เมนู

6 อย่าง ชื่อว่า สามิสอทุกขมสุขเวทนา.
อุเบกขาเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เนกขัมมะ 6 อย่าง ชื่อว่า
นิรามิสอทุกขมสุขเวทนา การจำแนกเวทนาเหล่านั้น มาชัดแล้วใน
พระบาลี ในอุปุริปัณณาสก์.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายของคนหรือในเวทนาทั้งหลายของผู้อื่น คือ
ในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล หรือในเวทนาทั้งหลายของผู้อื่นตาม
กาลอยู่.
ก็ในบทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ พึงทราบความว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของเวทนาทั้งหลาย ด้วย
อาการ 5 มีอาทิคือ เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด ชื่อว่า มีปกติ
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือมีปกติ
พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายอยู่ คือมีปกติพิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายตามกาลหรือมีปกติพิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายตามกาลอยู่. คำนอกเหนือจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นเอง.

อริยสัจในเวทนา


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดเวทนาในเวทนานุปัสสนา นี้เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเครื่องนำออกของภิกษุผู้กำหนด
เวทนาเพราะอธิบายประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือ เป็นเช่น
(คำที่กล่าวมาแล้ว) นั้นแล.
จบ เวทนานุปัสสนา

แก้จิตตานุปัสสนา


[140] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสติปัฏฐาน คือ เวทนานุ-
ปัสสนา โดยอาการ 9 อย่าง ๆ นี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนาโดย
อาการ 16 อย่าง จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สราคํ ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ
8 อย่าง.
บทว่า วีตราคํ ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะและอัพยากตจิตะ ก็จิต
ที่ปราศจากราคะนี้ ในจิตตานุปัสสนานี้ ไม่ได้หมายถึงโลกุตตรจิตแม้
ในบทหนึ่ง เพราะการพิจารณาไม่ใช่เป็นการประชุมธรรม (ส่วน)
อกุศลจิต 4 ดวงที่เหลือไม่จัดเข้าในบทแรก ทั้งไม่จัดเข้าในบทหลัง.
บทว่า สโทสํ ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 ดวง.
บทว่า วีตโทสํ ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะ และอัพยากตจิต.
อกุศลจิต 10 ดวงที่เหลือไม่จัดเข้าในบทแรก ทั้งไม่จัดเข้าในบทหลัง.
บทว่า สโมหํ ได้แก่อกุศลจิต 2 ดวง คือ อกุศลจิตที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา 1 ดวง อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ 1 ดวง.
ก็เพราะโมหะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลจิตทุกดวง ฉะนั้นอกุศลจิตทั้งหมด
แม้นั้น จึงเหมาะ (ที่จะจัดเข้า) ในจิตตานุปัสสนานี้ โดยแท้ทีเดียว.
จริงอยู่ ในจิตที่เป็นคู่กันนี้แหละ ท่านจัดอกุศลจิต 12 ดวง เข้าไว้แล้วแล.
บทว่า วีตโมหํ ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะ และอัพยากตจิต.
บทว่า สงฺขิตฺตํ ได้แก่จิตที่ตกไปตามถีนมิทธะ, ก็จิตที่ตกไปตาม
ถีนมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่.