เมนู

เวลาที่ธัญญชาตินานาชนิด1 ปรากฏแก่บุรุษนั้นผู้แก้ไถ้นั้นแล้ว ตรวจดู
ฉะนั้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่า พิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล
(ที่เหมาะสม) หรือในกายของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะสม) ด้วยการ
กำหนดในผมเป็นต้น. คำต่อจากนี้ไป มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จริงอยู่ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดอาการ 32 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว ผู้ศึกษาควรทำการประกอบความดังที่พรรณนามาอย่างนี้แล้ว
ทราบมุขแห่งการออกไป (จากทุกข์). คำที่เหลือ (จากที่อธิบายมา
แล้วนี้) เป็นเช่นกับคำก่อนนั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ปฏิกูลมนสิการบรรพ

ธาตุมนนสิการบรรพ


[137] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจปฏิกูลมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจ
การมนสิการถึงธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้. ในคำเหล่านั้น
มีการพรรณนาความพร้อมกับคำอุปมาเป็นการเปรียบเทียบกัน ดังนี้ :-

เปรียบพระเหมือนคนฆ่าวัว


คนฆ่าวัวลางคนหรือลูกมือของเขาที่เป็นลูกจ้าง ฆ่าวัวแล้ว ชำแหละ
แล้ว ต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ นั่ง (ขาย) อยู่ที่ทาง 4 แพร่ง
1. ปาฐะว่า ปกฺขิตนานาวิธชญฺญํ ฉบับพม่าเป็น ปกฺขิตฺตนานาวิธธญฺญสฺส แปลตามพม่า.