เมนู

ภิกษุไม่นำไปไม่นำกลับ


แต่ว่า จะป่วยกล่าวไปไย เมื่อภิกษุใด ทำวัตรปฏิบัติมีประการดัง
ที่กล่าวมาแล้ว เดชที่เกิดแต่กรรม จะสำแดงออก จะปล่อยวางอนุปา-
ทินนกสังขาร
ยึดอุปาทินนกสังขาร เหงื่อจะไหลออกจากร่างกาย จะ
ไม่ขึ้นสู่วิถีทางของกรรมฐาน. จะป่วยกล่าวไปไย ถึงภิกษุนั้นจะถือเอา
บาตรและจีวร จะรีบไปไหว้พระเจดีย์ เข้าบ้าน เพื่อข้าวยาคูและภิกษา
ในเวลาที่โคทั้งหลายออกไป (หากิน) นั่นเอง ได้ข้าวยาคูแล้ว ไปยัง
อาสนศาลา (หอฉัน) แล้วดื่ม. ภายหลังด้วยเหตุเพียงการดื่มข้าวยาคู.
2-3 อึกของท่านเท่านั้น เดช (ความร้อน) ที่เกิดแต่กรรมจะปล่อยวาง
อุปาทินนกสังขาร ยึดอนุปาทินนกสังขาร. เธอจะดับความกระวนกระ-
วายที่เกิดแต่เตโชธาตุ เหมือนอาบน้ำร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคูโดยมีกรรม-
ฐานเป็นสำคัญ ล้างบาตรและบ้วนปากแล้ว มนสิการกรรมฐานในระหว่าง
ภัต เที่ยวไปบิณฑบาตในที่ที่เหลือ ฉันอาหารโดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญ
ตั้งแต่นั้นไปจะรับเอากรรมฐานที่ปรากฏขึ้นติดต่อกันไป แล้วเดินไป ภิกษุ
นี้เรียกว่าไม่นำไป แต่นำกลับ. ก็ขึ้นชื่อว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ดื่มข้าวยาคู
ปรารภวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา เช่นนี้นับ
จำนวนไม่ถ้วน. ในเกาะสีหลนั่นเอง บนอาสนศาลา อาสนะสำหรับนั่ง
ดื่มข้าวยาคูก็ไม่มี ภิกษุที่ดื่มข้าวยาคูแล้ว บรรลุอรหัต ก็ไม่มี. แต่ภิกษุใด
เป็นผู้อยู่อย่างประมาทเป็นปกติ ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตรทุกอย่าง มีจิต
ผูกพันอยู่กับเจโตขีลธรรม 5 ประการ ไม่ทำสัญญาไว้บ้างว่า ขึ้นชื่อว่า
กรรมฐานมีอยู่ เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาตเที่ยวคลุกคลีด้วยการคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ที่ไม่เหมาะสม และฉันแล้ว (มีบาตร) เปล่าออกไป ภิกษุนี้เรียก

ว่าไม่นำไป และไม่นำกลับ.

ภิกษุทั้งนำไปนำกลับ


ส่วนภิกษุนี้ใด ที่ท่านกล่าวว่า นำไปด้วย นำกลับด้วย ภิกษุนั้น
พึงทราบได้ด้วยคตปัจจาคติวัตรของผู้เดินกลับไปกลับมา. เพราะว่า
กุลบุตรทั้งหลายผู้มุ่งประโยชน์ บวชในศาสนาแล้ว เมื่อจะอยู่โดยลำพัง
10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 50 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง อยู่โดยทำกติกาวัตรกัน
ไว้ว่า ท่านครับ ท่านทั้งหลายไม่ใช่บวชหลบหนี ไม่ใช่บวชหลบภัย ไม่
ใช่บวชเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้
เพราะฉะนั้น ในขณะเดินนั่นแหละ ท่านทั้งหลายจงข่มกิเลสที่เกิดขึ้นใน
เวลาเดิน ในขณะยืน ก็ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลายืน ในขณะนั่ง ก็จง
ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลานั่ง ในขณะนอนนั่นแหละ ก็จงข่มกิเลสที่เกิด
ขึ้นในเวลานอน. ภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกาวัตรกันไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อ
ไปภิกขาจารก็เดินไปมนสิการกรรมฐานไป ตามสัญญานั้น ถ้าหากกิเลส
เกิดขึ้นแก่ใคร ในขณะเดิน ในระหว่างครึ่งอุสุภะ หนึ่งอุสุภะ ครึ่งคาวุต
หรือหนึ่งคาวุต มีก้อนหินอยู่ ภิกษุนั้นจะข่มกิเลสนั้นในที่นั้นเอง เมื่อ
ไม่อาจ (ข่มได้) อย่างนั้น ก็จะหยุดยืน. ถัดนั้นภิกษุ (รูปอื่น ) แม้
ตามหลังเธอมาก็จะหยุดยืนตาม เธอจะเตือนตนเองว่า ภิกษุนี้รู้วิตกที่เกิด
แก่เจ้าแล้ว ข้อนี้ไม่สมควรแก่เจ้า แล้วเจริญวิปัสสนาก้าวลงสู่อริยภูมิ ณ
ที่นั้นนั่นเอง ในคำว่า เมื่อไม่อาจอย่างนั้น เธอก็จะนั่ง ถัดนั้น แม้ภิกษุ
ผู้มาข้างหลัง เธอก็จะนั่งตาม ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน. ถึงไม่สามารถก้าว
ลงสู่อริยภูมิได้ ก็จะข่มกิเลสนั้นไว้ เดินมนสิการกรรมฐานไปทีเดียว ไม่