เมนู

ในโอวาทของพระเถรี เที่ยวสาธยายว่า อฏฺฐิ อฎฺฐิ (กระดูก กระดูก).
อยู่มาวันหนึ่ง ตอนเช้ามันเกาะปลายเสาผึ่งแดดอ่อนอยู่ นกตัวหนึ่ง ได้
เอากรงเล็บเฉี่ยวเอาไป. มันส่งเสียงร้อง แจ๊ด แจ๊ด. สามเณรีทั้งหลาย
ได้ยินเสียงร้อง จึงพูดว่า คุณแม่ขา พุทธรักษาถูกนกเฉี่ยวไป หนูจะ
ไปช่วยให้มันปล่อย แล้วพากันถือเอาก้อนดินเป็นต้นติดตามไป ให้มัน
ปล่อยจนได้. พระเถรีถามมัน ผู้ที่เขาช่วยนำมา เกาะอยู่ข้างหน้าว่า
พุทธรักษาเวลานกเฉี่ยวเอาไป แกคิดอะไร ?
มันตอบว่า คุณแม่เจ้าขา ดิฉันไม่ได้คิดอย่างอื่น คุณแม่ ดิฉัน
คิดถึงกองกระดูกเท่านั้น อย่างนี้ว่า กองกระดูกนั้นแหละ เฉี่ยวเอากอง
กระดูกไป กองกระดูกจะเกลื่อนกลาดไป ไม่ว่าแม้ในที่ไหน ?
ดีแล้ว ดีแล้ว พุทธรักษา (การมนสิการอย่างนั้น) จักเป็น
ปัจจัยของความสิ้นไปแห่งภพของเธอในอนาคต พระเถรีกล่าว.
แม้สัตว์เดียรัจฉานในชนบทนั้น ก็ประกอบมนสิการในสติปัฏฐาน
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยัง
ความเจริญในสติปัฏฐานนั้นเองให้เกิดแก่เขาเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตร
นี้ไว้.

ความหมายของเอกายนะ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกายโน แปลว่า ทางเอก.
เพราะว่าทางมีชื่อมากอย่าง คือ มรรคา, ปันถะ, ปถะ,
ปัชชะ, อัญชสะ, วฏุมะ, อายตนะ, นาวา,
อุตตรเสตู, กุลละ, ภิสิ, และสังกมะ.

ในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระองค์ตรัสทางนี้นั้นไว้โดยชื่อว่า อยนะ.
เพราะฉะนั้น ในคำว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค (ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก ) นี้ควรเข้าใจความหมายอย่างนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียว ไม่ใช่เป็นทาง 2 สาย.
อีกอย่างหนึ่ง ทางชื่อว่า เอกายนะ เพราะคนคนเดียวเท่านั้น
พึงไป. คำว่า คนเดียว คือควรละการคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกตัวออก
เงียบสงัด ดำเนินไป คือปฏิบัติ (คนเดียว) หรือชื่อว่าอยนะ เพราะ
เพราะเป็นเหตุดำเนินไป คือไปจากสงสาร ถึงพระนิพพาน.
ทางดำเนินของผู้เป็นเอก ชื่อว่า เอกายนะ คำว่า ผู้เป็นเอก ได้แก่
ผู้ประเสริฐที่สุด. และผู้ประเสริฐที่สุดกว่าสรรพสัตว์ คือ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ได้แก่ ( ทางดำเนิน ) ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า.

อันที่จริง ถึงคนอื่นก็ดำเนินไปตามทางนั้นได้ แต่ถึงอย่างนั้น
ทางนั้นก็ชื่อว่าเป็นทางเสด็จดำเนินของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระ-
องค์ทรงสร้างขึ้น. ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้
เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะไป คือดำเนินไป อธิบายว่า
เป็นไป. มีอธิบายว่า ไปในที่เดียวกัน คือเป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา)
นี้เท่านั้น ไม่ใช่ไปที่อื่น. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคมี
องค์ 8 หาได้ในพระธรรมวินัย ( ศาสนา ) นี้เอง. ความจริง เนื้อความ

ทั้ง 2 นี้ ต่างกันเพียงเทศนา (โวหาร) เท่านั้น แต่ก็มีเนื้อความเป็น
อันเดียวกัน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะไปสู่จุดหมายเดียวกัน มี
อธิบายว่า ในตอนต้นถึงแม้จะเป็นไปโดยนัยแห่งภาวนาที่เป็นหลักแตก
ต่างกัน แต่ตอนหลัง ก็จะไปถึงนิพพานแห่งเดียวกันนั้นแหละ. ดังที่
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวไว้ว่า :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นที่สุดแห่งการสิ้นความ
เกิด ทรงอนุเคราะห์เกื้อกูล (ทรงมีพระมหากรุณา-
ธิคุณ) ทรงทราบทางไปสู่ที่แห่งเดียว (พระนิพพาน)
ด้วยทางสายนี้ที่คนทั้งหลายได้เคยข้ามโอฆะห้วงน้ำ
มาแล้ว กำลังข้ามอยู่ และจักข้ามต่อไป.

แต่อาจารย์ลางเหล่ากล่าวว่า ชื่อว่า เอกายนะ เพราะไปถึงนิพพาน
ครั้งเดียว ตามนัยแห่งความว่า ไม่ไปถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ถึง 2
ครั้ง. คำนั้น ไม่ถูก. เพราะว่า อรรถะ (ความหมาย) อย่างนี้ พยัญชนะ
ควรจะเป็นอย่างนี้ว่า สกึ อยโน (ไม่ใช่เอกายโน). แต่ถ้าจะกล่าว
ประกอบความอย่างนี้ว่า ทางนั้นมีทางไปอย่างเดียว คือมีคติ ได้แก่มี
ความเป็นไปอย่างเดียว ดังนี้ พยัญชนะก็ใช้ได้. แต่อรรถใช้ไม่ได้ทั้ง 2
อย่าง.
เพราะเหตุไร ?
เพราะในที่นี้ทรงประสงค์เอามรรคที่เป็นบุพพภาค.
อธิบายว่า ในที่นี้พระองค์ทรงประสงค์เอามรรคเป็นที่ตั้งสติ (สติ-
ปัฏฐาน)
อันเป็นส่วนเบื้องต้น เป็นไปในอารมณ์ทั้ง 4 มีกายเป็นต้น.

ไม่ใช่มรรคที่เป็นโลกุตตระ. และมรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นก็ไปได้ไม่ใช่
ครั้งเดียวด้วย ทั่งมีการไปไม่ใช่อย่างเดียว.

ศิษย์กับอาจารย์สนทนากัน


อนึ่ง แม้เมื่อก่อน ในบทนี้ พระมหาเถระทั้งหลาย ก็ได้มีการ
สนทนากันมาแล้วเหมือนกัน. (คือ) พระตรีปิฎกจุลลนาคเถระ ได้
กล่าวไว้ว่า เป็นทางสติปัฏฐานที่เป็นบุพพภาค. แต่อาจารย์ของท่าน คือ
พระตรีปิฎกจุลลสุมนเถระ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นทางปนกันไป (ทั้งโลกิยะ
และโลกุตตระ).
เป็นทางเบื้องต้น ครับ ใต้เท้า ท่านตรีปิฎกจุลลนาคเถระกล่าว
เป็นทางปนกันไป คุณ ท่านตรีปิฎกจุลลสุมนเถระค้าน.
เมื่ออาจารย์กล่าวย้ำแล้วย้ำอีก ศิษย์ก็นิ่งไม่คัดค้าน. (ทั้ง 2 ท่าน)
ก็ลุกขึ้นโดยไม่วินิจฉัย (ชี้ขาด) ปัญหาเลย. ภายหลังพระเถระผู้เป็น
อาจารย์ไปที่ห้องอาบน้ำ คิดว่า เราพูดว่า เป็นทางปนกันไป แต่คุณ
จุลลนาคอ้างเอาว่า เป็นทางเบื้องต้น ในปัญหานี้ จะมีวินิจฉัยกันอย่างไร
นะ จึงร่ายพระสูตรตั้งแต่ต้น ไป กำหนด (ยุติ) ลงตรงนี้ว่า โย หิ
โกจิ ภิกฺขเว อิเม จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน เอวํ ภาเวยฺย สตฺต รสฺสานิ

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม เจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 เหล่านี้
อย่างนี้ ตลอด 7 ปี ) ดังนี้ ท่านก็รู้ว่า ธรรมดาโลกุตตรมรรค ครั้น
เกิดขึ้นแล้ว จะหยุดชะงักอยู่ตลอด 7 ปี ไม่มี มรรคที่ปนกันไปที่เรา
กล่าวแล้วนั้นมีไม่ได้ ส่วนมรรคที่เป็นบุพพภาค ที่คุณจุลลนาคแสดง