เมนู

ในอิริยาบถใด พระโยคาวจรตกอยู่ใต้อำนาจถีนมิทธะ เมื่อเธอ
เปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่นจากอิริยาบถนั้นก็ดี มนสิการถึงแสงจันทร์ แสง
ประทีป และแสงคบเพลิงในตอนกลางคืน (และ) แสงพระอาทิตย์ใน
ตอนกลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี คบหากัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะ
ได้แล้ว เช่นกับพระมหากัสสปเถระก็ดี ถีนมิทธะอันเธอย่อมละได้.
เธอย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการสนทนา ถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ
เกี่ยวกับธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ. ก็พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะที่ละ
ได้แล้วด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไปด้วยอรหัตต-
มรรค.

อธิบายอุทธัจจกุกกุจจะ


เมื่อใจไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้นได้ โดยการไม่ได้
กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ). อาการที่จิตไม่สงบ
ชื่อว่า อวูปสมะ. โดยอรรถ คำว่า อวูปสมะนั้น คืออุทธัจจกุกกุจจะ
นั่นเอง. เมื่อพระโยคาวจร ยังอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปในอวูปสมะนั้น
มากครั้งเข้า อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ความไม่สงบใจ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการทำให้มากครั้ง
เข้า ในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อให้อุทธัจจ-
กุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปแห่งอุทธัจจ-