เมนู

เวลาที่ธัญญชาตินานาชนิด1 ปรากฏแก่บุรุษนั้นผู้แก้ไถ้นั้นแล้ว ตรวจดู
ฉะนั้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่า พิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล
(ที่เหมาะสม) หรือในกายของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะสม) ด้วยการ
กำหนดในผมเป็นต้น. คำต่อจากนี้ไป มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จริงอยู่ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดอาการ 32 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว ผู้ศึกษาควรทำการประกอบความดังที่พรรณนามาอย่างนี้แล้ว
ทราบมุขแห่งการออกไป (จากทุกข์). คำที่เหลือ (จากที่อธิบายมา
แล้วนี้) เป็นเช่นกับคำก่อนนั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ปฏิกูลมนสิการบรรพ

ธาตุมนนสิการบรรพ


[137] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจปฏิกูลมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจ
การมนสิการถึงธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้. ในคำเหล่านั้น
มีการพรรณนาความพร้อมกับคำอุปมาเป็นการเปรียบเทียบกัน ดังนี้ :-

เปรียบพระเหมือนคนฆ่าวัว


คนฆ่าวัวลางคนหรือลูกมือของเขาที่เป็นลูกจ้าง ฆ่าวัวแล้ว ชำแหละ
แล้ว ต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ นั่ง (ขาย) อยู่ที่ทาง 4 แพร่ง
1. ปาฐะว่า ปกฺขิตนานาวิธชญฺญํ ฉบับพม่าเป็น ปกฺขิตฺตนานาวิธธญฺญสฺส แปลตามพม่า.

กล่าวคือที่ท่ามกลางถนนใหญ่ ที่แยกไป 4 ทิศ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณากาย ตามที่สถิตอยู่แล้วโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งอิริยาบถทั้ง 8 และตามที่ดำรงอยู่แล้ว เพราะตามที่ได้ทั้งปณิธานไว้
อย่างนี้ว่า มีอยู่ในกายนี้ (คือ) ธาตุดิน ฯ ล ฯ ธาตุลม.
มีพุทธาธิบายไว้อย่างไร ?
มีพุทธาธิบายไว้ว่า :- คนฆ่าโค เมื่อกำลังเลี้ยงโคก็ดี กำลังจูงไป
สู่ที่ฆ่าสัตว์ก็ดี ครั้นจูงไปแล้วกำลังผูกให้ยืนอยู่ที่นั้นก็ดี กำลังฆ่าก็ดี
กำลังดูวัวที่เขาฆ่าแล้วก็ดี ความหมายรู้ว่า แม่โค ยังไม่จางหายไป
ตลอดเวลาที่ยังไม่ชำแหละแม่โคนั้นแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ แต่ครั้นนั่ง
แบ่ง (เนื้อ) แล้ว ความหมายรู้ว่า แม่โค ก็จะจางหายไป, ความหมาย
รู้ว่า เนื้อ ก็จะเป็นไปเข้ามาแทนที่ เขาจะไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราขาย
แม่โค เขาเหล่านี้ซื้อแม่โค, โดยที่แท้แล้ว เขาจะมีความคิดอย่างนี้เท่า
นั้นว่า เราขายเนื้อ เขาเหล่านี้ซื้อเนื้อ ฉันใด. ในเวลาที่ภิกษุแม้รูปนี้ยัง
เป็นพาลปุถุชนอยู่ก่อนก็เช่นนั้นเหมือนกัน ความหมายรู้ว่าสัตว์หรือบุคคล
ของท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ก็ดี ผู้บวชแล้วก็ดี ยังไม่อันตรธานไป ตลอดเวลาที่
ยังไม่ได้ทำกายนี้นั้นเอง ตามที่สถิตอยู่แล้ว ตามที่ตั้งอยู่แล้วให้เป็นการ
แยกออกไปจากก้อนแล้วเห็นโดยเป็นธาตุ แต่เมื่อท่านพิจารณาเห็นอยู่
โดยเป็นธาตุ สัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าสัตว์) ของท่านก็จะอันตรธาน
ไป จิตจะตั้งอยู่ด้วยอำนาจของธาตุนั้นเอง.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า เธอจะพิจารณา
เห็นกายนี้ ตามที่สถิตอยู่แล้ว ตามที่ตั้งอยู่แล้วโดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้
มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคฆาตก์

ผู้ขยัน หรือ ฯลฯ วาโยธาตุ แม้ฉันใด.
อธิบายว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร (โยคี) เหมือนคนฆ่าโค ความ
หมายรู้ว่าสัตว์ เหมือนความหมายรู้ว่า แม่โค อิริยาบถ 4 เหมือนทาง
ใหญ่ 4 แพร่ง การพิจารณาเห็น (กาย) โดยเป็นธาตุ เหมือนนาย
โคฆาตก์ผู้นั่งแบ่ง (เนื้อ) ออกเป็นส่วน ๆ. นี้คือการพรรณนาความ
ตามพระบาลีในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วนกถาว่าด้วยกรรมฐาน ได้ให้
พิสดารไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
บทว่า อิติ อชฺณตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ในกายของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาล อยู่อย่างนี้ คือ
โดยการกำหนดธาตุ 4 คำต่อจากนี้ไปมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
เพราะว่าในธาตุมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดธาตุ 4 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว.
บัณฑิตพึงทราบช่องทางแห่งธรรมเครื่องนำออก (จากทุกข์)
ตามที่ได้อธิบายความประกอบมาอย่างนี้แล. คำที่เหลือ เช่นกับคำก่อน
นั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ธาตุมนสิการบรรพ

นวสีวถิกาบรรพ


[138] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจการมนสิการถึงธาตุอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วย