เมนู

ทั้งหลายยึดถือว่า เป็นสุข เที่ยง เป็นอัตตา (ก็มีนัยนี้คือ) เวทนา
เป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่สัตว์เหล่านั้นดำรง
อยู่อย่างวิปริต สำคัญผิดในเวทนา จิต และธรรมเหล่านั้นว่า เป็นสุข เที่ยง
และเป็นอัตตา
ตรัส 3 อย่างที่เหลือไว้สำหรับสัตว์เหล่านั้น เพื่อให้ละ
วิปลาสที่เหลือเหล่านั้น ด้วยการเห็นเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นว่า เป็นทุกข์
เป็นต้น ดังนี้.
เมื่อเป็นเช่นนี้ สติปัฏฐาน ก็ควรเข้าใจไว้ว่า พระองค์ตรัสไว้
4 อย่างเท่านั้น ไม่ยิ่งไม่หย่อน (ไปกว่านี้) ก็เพื่อให้ละสุภวิปลาส
สุขวิปลาส นิจจวิปลาส และอัตตวิปลาส.
และไม่ใช่เพียงตรัสไว้เพื่อ
ให้ละวิปลาสอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรเข้าใจไว้ว่า ตรัสไว้ 4 อย่างเท่านั้น
ก็เพื่อให้ละโอฆะ 4 โยคะ 4 อาสวะ 4 คันถะ 4 และอุปทาน
ทั้ง 4
และอคติ 4 ด้วย เพื่อให้กำหนดรู้อาหารทั้ง 4 ด้วย. นี้เป็น
นัยตามปกรณ์ก่อน.

มติของอรรถกถา


ส่วนในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้เท่านี้เท่านั้นแหละว่า โดยระลึก
และโดยการประมวลลงสู่จุดเดียวกันแล้ว สติปัฏฐานก็มีอย่างเดียวเท่านั้น
แต่โดยอารมณ์ 4 อย่าง. อุปมาเสมือนหนึ่งว่าในพระนครที่มีประตู
4 ประตู คนมาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นมาทางทิศตะวันออก
แล้วเข้าพระนครนั้นเอง ทางประตูด้านตะวันออก คนมาจากทิศใต้ ทิศ
ตะวันตก ทิศอุดร ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นทางทิศอุดรแล้ว เข้าสู่พระนคร

นั้นเอง ทางทิศอุดรฉันใด ข้ออุปไมยที่ให้อุปมาถึงพร้อมนี้ ก็ควรทราบ
ฉันนั้น.

ข้อเปรียบเทียบ


ความจริง พระนิพพาน เหมือนพระนคร.
โลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เหมือนประตูพระนครหลวง.
กายเป็นต้น เหมือนทิศตะวันออก เป็นต้น.
และพระโยคาวจรทั้งหลาย เมื่อมาด้วยอำนาจกายานุปัสสนา
เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยวิธี 14 อย่างแล้ว จะไปรวมลงสู่ทีเดียว
กัน คือพระนิพพานนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของ
กายานุปัสสนา เหมือนคนทั้งหลายที่มาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของ
ที่มีขึ้นทางทิศตะวันออกแล้ว ก็เข้าถึงพระนครได้เหมือนกันทางประตู
ทิศตะวันออกได้ฉะนั้น.
พระโยคาจร เมื่อดำเนินมาทางประตูเวทนานุปัสสนา เจริญ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยวิธี 9 อย่าง ก็ไปรวมลงสู่ทีเดียวกัน
คือพระนิพพานนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของเวทนา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมือนผู้มาจากทิศใต้ ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นจากทิศใต้
ก็เข้าถึงพระนครเหมือนกันทางประตูทิศใต้ฉะนั้น.
พระโยคาวจรทั้งหลาย เมื่อดำเนินมาทางประตูจิตตานุปัสสนา
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยวิธี 16 อย่าง จะไปรวมที่เดียวกัน
คือพระนิพพานนั้นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของจิตตา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมือนผู้มาจากทิศตะวันตก ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้น