เมนู

ผลสูตร ได้สัมปชัญญะหมดทั้ง 4 อย่าง. เพราะฉะนั้น ในสามัญญผลสูตร
นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวไว้เป็นพิเศษ ด้วย
อำนาจสัมปชัญญะที่ไม่ลืมหลง. และในทุก ๆ บทว่า. สมฺปชานการี
สมฺปชานการี
ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถาธิบาย ด้วยอำนาจสัมปชัญญะ
ที่ประกอบด้วยสติเหมือนกัน.
ส่วนในวิภังคปกรณ์ พระองค์ทรงจำแนกบทเหล่านี้ไว้อย่างนี้เหมือน
กันว่า พระโยคาวจรมีสติ มีสัมปชัญญะ ก้าวไปข้างหน้า มีสติ มีสัมป-
ชัญญะถอยกลับ .
บทว่า อิติ1 อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่าพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล (ที่ควร)
หรือกายของผู้อื่นตามกาล (ที่ควร) โดยการกำหนดด้วยสัมปชัญญะ
8 ประการอย่างนี้.
แม้ในจตุสัมปชัญญบรรพนี้ ก็ควรนำเอาความเกิดความเสื่อมแห่ง
รูปขันธ์นั่นเอง ไปไว้ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา
คำที่ยังเหลือ เป็นเช่นเดียวกันกับคำที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

อริยสัจในสัมปชัญญะ


ในที่นี้ สติที่กำหนดด้วยสัมปชัญญะ 4 ประการ เป็นทุกขสัจ
ตัณหาเดิมที่ยังสติให้ปรากฏ ( เป็นสมุฏฐานของสติ) เป็นสมุทัยสัจ
การไม่เป็นไปของสติและตัณหาเดิมทั้ง 2 นั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมี
ประการดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นมรรคสัจ พระโยคาวจรขวนขวาย ด้วย
1. ปาฐะว่า อิทานิ แต่ฉบับพม่าเป็น อิติ แปลตามฉบับพม่า.

อำนาจสัจจะทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว จะบรรลุ ความดับ ( ตัณหา ) เพราะ-
ฉะนั้น จึงเป็นช่องทางแห่งธรรมเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ จนถึงพระ
อรหัต ด้วยอำนาจแห่งพระโยคาวจร ผู้กำหนดด้วยสัมปชัญญะ 4 ประการ
รูปหนึ่งแล.
จบ จตุสัมปชัญญบรรพ

ปฏิกูลมนสิการบรรพ


[136] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา ด้วย
อำนาจแห่งสัมปชัญญะ 4 ประการดังพรรณนานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง
จำแนกด้วยอำนาจมนสิการ โดยเป็นของปฏิกูล จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า
ปุน จปรํ ดังนี้ .
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิกูลมนสิการบรรพ ดังต่อไปนี้ :-
คำใดที่จะต้องกล่าวในคำว่า อิมเมว กายํ เป็นต้น คำนั้น
ทั้งหมด1 ได้กล่าวไว้แล้วในกายคตาสติกรรมฐาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
โดยพิสดาร ด้วยอาการทุกอย่าง.
บทว่า อุภโตมุขา ความว่า (ไถ้) ประกอบด้วยปาก 2 ทาง
คือทั้งทางล่างทั้งทางบน. บทว่า นานาวิหิตสฺส แปลว่า มีอย่างต่าง ๆ.
ก็ในเรื่องนี้มีข้ออุปมาเป็นการเทียบเคียงกันดังนี้ :-
อธิบายว่า กาย คือมหาภูตรูป 4 พึงทราบว่า เหมือนไถ้มีปาก
2 ทาง อาการ 32 มีผมเป็นต้น พึงทราบว่า เหมือนธัญญชาตินานา-
ชนิดที่เทปนกันในไถ้, พระโยคาวจร พึงทราบว่า เหมือนบุรุษมีตาดี,
อาการปรากฏแจ่มชัดแห่งอาการ 32 แก่พระโยคี พึงทราบว่า เหมือน
1. ฉบับพม่ามีคำว่า สพฺพํ จึงแปลตามบาลีของพม่า.