เมนู

ไม่ใช่มรรคที่เป็นโลกุตตระ. และมรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นก็ไปได้ไม่ใช่
ครั้งเดียวด้วย ทั่งมีการไปไม่ใช่อย่างเดียว.

ศิษย์กับอาจารย์สนทนากัน


อนึ่ง แม้เมื่อก่อน ในบทนี้ พระมหาเถระทั้งหลาย ก็ได้มีการ
สนทนากันมาแล้วเหมือนกัน. (คือ) พระตรีปิฎกจุลลนาคเถระ ได้
กล่าวไว้ว่า เป็นทางสติปัฏฐานที่เป็นบุพพภาค. แต่อาจารย์ของท่าน คือ
พระตรีปิฎกจุลลสุมนเถระ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นทางปนกันไป (ทั้งโลกิยะ
และโลกุตตระ).
เป็นทางเบื้องต้น ครับ ใต้เท้า ท่านตรีปิฎกจุลลนาคเถระกล่าว
เป็นทางปนกันไป คุณ ท่านตรีปิฎกจุลลสุมนเถระค้าน.
เมื่ออาจารย์กล่าวย้ำแล้วย้ำอีก ศิษย์ก็นิ่งไม่คัดค้าน. (ทั้ง 2 ท่าน)
ก็ลุกขึ้นโดยไม่วินิจฉัย (ชี้ขาด) ปัญหาเลย. ภายหลังพระเถระผู้เป็น
อาจารย์ไปที่ห้องอาบน้ำ คิดว่า เราพูดว่า เป็นทางปนกันไป แต่คุณ
จุลลนาคอ้างเอาว่า เป็นทางเบื้องต้น ในปัญหานี้ จะมีวินิจฉัยกันอย่างไร
นะ จึงร่ายพระสูตรตั้งแต่ต้น ไป กำหนด (ยุติ) ลงตรงนี้ว่า โย หิ
โกจิ ภิกฺขเว อิเม จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน เอวํ ภาเวยฺย สตฺต รสฺสานิ

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม เจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 เหล่านี้
อย่างนี้ ตลอด 7 ปี ) ดังนี้ ท่านก็รู้ว่า ธรรมดาโลกุตตรมรรค ครั้น
เกิดขึ้นแล้ว จะหยุดชะงักอยู่ตลอด 7 ปี ไม่มี มรรคที่ปนกันไปที่เรา
กล่าวแล้วนั้นมีไม่ได้ ส่วนมรรคที่เป็นบุพพภาค ที่คุณจุลลนาคแสดง