เมนู

อุปมาจิตเหมือนลูกวัว


เพราะว่า จิตของภิกษุนี้ ที่ซ่านไปในรูปารมณ์ เป็นต้น มานาน
แล้ว ไม่ประสงค์จะเข้าร่องรอยกรรมฐานได้ วิ่งออกนอกทางถ่ายเดียว
เหมือนรถที่เทียมด้วยวัวพยศก็ปานกัน เพราะฉะนั้น จึงอุปมาเสมือน
หนึ่งว่า คนเลี้ยงวัว (เจ้าของ) เมื่อประสงค์จะฝึกลูกวัวพยศ ที่ดื่มนม
ทุกหยดจากแม่วัวพยศ เติบโตขึ้นมา ต้องพราก (มัน) ออกจากแม่
ดอกหลักใหญ่หลักหนึ่งไว้ในที่เหมาะสม แล้วเอาเชือกผูก (มัน) ไว้ที่
หลักนั้น. ครั้นลูกวัวของเขาตัวนั้น ทะยานไปทางโน้นทางนี้ ก็ไม่อาจ
หนีไปได้ จะต้องยืนชิด หรือนอนชิดหลักนั้นเองฉันใด. ภิกษุรูปนี้เอง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประสงค์จะฝึกจิตร้ายของตน ที่เจริญขึ้นจากการ
ดื่มรสรูปารมณ์เป็นต้นมานานแล้ว ต้องพราก (มัน ) จากรูปารมณ์
เป็นต้น เข้าไปสู่ป่า หรือรุกขมูล หรือเรือนร้าง เอาเชือกคือสติผูกมัน
ไว้ที่หลัก คืออารมณ์ของสติปัฏฐานนั้น. จิตของเธอนั้นถึงจะดิ้นรนไป
ทางโน้นทางนี้อย่างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่เคยชินมาก่อน ไม่อาจจะทำลาย
เชือกคือสติ (ให้ขาด ) แล้วหนีไป ก็จะซบเซา และเงื่องหงอย อยู่
กะอารมณ์นั่นเอง ด้วยอุปจารสมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์
จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
พระโยคาวจร (ผู้บำเพ็ญเพียร) ต้องเอาสติผูกจิต
ของตนไว้ที่อารมณ์ (กรรมฐาน) ให้มั่น เหมือน
กับคนในโลกนี้ เมื่อจะฝึกวัว1 ต้องผูกวัวที่จะต้องฝึก
ไว้ที่หลักฉะนั้น.

1. ปาฐะว่า ทมฺมํ แต่ฉบับพม่าเป็น ทมํ แปลตามฉบับพม่า.