เมนู

ผลสูตร ได้สัมปชัญญะหมดทั้ง 4 อย่าง. เพราะฉะนั้น ในสามัญญผลสูตร
นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวไว้เป็นพิเศษ ด้วย
อำนาจสัมปชัญญะที่ไม่ลืมหลง. และในทุก ๆ บทว่า. สมฺปชานการี
สมฺปชานการี
ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถาธิบาย ด้วยอำนาจสัมปชัญญะ
ที่ประกอบด้วยสติเหมือนกัน.
ส่วนในวิภังคปกรณ์ พระองค์ทรงจำแนกบทเหล่านี้ไว้อย่างนี้เหมือน
กันว่า พระโยคาวจรมีสติ มีสัมปชัญญะ ก้าวไปข้างหน้า มีสติ มีสัมป-
ชัญญะถอยกลับ .
บทว่า อิติ1 อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่าพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล (ที่ควร)
หรือกายของผู้อื่นตามกาล (ที่ควร) โดยการกำหนดด้วยสัมปชัญญะ
8 ประการอย่างนี้.
แม้ในจตุสัมปชัญญบรรพนี้ ก็ควรนำเอาความเกิดความเสื่อมแห่ง
รูปขันธ์นั่นเอง ไปไว้ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา
คำที่ยังเหลือ เป็นเช่นเดียวกันกับคำที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

อริยสัจในสัมปชัญญะ


ในที่นี้ สติที่กำหนดด้วยสัมปชัญญะ 4 ประการ เป็นทุกขสัจ
ตัณหาเดิมที่ยังสติให้ปรากฏ ( เป็นสมุฏฐานของสติ) เป็นสมุทัยสัจ
การไม่เป็นไปของสติและตัณหาเดิมทั้ง 2 นั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมี
ประการดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นมรรคสัจ พระโยคาวจรขวนขวาย ด้วย
1. ปาฐะว่า อิทานิ แต่ฉบับพม่าเป็น อิติ แปลตามฉบับพม่า.