เมนู

สัปปายสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้ ส่วนโคจรสัมปชัญญะ ควร
แสดงด้วยเรื่องพระมหาเถระ.

เรื่องพระมหาเถระ


เล่ากันมาว่า พระมหาเถระนั่งในที่พักกลางวัน เมื่อจะสนทนา
กับเหล่าอันเตวาสิก ได้กำมือเข้าแล้วแบออกอย่างเดิม (จากนั้น) จึงค่อยๆ
กำเข้าอีก เหล่าอันเตวาสิกได้เรียนถามท่านว่า ใต้เท้า ขอรับ เหตุไฉน
ใต้เท้าจึงกำมือเข้าอย่างเร็ว แล้วกลับแบไว้อย่างเดิม จากนั้นจึงค่อย ๆ
กำเข้าอีก. พระมหาเถระตอบว่า คุณ ตั้งแต่ผมเริ่มใส่ใจกรรมฐาน ผม
ไม่เคยละกรรมฐานแล้วกำมือเลย แต่บัดนี้ผมจะพูดกับพวกคุณ ได้ละ
กรรมฐานแล้วจึงกำมือ เพราะฉะนั้น ผมจึงได้แบมือออกไปตามเดิมแล้ว
ค่อย ๆ กำเข้าอีก. อันเตวาสิกทั้งหลายกราบเรียนว่า ดีแล้ว ขอรับ
ใต้เท้า ธรรนดาภิกษุควรจะเป็นแบบนี้. แม้ในอิริยาปถบรรพนี้ การไม่
ละกรรมฐาน พึงทราบว่า ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ไม่มีอะไรในภายในที่ชื่อว่า อัตตา คู้เข้ามาหรือเหยียดออกไปอยู่.
แต่การคู้เข้าและเหยียดออก มีได้โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่
กิริยาจิตมีประการดังที่กล่าวมาแล้ว เหมือนการเคลื่อนไหวมือและเท้าของ
หุ่นโดยการชักด้วยเชือก เพราะฉะนั้น ก็การกำหนดรู้ (ดังที่กล่าวมานี้)
พึงทราบเถิดว่า ชื่อว่ามีอสัมโมหสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้.
การใช้ผ้าสังฆาฏิ และผ้าจีวร โดยการนุ่งการห่ม1 การใช้บาตร
โดยการรักษาเป็นต้น ชื่อว่าธารณะ ในคำว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ
นี้. การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งและห่มแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต และประ-
1. ปาฐะว่า นิวาสนปารุปนวเสน น่าจะเป็นปารุปนวเสน ซึ่งแปลว่า ห่ม เพราะเป็นผ้าห่ม
ไม่ใช้ผ้านุ่ง, (ผู้แปล).

โยชน์มีประการดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั่นแหละโดยนัยมีอาทิว่า
สีตสฺส ปฏิฆาตาย (เพื่อบำบัดหนาว) ชื่อว่าประโยชน์ในการครอง
ผ้าสังฆาฏิ และผ้าจีวรนั้น ผู้ศึกษาควรเข้าใจสาตถกสัมปชัญญะ ด้วย
สามารถแห่งประโยชน์นั้นก่อน.
ส่วนจีวรเนื้อละเอียด เป็นสัปปายะของผู้มีปกติร้อน (ขี้ร้อน) และ
ผู้มีกำลังน้อย (แต่) จีวรเนื้อหยาบหนา เป็นสัปปายะของผู้มีปกติหนาว
มาก (ขี้หนาว) ผิดไปจากนี้ก็ไม่เป็นสัปปายะ. จีวรเก่าไม่เป็นสัปปายะ
ของใคร ๆ เลย. เพราะมันทำความกังวลใจให้ท่านโดยให้ความข้องใจ
เป็นต้น. ผ้าจีวรชนิดชิ้นเดียว (ไม่ได้ตัดให้เป็นขัณฑ์) และผ้าเปลือกไม้
เป็นต้นที่เป็นที่ตั้งแห่งความโลภก็อย่างนั้น เพราะผ้าเช่นนั้นทำอันตราย
แก่การอยู่โดดเดี่ยวในป่า หรือทำอันตรายถึงแก่ชีวิตก็มี และโดยตรง
แล้วผ้าจีวรผืนใดที่เกิดขึ้น (ได้มา) ด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีการทำนิมิต
เป็นต้น และจีวรใดเมื่อท่านใช้อยู่ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จีวรนั้น เป็นอสัปปายะ แต่จีวรที่ผิดแผกไปจากนี้ เป็นสัปปายะ.
ในสัมปชัญญบรรพนี้ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจสัปปายสัมปชัญญะ ด้วย
อำนาจของจีวรนั้น และโคจรสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจการไม่ละทิ้งกรรม-
ฐานเลย.
ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าอัตตาในภายในของภิกษุผู้ห่มจีวรอยู่ มีแต่การ
ห่มจีวร โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยาของจิตมีประการดังที่
กล่าวแล้วเท่านั้น. บรรดาจีวรและกายทั้ง 2 อย่างนั้น ถึงจีวรก็ไม่มีความ
ตั้งใจ ถึงกายก็ไม่มีความตั้งใจ จีวรก็ไม่รู้ว่าเราห่มกาย. ถึงกายก็ไม่รู้ว่า
จีวรห่มเรา. ธาตุทั้งหลายเท่านั้น ปกคลุมกลุ่มธาตุไว้ เหมือนเอาผ้าเก่า

ห่อรูปคือคัมภีร์ เพราะฉะนั้น ได้จีวรที่ดีแล้ว ก็ไม่ควรทำความดีใจเลย
ได้ไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ อธิบายว่า คนบางพวกพากันสักการะ นาค
จอมปลวกเจดีย์และต้นไม้1เป็นต้น ด้วยดอกไม้ของหอมและผ้าเป็นต้น.
แต่คนลางเหล่า ทำสิ่งที่ไม่ใช่สักการะ เช่น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด
เอาโคลนทา เอาท่อนไม้ตีและศัสตราประหาร เป็นต้น นาค จอมปลวก
และต้นไม้ เป็นต้น จะไม่ทำความยินดียินร้ายด้วยสักการะหรืออสักการะ
นั้น (ฉันใด ) ภิกษุก็เช่นนั้นเหมือนกัน ได้จีวรดีแล้ว ก็ไม่ควรทำ
ความดีใจ ได้ไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ. ในสัมปชัญญบรรพนี้ ผู้ศึกษา
ควรเข้าใจอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจการพิจารณาที่เป็นไปแล้ว
ดังที่พรรณนามานี้เทอญ.
แม้ในการอุ้มบาตร ก็ควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจ
ประโยชน์ที่จะพึงได้2 เพราะมีการถือบาตรเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่า เราจัก
ไม่รีบร้อนถือบาตร แต่จะถือเอาบาตร (โดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญ )
เที่ยวไปบิณฑบาต ก็จักได้ภิกษา.
ส่วนบาตรหนัก ไม่เป็นสัปปายะ สำหรับภิกษุผู้มีร่างกายผอม
และแรงน้อย และบาตรที่เชื่อม ( เหล็ก ) เข้ากัน 4 - 5 แผ่น ตะไบ
ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นสัปปายะแก่คนใดคนหนึ่งเลย3 เพราะว่า บาตรที่
ล้างยาก ไม่เหมาะ ก็เมื่อล้างบาตรนั่นแหละ เธอจะมีความกังวล. ส่วน
บาตรที่มีสีเหมือน แก้วมณี เป็น ที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่เป็นสัปปายะ โดย
1. ปาฐะว่า นานาวมฺมิกเจติยรุกฺขาทีสุ ฉบับพม่าเป็น นควมฺมิกเจติยรุกฺขาทีสุ แปลตาม
ฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า ปฏิลภิตพฺพํ อตฺตวเสน พม่าเป็น ปฏิลภิตพฺพอตฺถวเสน แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า อสปฺปาโย จ พม่าเป็น อสปฺปาโยว แปลตามพม่า.

นัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในจีวรนั่นแหละ แต่บาตรที่ได้มาโดยการทำนิมิต
เป็นต้น ซึ่งเมื่อภิกษุนั้นใช้ อกุศลธรรมจะเจริญขึ้น กุศลธรรมจะเสื่อม
ลง บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น บาตรที่ผิดแผกไป (จากนี้)
เป็นสัปปายะ. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งบาตรนั้น
พึงทราบโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่ละกรรมฐาน.
ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าเป็นอัตตาในภายในแก่ภิกษุอุ้มบาตรอยู่ ธรรมดา
การอุ้มบาตร จะมีได้ก็โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดขึ้น เพราะ
กิริยาของจิตมีประการดังที่กล่าวมาแล้ว บรรดามือและบาตรทั้ง 2 อย่าง
นั้น ทั้งบาตรก็ไม่มีความตั้งใจ ทั้งมือก็ไม่มีความตั้งใจ บาตรก็ไม่รู้ว่า
มืออุ้มเรา ถึงมือก็ไม่รู้ว่า เราอุ้มบาตร ธาตุทั้งหลายเท่านั้นอุ้มกลุ่มธาตุ
เหมือนกับในเวลาเอาคีมคีบบาตรที่สุมไฟ เพราะฉะนั้น ในสัมปชัญญบรรพ
นี้ พึงทราบอสัมโมทสัมปชัญญะ โดยการพิจารณาที่เป็นไปแล้ว ดัง
ที่พรรณนามานี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด พิจารณาเห็นจีวรเหมือนผ้าพันแผล บาตร
เหมือนกระเบื้องใส่ยา และภิกษาที่ได้มาในบาตรเหมือนยาในกระเบื้อง
ภิกษุนี้พึงทราบเถิดว่า เป็นผู้มีปกติทำความรู้ตัวสูงสุดเป็นปกติ ด้วย
อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการพาดสังฆาฏิ อุ้มบาตร และห่มจีวร เหมือน
กับชายที่มีความเอ็นดู เห็นคนอนาถานอน1อยู่ที่ศาลา สำหรับคนอนาถามี
มือเท้าด้วน มีน้ำเหลืองและเลือดทั้งหมู่หนอนไหลออกจากปากแผล มี
แมลงวันหัวเขียวตอมหึ่ง จึงได้หาผ้าพันแผลและยา พร้อมทั้งกระเบื้อง
ใส่ยาไปมอบให้เขาเหล่านั้น ในจำนวนสิ่งของเหล่านั้น แม้ผ้าที่เนื้อ
1. พม่ามีศัพท์ นิปนฺเน ในระหว่างนี้ จึงแปลตามพม่า.

ละเอียดก็ตกแก่ลางพวก ที่เนื้อหยาบก็ตกแก่ลางพวก ถึงกะลาใส่ยาที่
ทรวดทรงงามก็ตกแก่ลางพวก ที่ทรวดทรงไม่งามก็ตกแก่ลางพวก พวก
เขาจะไม่ดีใจหรือเสียใจในสิ่งของเหล่านั้น เพราะพวกเขามีความต้องการ
ผ้าเพียงแต่ใช้ปิดแผลเท่านั้น และกะลาเพียงแต่ใช้รับยาเท่านั้นฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัย ในการฉันเป็นต้น (ดังต่อไปนี้) :-
บทว่า อสิเต ความว่า ในการฉันบิณฑบาต.
บทว่า ปิเต ความว่า ในการดื่มข้าวยาคูเป็นต้น.
บทว่า ขาทิเต ความว่า ในการเคี้ยวของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งเป็นต้น.
บทว่า สายิเต ความว่า ในการดื่มของดื่มมีน้ำอ้อยเป็นต้น.
ในการฉันเป็นต้นนั้น ประโยชน์ทั้ง 8 อย่าง ที่พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้โดยนัยนี้อาทิว่า เนว ทวาย (ไม่ใช่เพื่อเล่น) ชื่อว่าประโยชน์
ผู้ศึกษาพึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งประโยชน์นั้น.
ก็ผู้ใดมีความไม่สบาย เพราะโภชนะใด โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะ
สำหรับผู้นั้น ส่วนโภชนะใดได้มาโดยการทำนิมิต เป็นต้น และเมื่อเธอ
ฉันโภชนะใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมสิ้น
ไป. โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะโดยถ่ายเดียวเท่านั้น. แต่ที่ผิดเพี้ยนไป
(จากนี้) เป็นสัปปายะ.
ผู้ศึกษาควรเข้าใจสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจแห่งโภชนะที่
เป็นสัปปายะนั้น และพึงทราบโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่ละทิ้งกรรมฐาน
เลย.
ไม่มีใครชื่อว่า อัตตา ในภายในเป็นผู้กิน มีแต่การรับบาตรธรรมดา
โดยการแผ่ขยายแห่งวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยาของจิตมีประการดังที่กล่าวมา

แล้วเท่านั้น มีแต่การหย่อนมือลงในบาตรธรรมดา โดยการแผ่ขยายแห่ง
วาโยธาตุอันเกิดแต่กิริยาของจิตเท่านั้น มีแต่การปั้นคำข้าว การยก
คำข้าวขึ้น และการอ้าปากรับ โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยา
ของจิตเท่านั้น ไม่มีใครเอากุญแจและเครื่องยนต์เปิดกระดูกคาง มีแต่การ
วางคำข้าวไว้ในปาก การให้ฟันบนทำหน้าที่แทนสาก การให้ฟันข้างล่าง
ทำหน้าที่แทนครก และการให้ลิ้นทำหน้าที่แทนมือ โดยการแผ่ขยายของ
วาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยาของจิตเท่านั้น.
ด้วยเหตุอย่างนี้ น้ำลายจำนวนเล็กน้อยจากปลายลิ้น ในบรรดา
ปลายและโคนนั้น (และ) น้ำลายจำนวนมากจากโคนลิ้น ก็จะคลุก
เคล้าคำข้าวนั้น คำข้าวนั้นจะพลิกไปมาด้วยมือคือลิ้นในครกคือฟัน (กราม)
ล่าง เปียกชุ่มไปด้วยน้ำคือเขฬะ บดละเอียดด้วยสากคือฟัน (กราม)
บน, ขึ้นชื่อว่าใคร ๆ จะเอาช้อนหรือทัพพีสอดเข้าไปข้างใน (ปาก)
ไม่มี. ( คำข้าว ) เข้าไปได้ เพราะวาโยธาตุนั่นเอง คำข้าวที่เข้า ๆ ไป
แล้ว ใคร ๆ ชื่อว่าจะยั้งไว้ ทำให้เป็น ( เหมือน ) สุมกองฟางไว้ไม่มี
แต่จะวางไว้ได้ด้วยอำนาจวาโยธาตุเท่านั้น, ที่วาง ๆ ไว้แล้ว ใคร ๆ ชื่อว่า
จะตั้งเตาติดไฟต้มให้เปื่อยไม่มี แต่จะเปื่อยได้เพราะเตโชธาตุเท่านั้น, ที่
เปื่อยแล้ว ๆ ใคร ๆ ชื่อว่าจะเอาไม้ถือหรือไม้เท้า เขี่ยออกไปข้างนอก
ก็ไม่มี, วาโยธาตุเท่านั้นจะนำออกไป. ด้วยเหตุอย่างนี้ วาโยธาตุนำ
(คำข้าว) เข้าไปด้วย นำออกไปด้วย ให้หยุดอยู่ด้วย ให้พลิกไปมา
ด้วย ให้ย่อยไปด้วย ให้นำ (กาก) ออกไปด้วย, ปฐวีธาตุทรงไว้
ด้วย ให้พลิกไปด้วย ให้ย่อยด้วย, อาโปธาตุให้เกาะกุมกันไว้ด้วย รักษา
ไว้ให้สดอยู่ด้วย, เตโชธาตุจะย่อยคำข้าวที่เข้าไปข้างในแล้ว อากาศธาตุ

เป็นช่องทาง, วิญญาณธาตุคำนึงถึงโดยอาศัยการประกอบกันโดยชอบ
ในธาตุนั้น ๆ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจสัมโมหสัมปชัญญะ ในสัมปชัญญบรรพ
โดยการพิจารณาที่เป็นไปแล้ว ดังที่พรรณนามานี้เทอญ.

ปฏิกูล 10


อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ใน
สัมปชัญญบรรพนี้ โดยการพิจารณาถึงความปฏิกูล 10 อย่างนี้คือ โดย
การไป
1 โดยการแสวงหา 1 โดยการฉัน 1 โดยอัธยาศัย 1
โดยการเก็บไว้ (ในกระเพาะอาหาร) 1 โดยส่วนที่ยังไม่ย่อย 1
โดยส่วนที่ย่อยแล้ว 1 โดยผล 1 โดยซึมซาบ 1 โดยเปรอะเปื้อน 1
ส่วนกถาอย่างพิสดาร ในสัมปชัญญบรรพนี้ ควรถือเอาจากนิเทศแห่ง
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเทอญ.
บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ความว่า ในการถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ( เพราะว่า ) ถึงเวลานั้นแล้ว เมื่อไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. เหงื่อ
จะไหลออกทั่วร่างกาย นัยน์ตาจะพร่า จิตไม่เป็นเอกัคคตา และโรคอื่น ๆ
ก็จะเกิดขึ้น. แต่เมื่อถ่ายแล้วสิ่งทั้งหมดนั้นจะไม่มี เพราะฉะนั้น ข้อความ
นี้เป็นอรรถาธิบายในคำว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม นี้. ผู้ศึกษาพึงเข้าใจ
สาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความนั้น.
ที่เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่ไม่สมควรจะเป็นอาบัติ จะเสื่อมยศ
(เสียเกียรติ) จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่เมื่อถ่ายในที่เหมาะสม สิ่งทั้ง
หมดนั้นจะไม่มี เพราะฉะนั้น การถ่ายในที่เหมาะสมนี้ จึงเป็นสัปปายะ
ในอุจจารปัสสาวกรรมนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ ด้วย