เมนู

อำนาจสัจจะทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว จะบรรลุ ความดับ ( ตัณหา ) เพราะ-
ฉะนั้น จึงเป็นช่องทางแห่งธรรมเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ จนถึงพระ
อรหัต ด้วยอำนาจแห่งพระโยคาวจร ผู้กำหนดด้วยสัมปชัญญะ 4 ประการ
รูปหนึ่งแล.
จบ จตุสัมปชัญญบรรพ

ปฏิกูลมนสิการบรรพ


[136] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา ด้วย
อำนาจแห่งสัมปชัญญะ 4 ประการดังพรรณนานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง
จำแนกด้วยอำนาจมนสิการ โดยเป็นของปฏิกูล จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า
ปุน จปรํ ดังนี้ .
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิกูลมนสิการบรรพ ดังต่อไปนี้ :-
คำใดที่จะต้องกล่าวในคำว่า อิมเมว กายํ เป็นต้น คำนั้น
ทั้งหมด1 ได้กล่าวไว้แล้วในกายคตาสติกรรมฐาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
โดยพิสดาร ด้วยอาการทุกอย่าง.
บทว่า อุภโตมุขา ความว่า (ไถ้) ประกอบด้วยปาก 2 ทาง
คือทั้งทางล่างทั้งทางบน. บทว่า นานาวิหิตสฺส แปลว่า มีอย่างต่าง ๆ.
ก็ในเรื่องนี้มีข้ออุปมาเป็นการเทียบเคียงกันดังนี้ :-
อธิบายว่า กาย คือมหาภูตรูป 4 พึงทราบว่า เหมือนไถ้มีปาก
2 ทาง อาการ 32 มีผมเป็นต้น พึงทราบว่า เหมือนธัญญชาตินานา-
ชนิดที่เทปนกันในไถ้, พระโยคาวจร พึงทราบว่า เหมือนบุรุษมีตาดี,
อาการปรากฏแจ่มชัดแห่งอาการ 32 แก่พระโยคี พึงทราบว่า เหมือน
1. ฉบับพม่ามีคำว่า สพฺพํ จึงแปลตามบาลีของพม่า.

เวลาที่ธัญญชาตินานาชนิด1 ปรากฏแก่บุรุษนั้นผู้แก้ไถ้นั้นแล้ว ตรวจดู
ฉะนั้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่า พิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล
(ที่เหมาะสม) หรือในกายของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะสม) ด้วยการ
กำหนดในผมเป็นต้น. คำต่อจากนี้ไป มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จริงอยู่ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดอาการ 32 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว ผู้ศึกษาควรทำการประกอบความดังที่พรรณนามาอย่างนี้แล้ว
ทราบมุขแห่งการออกไป (จากทุกข์). คำที่เหลือ (จากที่อธิบายมา
แล้วนี้) เป็นเช่นกับคำก่อนนั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ปฏิกูลมนสิการบรรพ

ธาตุมนนสิการบรรพ


[137] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจปฏิกูลมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจ
การมนสิการถึงธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้. ในคำเหล่านั้น
มีการพรรณนาความพร้อมกับคำอุปมาเป็นการเปรียบเทียบกัน ดังนี้ :-

เปรียบพระเหมือนคนฆ่าวัว


คนฆ่าวัวลางคนหรือลูกมือของเขาที่เป็นลูกจ้าง ฆ่าวัวแล้ว ชำแหละ
แล้ว ต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ นั่ง (ขาย) อยู่ที่ทาง 4 แพร่ง
1. ปาฐะว่า ปกฺขิตนานาวิธชญฺญํ ฉบับพม่าเป็น ปกฺขิตฺตนานาวิธธญฺญสฺส แปลตามพม่า.