เมนู

แก้สติปัฏฐาน


บทว่า สติปัฏฐาน ได้แก่สติปัฏฐาน 3 อย่าง คือ อารมณ์
แห่งสติ 1 การที่พระศาสดาไม่ทรงดีพระทัย และเสียพระทัย ใน
เมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติในสติปัฏฐาน 3 อย่าง 1 สติ 1.

อธิบายว่า อารมณ์แห่งสติท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน (เช่น) ใน
พระพุทธพจน์ทั้งหลาย มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจัก
แสดงการเกิด และการดับของสติปัฏฐาน 4 อย่าง เธอทั้งหลายจงฟัง
เทศนานั้น ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งกาย คืออะไร ?
การเกิดขึ้นแห่งอาหาร คือการเกิดขึ้นแห่งกาย.

อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์ของสติท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน (เช่น)
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า กายเป็นที่เข้าไปตั้ง (ของสติ) ไม่ใช่ตัวสติ
สติเป็นที่ตั้งด้วย เป็นตัวสติด้วย (ชื่อว่าสติปัฏฐาน) ดังนี้บ้าง.
สติปัฏฐานนั้นมีอรรถว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่ตั้ง.
อะไรตั้ง ? สติตั้ง. ที่ตั้งของสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง
สถานที่เป็นที่จอด (ประธาน) ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัฏฐาน. สถานที่เป็น
ที่จอดของสตินั้น ชื่อว่า สติปัฏฐาน เหมือนกับสถานที่ยืนของช้าง
และสถานที่ยืนของม้าเป็นต้นฉะนั้น.
สติปัฏฐาน 3 อย่าง คือ การที่พระศาสดาไม่ทรงดีพระทัย และ
เสียพระทัย ในเพราะสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน 3 อย่าง ท่าน
เรียกว่า สติปัฏฐาน ( เช่น ) ในพระพุทธพจน์แม้นี้ว่า พระศาสดา
ผู้ทรงเป็นพระอริยเจ้า
เมื่อทรงสร้องเสพสิ่งที่พระอริยเจ้าส้องเสพ
กัน ควรตามสอนหมู่คณะ
ดังนี้ . ข้อนั้น มีเนื้อความว่า ชื่อว่า

ปัฏฐานะ เพราะควรให้เริ่มตั้งไว้ อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป
(ประพฤติ).
เพราะควรให้อะไรตั้ง ?
ควรให้สติตั้ง การตั้งสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน ดังนี้.
ก็สตินั้นเอง ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
สติปัฏฐาน ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ให้โพชฌงค์ 7 ประการ
บริบูรณ์ได้. ในข้อนั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะตั้งไว้
อธิบายว่า เข้าไปตั้งไว้ คือ ก้าวลง แล่นไป เป็นไป. ปัฏฐาน คือ
สตินั้นเอง จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า ระลึก ชื่อว่า ปัฏฐาน
เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้, สตินั้นด้วย การตั้งไว้ด้วย ฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า สติปัฏฐาน ด้วยประการดังนี้บ้าง. ในสติปัฏฐานสูตรนี้ ท่าน
ประสงค์สติปัฏฐานข้อนี้.
ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เหตุไฉน คำว่า สติปัฏฐาน จึงเป็น
พหูพจน์ ?
เพราะสติมีมาก.
ความจริง ว่าโดยประเภทแห่งอารมณ์ สตินั้นมีมาก.
เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร คำว่า มรรค (ซึ่งมีมากเหมือนกัน)
จึงเป็นเอกพจน์.
เพราะมีอย่างเดียว โดยอรรถว่า จะต้องดำเนินไป.
จริงอยู่ สติเหล่านั้นแม้จะมี 4 อย่าง แต่ก็ถึงความเป็นอย่างเดียว
กัน ด้วยอรรถว่า ต้องดำเนินไป. สมจริงดังที่ที่กล่าวไว้ว่า ทาง

ชื่อว่ามรรค เพราะหมายความว่าอะไร ?
เพราะหมายความว่า เป็นเครื่องไปสู่นิพพาน และเพราะหมาย
ความว่า ผู้มีความต้องการนิพพานจะต้องดำเนินไป.
ก็สติแม้ทั้ง 4 อย่างเหล่านั้น เมื่อยังกิจให้สำเร็จ ในอารมณ์
ทั้งหลาย มีกายเป็นต้น (จน) ถึงนิพพานในกาลภายหลัง และผู้มุ่ง
นิพพาน ก็ดำเนินไปตั้งแต่นั้น เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านจึง
กล่าวไว้ว่า สติแม้ทั้ง 4 อย่างเป็นทางสายเอก.
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีเทศนาที่มีการสืบต่อกันมาตามลำดับทีเดียว
ด้วยการสืบต่อถ้อยคำกันมา เหมือนในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงทางสำหรับย่ำยีมารและเสนา-
มาร เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางสำหรับ
ย่ำยีมารและเสนามารคืออะไร ? คือโพชฌงค์ 7 (องค์แห่งธรรม
เป็นเหตุตรัสรู้) ทั้งหางสำหรับย่ำยีมาร และโพชฌงค์ 7 โดย
อรรถ ก็เป็นอันเดียว แต่พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฉันใด เอกายน-
มรรค กับสติปัฏฐานสูตร 4 ก็ฉันนั้น โดยอรรถเป็นอันเดียวกัน ใน
ที่นี้ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
เพราะฉะนั้น ควรเข้าใจว่า (มรรค)
เป็นเอกพจน์ เพราะเป็นอย่างเดียวกัน โดยอรรถว่า จะต้องดำเนินไป
(และ) ควรเข้าใจ (สติปัฏฐาน) ว่าเป็นพหูพจน์ เพราะสติมีมาก
โดยประเภทแห่งอารมณ์.

เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้ 4 อย่าง


แต่เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ 4 อย่าง
เท่านั้น ไม่ยิ่งไปหย่อน (ไปกว่านั้น) ?