เมนู

ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม
ประเสริฐที่สุด และบรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีปัญญาจักษุ ประเสริฐ
ที่สุด ทางสายนี้เท่านั้นไม่มีทางสายอื่นที่เป็นไป
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ. เธอทั้งหลาย จง
เดินทางสายนั้นเถิด ที่ให้มารและเสนามารหลง.
เพราะว่าเธอทั้งหลายเดินทางสายนั้นแล้ว จักทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้.

อธิบายมรรค


ทางชื่อว่า มรรค เพราะหมายความว่า อย่างไร ?
เพราะหมายความว่า เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน และเพราะหมาย
ความว่า ผู้มีความต้องการพระนิพพานจะต้องดำเนินไป.
บทว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา (เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย)
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีจิตเศร้า
หมองแล้ว เพราะมลทินทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น และเพราะอุปกิเลส
ทั้งหลาย มีอภิชฌาวิสมโลภเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น ก็สัตว์เหล่านี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน
มากพระองค์ ตั้งต้นแต่พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ตัณหังกร,
เมธังกร, สรณังกร, ทีปังกร
ที่ได้เสด็จอุบัติแล้ว ในกัปกัปเดียวกัน
นั้นแหละ ก่อนแต่กัปนี้ไป 4 อสงไขย เศษแสนกัป จนถึงพระ

ศากยมุนีเป็นที่สุดก็ดี พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า หลายร้อยพระองค์ก็ดี
พระอริยสาวก เหลือที่จะคณานับก็ดี ได้ทรงลอยและลอยมลทินของจิต
ทั้งมวลแล้ว ทรงบรรลุและบรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม ก็ด้วย
ทางสายนี้. แต่ด้วยสามารถแห่งมลทินของรูป จะไม่มีการบัญญัติความ
เศร้าหมองและความผ่องแผ้วเลย. จริงอย่างนั้น
พระมหาฤาษี (พระพุทธเจ้า) ไม่ได้ตรัสไว้ว่า
มาณพ (คน) ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะรูป
เศร้าหมอง บริสุทธิ์ในเพราะรูปบริสุทธิ์ แต่พระ
มหาฤาษีได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า มาณพ (คน)
ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง บริสุทธิ์
ในเพราะจิตบริสุทธิ์.

ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง ผ่องแผ้ว เพราะจิตผ่องแผ้ว. และ
ความผ่องแผ้วของจิตนั้นนี้ได้ เพราะทางคือสติปัฏฐานนี้. เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงตรัสไว้ว่า เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า โสกปริเทวนํ สมติกฺกมาย (เพื่อระงับโสกปริเทวะ
ทั้งหลาย) ความว่า เพื่อระงับ อธิบายว่า เพื่อละความโศกเศร้า และ
การคร่ำครวญทั้งหลาย.
เพราะว่า มรรคนี้ บุคคลอบรมแล้ว เป็นไปเพื่อระงับความ
โศกเศร้า (ของคนทั้งหลายได้) เหมือนสันตติมหาอำมาตย์เป็นต้น
และระงับการคร่ำครวญ (ของคนทั้งหลาย) ได้ เหมือนปฏาจาราเถรี

เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า โสกปริเทวานํ
สมติกฺกมาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะทั้งหลาย.
ความจริง สันตติมหาอำมาตย์ ถึงจะได้สดับพระคาถาบทนี้ว่า
สิ่งใดจะมีข้างหน้า เธอจงละมันเสีย เธออย่าได้มี
ความกังวลอะไรในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยึดอะไร
ในท่ามกลาง เธอจักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป ดังนี้.

แล้วได้บรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
พระปฏาจาราเถรี ได้สดับพระคาถาบทนี้ว่า
บุตรไม่มีเพื่อการต้านทาน แม้บิดาและพวกพ้องก็
ไม่มีเพื่อการต้านทาน เมื่อหมู่สัตว์ถูกมัจจุครอบงำ
ย่อมไม่มีการต้านทานในหมู่ญาติทั้งหลาย.

แล้วได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ก็จริงแล. แต่ว่า เพราะขึ้น
ชื่อว่า ภาวนา แล้ว จะไม่เกี่ยวกับธรรมะข้อไหนในกาย, เวทนา, จิต,
ธรรม
เป็นไม่มี เพราะฉะนั้น แม้ทั้ง 2 ท่านนั้น ก็ต้องทราบไว้ด้วยว่า
ก้าวล่วงโสกปริเทวะไปได้ เพราะทางสายนี้เหมือนกัน.
บทว่า ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย (เพื่อระงับทุกข์โทมนัส
ทั้งหลาย) หมายความว่า เพื่อระงับ อธิบายว่า เพื่อดับทุกข์ทั้ง 2
อย่างนี้ คือ ทุกข์ทางกาย 1 โทมนัสทางใจ 1. ด้วยว่า มรรคนี้ คน
อบรมแล้ว จะเป็นไปเพื่อดับทุกข์ของคนทั้งหลาย เหมือนของพระ

ติสสเถระ เป็นต้น และเพื่อดับโทมนัสของตนทั้งหลาย เหมือนของ
ท้าวสักกะ เป็นต้น . ในเรื่องนั้น มีการแสดงเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

พระเถระทุบเท้า


เล่ากันมาว่า ในนครสาวัตถี บุตรชาวกุฏุมพี ชื่อว่า ติสสะ
ละทิ้งเงิน 40 โกฏิ ออกบวช แล้วอยู่ในป่า ที่ไม่มีบ้าน. ภรรยาน้องชาย
คนสุดท้องของเขา ส่งโจร 500 คนไปโดยสั่งว่า ไปเถอะ พวกเจ้า
จงปลงชีวิตพระรูปนั้น พวกเขาพากันไปนั่งล้อมพระเถระไว้.
พระเถระพูดว่า พากันมาทำไม อุบาสก ?
พวกผมจักปลงชีวิตท่าน โจรบอก.
อุบาสก ท่านทั้งหลาย จงยึดเอาตัวอาตมาไว้เป็นประกันแล้วให้
ชีวิตอาตมาไว้คืนวันนี้ลืมเดียวเถิด พระเถระขอร้อง.
ท่านสมณะ ใครจักเป็นผู้ค้ำประกันให้ท่านให้ที่นี้ ? โจรถาม.
พระเถระหยิบหินก้อนใหญ่มาทุบกระดูกขาทั้ง 2 ข้างให้หักแล้ว
บอกว่า อุบาสกเอ๋ย ตัวประกัน (คนนี้) สมควร (ไหม ?)
พวกเขาพากันหลีกไปก่อไฟนอนที่ต้นทางเดินจงกรม (ของท่าน).
เมื่อพระเถระข่มเวทนาไว้แล้ว พิจารณาศีล เพราะอาศัยศีลบริสุทธิ์ ปีติ-
ปราโมทย์จึงเกิดขึ้น. ลำดับต่อจากนั้น ท่านก็เจริญวิปัสสนา บำเพ็ญ
สมณธรรมตลอดราตรีทั้ง 3 ยาม เวลารุ่งอรุณ ได้บรรลุพระอรหัต
แล้วได้เปล่งอุทานบทนี้ว่า
เราทุบเท้าทั้ง 2 ข้าง สัญญากะท่านทั้งหลายไว้