เมนู

วาโยธาตุเกิดจากจิต


เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ จะรู้ชัด (อิริยาบถ) อย่างนี้ว่า จิต (ความคิด)
เกิดขึ้นว่า เราจักเดิน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด.
การเคลื่อนไหวกายทั้งหมดไปข้างหน้า โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุอัน
เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การเดิน. แม้ในการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
แม้ในบรรดาการยืนเป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไป จิต
(ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว
วาโยเกิด.
ภาวะที่กายทั้งหมดตั้งแต่ที่สุด (คือศีรษะถึงปลายเท้า) ยึดขึ้น
โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การยืน.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว
วาโยเกิด การย่อกายตอนล่างลง การยึดกายตอนบนขึ้น โดยการแผ่ขยาย
ของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การนั่ง.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตจะให้วาโยนั้นเกิด จะให้การเคลื่อน
ไหววาโยเกิด. การเหยียดร่างกายทั้งหมดออกไปตามทางขวาง โดยการ
แผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การนอน อาการ
ของเขาผู้รู้เห็นอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน.
ถามว่า มีสัตว์อะไรเดินหรือยืนหรือ ?
ตอบว่า ไม่มี.
แต่เหมือนคำที่เรียกว่า เกวียนไป เกวียนหยุด. ก็ไม่มีอะไรที่ชื่อ

ว่าเกวียนจะไปหรือจะหยุด. แต่เมื่อสารถีผู้ฉลาด เทียมโค 4 ตัวขับไป
จะมีก็แต่เพียงการเรียกขานกันว่า เกวียนไป เกวียนหยุด ฉันใด. กาย
เหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิตเหมือนโค จิตเหมือน
สารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน วาโยธาตุที่จะให้เกิดวิญญัติ ก็จะ
เกิดขึ้น การเดินเป็นต้น จะเป็นไปโดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจาก
กิริยาของจิต จะมีแต่เพียงการเรียกขานกันว่าสัตว์เดิน สัตว์ยืน ฉันไป
ฉันยืน ฉันนั้นเหมือนกัน.
เรือวิ่งไปได้ เพราะกำลังของลม ลูกศรวิ่งไปได้
เพราะกำลังของสาย ฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น
เดินไปได้ เพราะลม (ภายใน) พัดผัน. แม้
กายยนต์นี้ ที่ (นายช่างคือตัณหาประกอบไว้) เดิน
ยิน นั่ง ได้ ด้วยอำนาจของสายชักคือจิต เหมือน
หุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ ด้วยอำนาจของสายชัก
ในเรื่องนี้ จะมีสัตว์อะไร นอกจากเหตุ ปัจจัย ที่ยืน
หรือเดินไป ด้วยอานุภาพของตน.

เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้นกำหนดอยู่ซึ่งอิริยาบถเดิน เป็นต้น
ที่เป็นไปโดยเหตุและปัจจัยเท่านั้นอย่างนี้ พึงทราบเถิดว่า บุคคลนั้นเมื่อ
เดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดิน (เมื่อยืน นั่ง หรือนอน) ก็รู้ชัดว่า เรายืน
นั่งหรือนอน.
คำว่า ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา
ตถา นํ ปชานาติ
( ก็หรือว่า เธอย่อมรู้ชัดกายนั้น ตามที่ตนดำรงอยู่

แล้ว) นี้ เป็นคำที่ประมวลอิริยาบถทุกอย่างไว้.
มีคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ว่า กายของเธอ สถิตอยู่แล้ว โดยอาการ
ใด ๆ เธอก็รู้ชัดกายนั้น โดยอาการนั้น ๆ คือ รู้ชัดกายที่สถิตอยู่โดย
อาการที่เดิน ว่า กำลังเดิน รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอาการที่ยืน นั่ง หรือ
นอน ว่า (กำลัง ) นอนเป็นต้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า หรือเธอพิจารณาเห็นกาย
ในกาย โดยการพิจารณาอิริยาบถ 4 ของตนอย่างนี้อยู่.
บทว่า พหิทฺธา วา ความว่า หรือโดยการกำหนดอิริยาบถ 4
ของผู้อื่น.
บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา ความว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
โดยการกำหนดอิริยาบถ 4 ของตน (หรือ ) ของผู้อื่นตามกาลเวลา.
ส่วนในบทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น ผู้ศึกษาควรนำ
เอาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ 5 อย่างมา โดย
นัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปขันธ์จึงเกิด.
ความจริง คำว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ ในอิริยาปถบรรพนี้
พระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น.
คำว่า อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส เป็นต้น ก็เช่นเดียวกันกับ
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

อริยสัจในอิริยาบถ


แต่ในอิริยาปถบรรพนี้ สติที่กำหนดอิริยาบถทั้ง 4 เป็นทุกขสัจ
ตัณหาเก่าที่เป็นสมุฏฐานของสติ เป็นสมุทัยสัจ การไม่เป็นไปแห่งสติ
กับตัณหาทั้ง 2 อย่างนั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ที่
ละสมุทัย ที่มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
พระโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว จะ
บรรลุความดับ (นิพพาน). ถ้อยคำดังที่พรรณนามานี้ เป็นช่องทาง
การนำออก (จากทุกข์) จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดอิริยาบถ 4
รูปหนึ่ง ดังนี้แล.
จบ อิริยาปถบรรพ

พิจารณาดูกายโดยสัมปชัญญะ 4


[135] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกการพิจารณา
เห็นกายในกายโดยอิริยาบถอย่างนี้แล้ว. บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดย
สัมปชัญญะ 4 จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้.
ก่อนอื่น บรรดาคำเหล่านั้น ในคำว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้
การเดินไปพระองค์ตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ การเดินกลับตรัสเรียกว่า
ปฏิกกันตะ. แม้ทั้ง 2 อย่างนั้น ได้ในอิริยาบถทั้ง 4.
(จะว่า) ในการเดินก่อน เมื่อโยกกายไปข้างหน้า ก็ชื่อว่าก้าวไป.
เมื่อเอนกลับก็ชื่อว่าถอยกลับ. แม้ในการยืน ผู้ยืนนั้นแหละ เมื่อโยกกาย