากครั้ง
เข้า ในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อให้อุทธัจจ-
กุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปแห่งอุทธัจจ-

กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.
ก็การละอุทธัจจกุกกุจจะนั้น มีได้ด้วยโยนิโสมนสิการในเพราะจิต
สงบ กล่าวคือสมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจ การมนสิการโดยแยบคาย และการ
กระทำมากครั้ง ในความสงบใจนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อไม่
ให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด
ขึ้นแล้วบ้าง.

ละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยธรรม 6 ประการ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง 6 อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธจัจกุก-
กุจจะ คือ ความเป็นพหูสูต 1 ความเป็นผู้สอบถาม 1 ความเป็นผู้รู้
ปกติในพระวินัย 1 การคบหาคนเจริญแล้ว 1 ความเป็นผู้มีกัลยาณ-
มิตร 1 การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ 1.

อธิบายว่า เธอแม้เรียนนิกาย 1 บ้าง 2 นิกายบ้าง 3 นิกายบ้าง
4 นิกายบ้าง 5 นิกายบ้าง ทั้งโดยพระบาลีทั้งโดยอรรถกถา ย่อมละ
อุทธัจจกุกกุจจะได้. เธอผู้มากไปด้วยการสอบถามซึ่งที่เป็นกัปปิยะและ
อกัปปยยะก็ดี ผู้รู้ความเป็นปกติในวินัยบัญญัติ เพราะความเป็นผู้เป็นไป
ในอำนาจวินัยที่ตนช่ำชองแล้วก็ดี เข้าไปหาท่านผู้เจริญ คือพระเถระผู้
ใหญ่ก็ดี คบหาสมาคมกับกัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่น พระอุบาลีเถระ
ก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้.
ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น เธอย่อมละได้
ด้วยการกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ.