เมนู

ตัณหาเก่าที่เป็นตัวการให้เกิดสตินั้น เป็นสมุทยสัจ ความไม่เป็นไปแห่ง
ทุกขสัจและสมุทยสัจ ทั้ง 2 เป็นนิโรธสัจ. อริยมรรคที่เป็นตัวการ
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ เป็นมัคคสัจ.
พระโยคาวจร ย่อมก้าวบรรลุถึงนิพพานด้วยอำนาจสัจจะ 4 ดัง
พรรณนามานี้ สรุปว่านี้เป็นทางแห่งธรรมเครื่องนำออก จนถึงพระอรหัต
ของภิกษุผู้กำหนดป่าช้า 9 แล.
จบ นวสีวถิกาบรรพ
ก็กายานุปัสสนา 14 บรรพ คือ อานาปานบรรพ 1 อิริยาปถ-
บรรพ
1 จตุสัมปชัญญบรรพ 1 ปฏิกูลมนสิการบรรพ 1 ธาตุ-
มนสิการบรรพ
1 นวสีวถิกาบรรพ 9 เป็นอันจบลงแล้ว ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.
บรรดาบรรพเหล่านั้น เฉพาะ 2 บรรพนี้คือ อานาปานบรรพ 1
ปฏิกูลมนสิการบรรพ 1 เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุ
อัปปนาสมาธิ) ส่วนที่เหลือทั้ง 12 บรรพ เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน
(กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุอุปจารสมาธิ) เท่านั้น เพราะตรัสป่าช้าทั้งหลายไว้
ด้วยอำนาจอาทีนวานุปัสสนาแล.
จบ กายานุปัสสนา

เวทนานุปัสสนา


[139] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ด้วยวิธี 14 อย่างดังพรรณนามานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา
ด้วยวิธี 9 อย่าง จึงตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว.