เมนู

สัปปายสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้ ส่วนโคจรสัมปชัญญะ ควร
แสดงด้วยเรื่องพระมหาเถระ.

เรื่องพระมหาเถระ


เล่ากันมาว่า พระมหาเถระนั่งในที่พักกลางวัน เมื่อจะสนทนา
กับเหล่าอันเตวาสิก ได้กำมือเข้าแล้วแบออกอย่างเดิม (จากนั้น) จึงค่อยๆ
กำเข้าอีก เหล่าอันเตวาสิกได้เรียนถามท่านว่า ใต้เท้า ขอรับ เหตุไฉน
ใต้เท้าจึงกำมือเข้าอย่างเร็ว แล้วกลับแบไว้อย่างเดิม จากนั้นจึงค่อย ๆ
กำเข้าอีก. พระมหาเถระตอบว่า คุณ ตั้งแต่ผมเริ่มใส่ใจกรรมฐาน ผม
ไม่เคยละกรรมฐานแล้วกำมือเลย แต่บัดนี้ผมจะพูดกับพวกคุณ ได้ละ
กรรมฐานแล้วจึงกำมือ เพราะฉะนั้น ผมจึงได้แบมือออกไปตามเดิมแล้ว
ค่อย ๆ กำเข้าอีก. อันเตวาสิกทั้งหลายกราบเรียนว่า ดีแล้ว ขอรับ
ใต้เท้า ธรรนดาภิกษุควรจะเป็นแบบนี้. แม้ในอิริยาปถบรรพนี้ การไม่
ละกรรมฐาน พึงทราบว่า ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ไม่มีอะไรในภายในที่ชื่อว่า อัตตา คู้เข้ามาหรือเหยียดออกไปอยู่.
แต่การคู้เข้าและเหยียดออก มีได้โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่
กิริยาจิตมีประการดังที่กล่าวมาแล้ว เหมือนการเคลื่อนไหวมือและเท้าของ
หุ่นโดยการชักด้วยเชือก เพราะฉะนั้น ก็การกำหนดรู้ (ดังที่กล่าวมานี้)
พึงทราบเถิดว่า ชื่อว่ามีอสัมโมหสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้.
การใช้ผ้าสังฆาฏิ และผ้าจีวร โดยการนุ่งการห่ม1 การใช้บาตร
โดยการรักษาเป็นต้น ชื่อว่าธารณะ ในคำว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ
นี้. การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งและห่มแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต และประ-
1. ปาฐะว่า นิวาสนปารุปนวเสน น่าจะเป็นปารุปนวเสน ซึ่งแปลว่า ห่ม เพราะเป็นผ้าห่ม
ไม่ใช้ผ้านุ่ง, (ผู้แปล).