เมนู

พิจารณากาย


และในคำว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ ไม่ใช่พิจารณาเห็นธรรม
อย่างเอกนอกเหนือจาก (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูป แม้ในกาย
กล่าวคือชุมนุม (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูป มี ผม ขน เป็นต้น.
โดยที่แท้แล้ว ก็เป็นผู้พิจารณาเห็นชุมนุมแห่งองคาพยพ เหมือนผู้มอง
เห็นเครื่องประกอบของรถฉะนั้น เป็นผู้พิจารณาเห็นชุมนุมแห่งผม ขน
เป็นต้น เหมือนผู้เห็นส่วนต่าง ๆ ของตัวเมืองฉะนั้น และเป็นผู้พิจารณา
เห็นชุมนุมแห่ง (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูปนั้นแหละ เหมือนคน
ลอกกาบกล้วยออกจากต้นกล้วยฉะนั้น และเหมือนคนแบกำมือเปล่า
ออกอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น โดยการทรงแสดงวัตถุ กล่าวคือกาย
ด้วยอำนาจแห่งชุมนุม โดยประการต่าง ๆ นั้นเอง เป็นอันพระองค์ทรง
แสดงกายแยกฆนสัญญาออกไปแล้ว. เพราะว่า ในคำว่า กาเย กายา-
นุปสฺสี
นี้ จะไม่เห็นเป็นกาย เป็นหญิง เป็นชาย หรือเป็นธรรม
อะไรอื่น นอกเหนือไปจากชุมนุมแห่งธรรมตามที่กล่าวแล้ว. แต่สัตว์
ทั้งหลาย ทำความเชื่อมั่นผิด ๆ อย่างนั้นอย่างนั้น ในสภาวะเพียงการ
ชุมนุมธรรมดามที่กล่าวแล้วเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึง
ได้กล่าวไว้ว่า :-
สิ่งใดที่บุคคลเห็นอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นแล้ว
สิ่งใดที่บุคคลเห็นแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นอยู่
เมื่อไม่เห็น (ตามความเป็นจริง) จึงหลงติดอยู่
เมื่อ (หลง) ติดอยู่ ย่อมไม่หลุดพ้น.

มีอธิบายว่า เพื่อแสดงถึงการแยก ความเป็นก้อน (ฆนสัญญา) ออกไป
เป็นต้น.
และด้วยอาทิศัพท์ ในคำว่า ฆนวินิพฺโภคาทิทสฺสนตฺถํ นี้ ก็
ควรทราบอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ :-
ความจริง พระโยคาวจรนี้พิจารณาเห็นกายอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่
พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น.
มีอธิบายไว้อย่างไร ?
มีอธิบายไว้ว่า คน (ทั่วไป) มองเห็นพยับแดด ที่ไม่ใช่น้ำเลย
ว่าเป็นน่าฉันใด พระโยคาวจรไม่ใช่เหมือนอย่างนั้น คือไม่เห็นกายนี้
ที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และไม่งามเลยว่าเป็นของ
เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา และเป็นของงามไป โดยที่แท้แล้ว พิจารณา
เห็นเป็น (แต่สักว่า) กาย คือพิจารณาเห็นว่า เป็นที่ประชุมของ
กายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของไม่งาม เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า กายนี้ใด มีลม
หายใจออก หายใจเข้าเป็นเบื้องต้น มีกระดูกที่กลายเป็นผุยผงไปเป็นที่สุด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก่อนแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้ในศาสนานี้ไปสู่ป่าหรือ ฯลฯ ภิกษุนั้น มีสติ หายใจออก

และกายใดที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค ว่า พระโยคาวจร
ลางรูปในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ
กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิว กายคือหนัง กาย
คือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก และกายคือเยื่อใน
กระดูก โดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะพิจารณาเห็นกายนั้นทั้งหมดใน

กายนี้นั่นแล พระโยคาวจรจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย
กล่าวคือที่ประชุมรูปธรรมมีผม เป็นต้น ในกายต่าง ๆ เพราะไม่เห็น
สิ่งใดสิ่งหนึ่งในกายที่จะต้องยึดถืออย่างนี้ว่า เราหรือของเรา แต่เพราะ
พิจารณาเห็นชุมนุมของรูปธรรมต่าง ๆ นั้น ๆ เอง มีผมและขนเป็นต้น
อีกอย่างหนึ่งควรเข้าใจเนื้อความอย่างนี้ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย
ในกาย แม้เพราะพิจารณาเห็นกาย กล่าวคือชุมนุมอาการมีอนิจจ-
ลักษณะ
เป็นต้น ทั่วทุกอย่างในกายนี้ มีนัยดังที่มาแล้วในปฏิสัมภิทามรรค
โดยนัยมีอาทิว่าพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงไม่ใช่เห็นโดยความ
เป็นของเที่ยง.
จริงอย่างนั้น ภิกษุผู้ปฏิบัติ กาเย กายานุปัสสนาปฏิปทา (ข้อ
ปฏิบัติว่าด้วยการพิจารณากายในกาย ) นี้ พึงทราบว่า จะพิจารณาเห็น
กายนี้ ด้วยอำนาจของอนุปัสสนา 7 ประการ มีอนิจจานุปัสสนา
เป็นต้น คือจะพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่จะพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของเที่ยง จะพิจารณาเห็นโดยเป็นทุกข์ ไม่ใช้จะพิจารณา
เห็นโดยเป็นสุข จะพิจารณาเห็นโดยเป็นอนัตตา ไม่ใช่จะพิจารณาเห็น
โดยเป็นอัตตา จะเบื่อหน่าย ไม่ใช่จะเพลิดเพลิน จะคลายความกำหนัด
ยินดีไม่ใช่จะกำหนัดยินดี จะดับ (ตัณหา)ไม่ใช่จะให้เกิด (ตัณหา) จะ
สลัดออกไปไม่ใช่จะยึดมั่นไว้ เธอเมื่อพิจารณาเห็นกายนั้นโดยความไม่เที่ยง
ก็จะละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ก็จะละสุขสัญญา
ได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ก็จะละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อ
หน่ายก็จะละนันทิธรรม ความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ก็จะละราคะ

ได้ เมื่อดับ (ตัณหา) ก็จะละสมุทัยได้ เมื่อสลัดออกได้ ก็จะละการ
ยึดมั่นได้.

อธิบายบท อาตาปี สติมา สมฺปชาโน


บทว่า วิหรติ ได้แก่การดำเนินไป.
ในบทว่า อาตาปี พึงทราบวิเคราะห์ดังนี้ ชื่อว่า อาตาปะ
เพราะอรรถว่า ย่อมเผาผลาญกิเลสในภพ 3. คำว่า อาตาปะนี้เป็นชื่อ
ของวิริยะ. อาตาปะ ของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี.
บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ประกอบด้วยญาณ กล่าวคือสัมปชัญญะ.
บทว่า สติมา คือประกอบด้วยสติที่ใช้กำหนดกาย.
ก็ธรรมดาว่า อนุปัสสนา นี้ จะไม่มีแก่ผู้ปราศจากสติเลย เพราะ
พระโยคาวจรใช้สติกำหนดอารมณ์แล้ว จึงพิจารณาเห็น (กายเป็นตน)
ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็แล
ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตพูดถึงสติว่ามีประโยชน์ในธรรมทั้งปวง เพราะ-
ฉะนั้น ในพระสูตรนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
(พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ). ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัส
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้ที่ไม่มีความเพียร ความหดหู่ภายใน
ย่อมทำอันตรายให้ได้ ผู้ที่ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเป็นผู้หลงลืมสติ ในการ
กำหนดอุบาย และในการเว้นสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย คือเป็นผู้ไม่สามารถในการ
กำหนดอุบาย และในการสลัดทิ้งสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย (และ) กรรมฐาน
นั้น จะไม่สำเร็จแก่เธอด้วยวิธีนั้น ฉะนั้น พึงทราบว่า เพื่อจะทรง
แสดงธรรมทั้งหลายที่มีอานุภาพเป็นเหตุสำเร็จแห่งกรรมฐานนั้น พระ