เมนู

จากทิศตะวันตก ก็เข้าถึงพระนครเหมือนกันทางทิศตะวันตกฉะนั้น.
และพระโยคาวจรทั้งหลาย เมื่อดำเนินมาทางประตูธัมมานุปัสสนา
เจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
โดยวิธี 5 อย่างแล้ว จะไปรวมที่เดียวกัน
คือ พระนิพพานนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของธัมมา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมือนกับผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นจาก
ทิศเหนือ ก็เข้าถึงพระนครเหมือนกันทางประตูทิศเหนือได้ฉะนั้น.
สติปัฏฐาน พึงทราบว่า ตรัสไว้อย่างเดียวเท่านั้น โดยการระลึก
และโดยการรวมลงสู่จุดเดียวกัน พึงทราบว่า ตรัสไว้ 4 อย่างนั้นแหละ
โดยอารมณ์ ด้วยประการฉะนี้.

ความหมายของภิกษุ


บทว่า กตเม จตฺตาโร (4 อย่าง คืออะไร) เป็น กเถตุกมฺม-
ยตาปุจฺฉา
( คำถามเพื่อจะตอบเอง).
บทว่า อิธ ได้แก่ อิมสฺมึ โยก สาสเน แปลว่า ในศาสนานี้.
คำว่า ภิกฺขเว นี้เป็นคำเรียกบุคคลผู้จะรับธรรมะ. คำว่า ภิกฺขุ เป็น
คำแสดงถึงบุคคล ผู้จะยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อม อีกอย่างหนึ่ง เทวดา
และมนุษย์แม้เหล่าอื่น ก็ยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อมได้เหมือนกัน.
แต่พระองค์ตรัสเรียกว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ และเพราะทรง
แสดงถึงภิกขุภาวะด้วยข้อปฏิบัติ.
เพราะว่า เมื่อภิกษุทั้งหลาย ปฏิบัติตามอนุศาสนี ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
แล้ว ภิกษุทั้งหลายก็จะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด เพราะเป็น
(เสมือน) ภาชนะ (รองรับ) อนุศาสนีทุกประการ. เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
ก็ทรงระบุถึงภิกษุนั้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ที่เหลือก็เป็นอันทรง
ระบุถึงด้วยเหมือนกัน เหมือนบริษัทที่เหลือถูกระบุถึงด้วยราชศัพท์ในกิจ
ทั้งหลายมีการเสด็จพระราชดำเนินเป็นต้น.
และผู้ใดปฏิบัติข้อปฏิบัตินี้ ผู้นั้น ก็ชื่อว่า ภิกษุ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะทรงแสดงถึงภิกขุภาวะ. ด้วยข้อปฏิบัติ
บ้าง. ผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม เข้าถึงการนับว่าเป็นภิกษุ
ทั้งนั้น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
ถึงผู้ที่ประดับประดาแล้ว หากประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
สงบแล้ว ฝึกแล้ว มีคติที่แน่นอน ประพฤติพรหม-
จรรย์ เขาเว้นอาชญาในสัตว์ทั้งมวลเสียแล้ว ย่อม
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

อธิบายคำว่า กาย


บทว่า กาเย ได้แก่ในรูปกาย. ความจริง รูปกายพระองค์ทรง
ประสงค์ว่า กายในพระสูตรนี้ เหมือนกายช้าง และกายม้าเป็นต้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมของอวัยวะน้อยใหญ่ และของรูปธรรมทั้งหลาย
มีผมเป็นต้น.
ก็ (รูปกาย) ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ชุมนุม (แห่ง
อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย) ฉันใด ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็น
ที่มาถึง แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย ฉันนั้น.
เพราะว่า รูปกายนั้น เป็นที่มาถึง แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย