เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถามปัญหา. ในอวสานแห่งการวิสัชนาปัญหา
ท้าวเธอได้บรรลุโสดาปัตติผล พร้อมด้วยเทวดา 8 หมื่นตน ท้าวเธอ
(จุติแล้ว) ได้เสด็จอุบัติขึ้นใหม่เป็นปกติดังเดิมอีก.

เทวดาตกนรก


แม้สุพรหมเทพบุตร มีเทพอัปสรพันหนึ่ง เป็นบริวาร เสวย
สวรรค์สมบัติ บรรดาเทพอัปสรสาวสวรรค์พันหนึ่งนั้น เทพอัปสร 500
ตน กำลังเก็บดอกไม้ จากต้นอยู่หลัด ๆ ก็จุติ1 แล้วเกิดในนรก. ท้าวเธอ
ทรงใคร่ครวญดูว่า สาวอัปสรเหล่านี้ เหตุใดจึงช้าอยู่ ? ได้ทรงเห็นว่า
เขาเหล่านั้น เกิดในนรกแล้ว ทรงตรวจดูว่า อายุของเรา จะเท่าไร
หนอ ? พอทรงทราบพระชนมายุของพระองค์ก็จักสิ้นไปเหมือนกัน ก็
ทรงเห็นว่า พระองค์จะทรงเกิดในนรกนั้นแหละ จึงตกพระทัย ทรง
โทมนัสเหลือเกิน ทรงดำริว่า พระศาสดาจักขจัดโทมนัสของเรานี้ได้ ผู้อื่น
ขจัดไม่ได้ แล้วได้ทรงพาเทพอัปสรสาวสวรรค์ 500 ที่ยังเหลือไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า :-
จิตนี้สะดุ้งอยู่เนืองนิตย์ จิตคือใจนี้หวาดผวาเป็น
ประจำ เมื่อกิจ (เหตุ) เกิดขึ้นแล้วและยัง
ไม่เกิดขึ้น ถ้าหากความไม่สะดุ้งกลัวมีอยู่ ขอพระองค์
ผู้อันข้าพระองค์ทูลถานแล้ว จงตรัสบอกความไม่
สะดุ้งนั้นแก่ข่าพระองค์ด้วยเถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะท้าวเธอว่า :
เรามองไม่เห็นความสวัสดีอย่างอื่นของสัตว์ทั้งหลาย
1. ปาฐะเป็น จริตฺวา ฉบับพม่าเป็น จวิตฺวา จึงแปลตามฉบับพม่า.

นอกจากการบำเพ็ญเพียร อันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
นอกจากการสำรวมอินทรีย์ (และ) นอกจากการ
ปล่อยวางทั้งหมด.

ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ท้าวเธอ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
พร้อมด้วยเทพอัปสร 500 ทรงทำทิพยสมบัตินั้นให้มีเสถียรภาพแล้ว
ได้เสด็จไปยังเทวโลกตามเดิม.
ทางนี้บุคคลผู้เจริญแล้ว พึงเข้าไว้ว่า เป็นไปเพื่อดับโทมนัสของ
สัตว์ทั้งหลาย เหมือนของท้าวสักกะ เป็นต้น ดังที่พรรณนามานี้.
อริยมรรคมีองค์ 8 นั้น ท่านเรียกว่า ญายะ ในคำว่า ญายสฺส
อธิคมาย เพื่อบรรลุ อธิบายว่า เพื่อถึงอริยมรรคนั้น. เพราะว่ามรรค
สติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้นนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อบรรลุุโลกุตตรมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ญายสฺส อธิคมาย.
บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย (เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระ
นิพพาน) ความว่า เพื่อกระทำให้แจ้ง ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพื่อประจักษ์
ด้วยตนเอง ซึ่งอมตธรรมที่ได้นามว่าพระนิพพาน เพราะเว้นจากตัณหา
เครื่องร้อยรัด. เพราะว่ามรรคนี้ที่บุคคลอบรมแล้ว ให้สำเร็จการทำให้
แจ้งพระนิพพาน ตามลำดับ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย.
บรรดาคำเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสว่า เพื่อความบริสุทธิ์ของ
สัตว์ทั้งหลาย คำว่าก้าวล่วงความโศกเป็นต้น ก็เป็นอันสำเร็จความหมาย
ไปด้วย ก็จริง แต่ก็ยังไม่ปรากฏแก่ผู้อื่น นอกจากผู้ฉลาดในข้อยุติของ

ศาสนา. และพระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงทำให้คนเป็นผู้ฉลาดในข้อ
ยุติของศาสนาก่อนแล้ว จึงทรงแสดงธรรมภายหลัง. แต่ทรงให้เข้าใจผล
ที่ต้องการนั้น ๆ ด้วยสูตรนั้น ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในสติปัฏฐาน-
สูตรนี้ เมื่อพระองค์จะทรงแสดงผลที่ต้องการซึ่งเอกายนมรรคจะให้สำเร็จ
ได้ให้ปรากฏ จึงได้ตรัสไว้ว่า โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อก้าว
ล่วงโสกะและปริเทวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย จะเป็นไป
พร้อม ก็ด้วยเอกายนมรรค ความบริสุทธิ์จะมีได้ เพราะก้าวล่วง
โสกปริเทวะ การก้าวล่วงโสกปริเทวะจะมีได้ เพราะทุกข์โทมนัส
ดับไป การดับทุกข์โทมนัสจะมีได้ เพราะได้บรรลุญายธรรม การบรรลุ
ญายธรรมจะมีได้ เพราะการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ฉะนั้น พระองค์
เพื่อทรงแสดงลำดับนี้แล้ว จึงตรัสว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย แล้วได้ตรัสคำนี้อาทินี้ไว้ว่า โสกปริเทวานํ
สมติกฺกมาย
เพื่อระงับโสกะและปริเทวะ.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เป็นต้นนี้ เป็นคำกล่าว
สรรเสริญ เอกายนมรรค เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
สรรเสริญเทศนา 6 หมวด หมวดละ 6 ข้อ ด้วยบท 8 บทว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด จักประกาศพรหมจรรย์ (ศาสนา) ที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์
สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ คือพรหมจรรย์ 6 หมวด
หมวดละ 6 ข้อ แก่เธอทั้งหลาย และได้ตรัสสรรเสริญอริยวงศ์เทศนา
ไว้ ด้วยบท 9 บทว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ 4 อย่างเหล่านี้ เป็นของ

ที่ผู้รู้รู้กันว่าเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นวงศ์ (ของพระอริยเจ้า)
เป็นของเก่าไม่เกลื่อนกลาด ไม่เคยเกลื่อนกลาด ไม่ถูกระแวง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้านฉันใด. พระองค์ก็ได้ตรัสสรรเสริญเอกายนมรรค
แม้นี้ไว้ ด้วยบท 7 บท มีบทว่า เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เป็นต้นฉันนั้น.
หากจะถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพื่อจะให้เกิดอุตสาหะแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ด้วยว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้สดับการตรัสสรรเสริญแล้ว จักเกิด
อุตสาหะขึ้นว่า ทางสายนี้จะนำอุปัทวะทั้ง 4 ออกไป คือ ความโศกที่เป็น
สิ่งแผดเผาใจ 1 ความคร่ำครวญที่เป็นการรำพันทางวาจา 1 ความ
ทุกข์ที่เป็นความไม่สำราญทางกาย 1 ความเสียใจซึ่งเป็นความไม่
แช่มชื่นทางใจ 1
(และ) นำคุณวิเศษ 3 อย่างมาให้ คือ วิสุทธิ
ความหมดจด 1 ญายธรรมที่ควรรู้ 1 นิพพานความดับ (กิเลส ) 1
ดังนี้แล้ว จักสำคัญพระธรรมเทศนานี้ว่า ต้องเรียน ต้องท่อง ต้องจำทรง
ต้องบอกสอน และจักสำคัญทางสายนี้ว่าต้องเจริญ (ดำเนิน ). พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ได้ตรัสสรรเสริญ (เอกายนมรรค) เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้น
เกิดอุตสาหะ ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้ เหมือนกับพ่อค้าผ้าขนสัตว์
เป็นต้น กล่าวสรรเสริญคุณภาพผ้าขนสัตว์เป็นต้นฉะนั้น.
ความพิสดารว่า เมื่อพ่อค้าผ้าขนสัตว์สีเหลือง (ปัณฑุกัมพล )
ราคาแสน โฆษณาว่า เชิญรับผ้าขนสัตว์ครับ คนทั้งหลายยังไม่ทราบ
ก่อนว่า เป็นผ้ากัมพลชนิดโน้น. เพราะว่า แม้ผ้าเกสกัมพลและผ้า
พาลกัมพลเป็นต้น ที่มีกลิ่นเหม็น เนื้อหยาบ (ห่มสาก) เขาก็เรียกว่า

ผ้ากัมพลเหมือนกัน. แต่เมื่อใดเขาโฆษณาว่า ผ้ากัมพลแดง จาก
คันธารราฐ เนื้อละเอียด มันเป็นเงา ห่มนุ่มนวล.
เมื่อนั้น คนที่มีทรัพย์พอ ก็จะรับ (ซื้อ) ส่วนคนที่มีไม่พอ
ก็อยากชม ฉันใด. แม้เมื่อพระองค์ ตรัสว่า ทางสายนี้เป็นทางสายเอก
ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่า เป็นทางสายโน้น ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะว่า ทาง
ที่ไม่นำออกจากทุกข์นานัปการ เขาก็เรียกว่าทางเหมือนกัน. แต่
เมื่อตรัสคำมีอาทิว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความหมดจดของสัตว์
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายก็จะเกิดอุตสาหะว่า ได้ทราบว่า ทางสายนี้
นำอุปัทวะทั้ง 4 ออกไป นำคุณวิเศษ 3 ประการมาให้ จักสำคัญ
พระธรรมเทศนานี้ว่า ต้องเรียน ต้องท่อง ต้องทรงจำ ต้องบอกสอน
จักสำคัญทางนี้ว่าต้องเจริญ ( ดำเนินตาม) ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะตรัสสรรเสริญ (เอกายนมรรค ) จึงได้ตรัส ไว้ว่า สตฺตานํ
วิสุทฺธิยา.

และในเรื่องนี้ ควรนำข้อเปรียบเทียบกับพ่อค้าทองชมพูนุทสีแดง
พ่อค้าแก้วมณี น้ำใสสะอาด พ่อค้าแก้วมุกดาหาร ใสสะอาด และ
พ่อค้าแก้วประพาฬ
ที่เจียระไนแล้วเป็นต้นมา เหมือนข้อเปรียบเทียบ
กับพ่อค้าปัณฑุกัมพลราคาแสนฉะนั้น.

อธิบายศัพท์ว่า ยทิทํ


ศัพท์ว่า ยทิทํ เป็นนิบาท มีเนื้อความเท่ากับ เย อิเม. ศัพท์ว่า
จตฺตาโร เป็นการกำหนดนับ (จำนวนนับ). ด้วยศัพท์นั้น พระองค์
ทรงแสดงถึงการกำหนด (จำนวน) สติปัฏฐานว่า มีไม่ต่ำไม่สูงไปกว่า
จำนวนนั้น.