เมนู

อรรถกถาปติปัฏฐานสูตร


[131] สติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว
อย่างนี้.

ที่มาของคำว่า กุรุ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุรูสุ วิหรติ ความว่า ชนบทแม้
แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่ของราชกุมารผู้อยู่ในชนบทชื่อว่า กุรุ เขาเรียกว่า
กุรู ด้วยรุฬหิศัพท์ (คำที่งอกไปจากดำเดิม ) (พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ประทับ ) ที่กุรุชนบทนั้น.
แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้า
มันธาตุราช
มนุษย์ใน 3 ทวีป ได้ยิน (คำเล่าลือ) ว่า ขึ้นชื่อว่า
ทวีปชมพู เป็นดินแดนที่อุบัติของยอดคน (อุดมบุรุษ) จำเดิมแต่
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย เป็นถิ่น
อภิรมย์อุดมทวีป จึงได้พากันมาพร้อมด้วยพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุราช
ผู้ทรงส่งจักรแก้วออกหน้าแล้วเสด็จติดตามมายังทวีปทั้ง 4.
จากนั้นมา พระราชาได้ตรัสถามปริณายกแก้วว่า ยังมีหรือไม่
ถามที่ ๆ เป็นรมณียสถานยิ่งกว่ามนุษยโลก ?
ปริณายกแก้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระอาชญาไม่พ้นเกล้า
ไฉนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงตรัสอย่างนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมิได้
ทอดพระเนตรอานุภาพของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์หรือ ? สถานที่ดวง

จันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านี้ เป็นรมณียสถานยิ่งกว่ามนุษยโลกนี้แน่.
พระราชาจึงทรงส่งจักรแก้วไปก่อนแล้ว ได้เสด็จไป ณ ที่นั้น.
ท้าวจาตุมมหาราชได้ทราบว่า พระเจ้ามันธาตุราชเสด็จนาแล้ว ทรงดำริ
ว่า พระราชาผู้ทรงฤทธิ์มาก (เสด็จมาแล้ว) เราไม่อาจจะต่อต้านได้ด้วย
การรบ จงได้มอบราชสมบัติของตนถวาย.
พระองค์ทรงรับราชสมบัตินั้นแล้ว ได้ตรัสถามอีกว่า ยังมีอยู่หรือไม่
สถานที่ที่เป็นรมณียสถานยิ่งกว่านี้ ?
ห้าวจาตุมมหาราชได้กราบทูลถึงดาวดังสภพแด่พระองค์ว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า ดาวดึงสภพเป็นรมณียสถานยิ่งกว่า (นี้). บนดาวดึงสภพ
นั้น มหาราชทั้ง 4 เหล่านี้ เป็นผู้รักษาการ (ปริจาริกา) ของท้าว
สักกเทวราช
นั้น จะประทับยืนที่พระทวาร ท้าวสักกเทวราชทรงมีฤทธิ์
มาก ทรงมีอานุภาพมาก และพระองค์ทรงมีเทวสถานสำหรับใช้ เหล่านี้
คือ เวชยันตปราสาทสูง 1 โยชน์ สุธรรมาเทวสภาสูง 500 โยชน์
เวชยันตรถสูง 150 โยชน์ ช้างเอราวัณก็สูงเท่านั้น สวนนันทวัน สวน
จิตรลดาวัน สวนปารุสกวัน สวนมิสกวัน
ประดับประดาด้วยทิพย-
พฤกษาจำนวนพันต้น ต้นไม้สวรรค์ ชื่อปาริฉัตตกะ สูง 100 โยชน์
ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะนั้น มีพระที่นั่งบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีสีเหมือน
ดอกหงอนไก่ ยาว 60 โยชน์ กว้าง 50 โยชน์ สูง 5 โยชน์ ซึ่ง
อ่อนนุ่น เมื่อท้าวสักกเทวราชทรงประทับนั่ง พระวรกายจะจมลงครึ่ง
พระองค์. ครั้นทรงสดับคำกราบบังคมทูลนั้นแล้ว พระราชามีพระราช
ประสงค์จะเสด็จไป ณ ดาวดึงสภพนั้น จึงทรงโยนจักรแก้วขึ้นไป.

จักรแก้วนั้นประดิษฐานอยู่บนอากาศ1พร้อมด้วยจตุรงคเสนา. ต่อมา
จักรแก้วก็ร่อนลงจากท่ามกลางเทวโลกทั้ง 2 ประดิษฐานอยู่ที่พื้นดิน
พร้อมด้วยจตุรงคเสนา มีปริณายกแก้วเป็นประมุข. พระราชาได้เสด็จไป
ยังดาวดึงสภพลำพังพระองค์เดียวเท่านั้น.
ท้าวสักกะพอได้ทรงทราบว่า พระเจ้ามันธาตุเสด็จมาเท่านั้น ก็
เสด็จต้องรับพระองค์กราบบังคมทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท
ปกเกล้าปกกระหม่อม พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่ใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาทเสด็จมา (นี้เป็น) ราชสมบัติของใต้ฝ่าละอองธุลี-
พระบาทเอง ขอทูลเชิญปกครองเถิดพระพุทธเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วย
ด้วยกระหม่อมขอเดชะ แล้วได้ทรงแบ่งเทวราชสมบัติออกเป็น 2 ส่วน พร้อม
ด้วยเทพธิดาฟ้อนรำ ได้น้อมถวาย 1 ส่วน พระราชาเพียงแต่เสด็จ
ประทับที่ดาวดึงสภพเท่านั้น ความเป็นมนุษย์2ก็หายไป ความเป็นเทวดา
ก็ปรากฏขึ้นแทนที่. ได้ทราบว่า พระองค์ประทับนั่งบนพระที่นั่งบัณฑุ-
กัมพลศิลาอาสน์
ร่วมกับท้าวสักกะ ด้วยเหตุเพียงลืมพระเนตรขึ้นจึงจะ
ปรากฏแตกต่างกัน. ทวยเทพเมื่อไปสังเกตพระองค์ ก็จะลืมไปในความ
แตกต่างระหว่างท้าวสักกะกับพระองค์. พระองค์เมื่อทรงเสวยทิพยสมบัติ
ในดาวดึงสภพนั้น ทรงครองเทวราชสมบัติอยู่ จนท้าวสักกะเสด็จอุบัติ
แล้วจุติไปถึง 36 พระองค์ ก็ไม่ทรงอิ่มด้วยกามคุณเลย ครั้นทรงจุติจาก
เทวโลกนั้นแล้ว ก็ทรงดำรง3อยู่ที่พระราชอุทยานของพระองค์ มีพระ
1. ปาฐะ เป็น อากาเสน อุฏฺฐทิ ฉบับพม่าเป็น อากาเส ปติฏฺฐาสิ แปลตามพม่า.
2. ปาฐะ ว่า มนุสฺสตฺตภาโว เทวตฺตภาโว ฉบับพม่าเป็น มนุสฺสภาโว เทวภาโว แปลตามพม่า.
3. ปาฐะ ปติโต ฉบับพม่าเป็น ปติฏฺฐิโต จึงแปลตามพม่า.

วรกายถูกลมและแดด1กระทบจึงได้สวรรคต. ก็เมื่อจักรแก้วประดิษฐาน
ที่พื้นดิน ปริณายกแก้วก็ประทับฉลองพระบาทของพระเจ้ามันธาตุ ลง
ในพระสุพรรณบัฏ แล้วมอบถวายราชสมบัติว่า นี้เป็นราชสมบัติของ
พระเจ้ามันธาตุ. มนุษย์ที่มาจากทวีปทั้ง 3 แม้เหล่านั้น ไม่อาจจะไป
ได้อีก ได้พากันเข้าไปหาปริณายกแก้ว แล้วร้องเรียนว่า ใต้เท้าขอรับ
เหล่ากระผมมาด้วยพระบรมราชานุภาพ บัดนี้จึงไม่อาจจะไปได้ ขอใต้เท้า
ได้กรุณาให้ที่อยู่แก่เหล่ากระผมเถิด. ปริณายกแก้วได้มอบชนบทให้แก่เขา
เหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่คนละแห่ง.
ในจำนวนชนบทเหล่านั้น ถิ่นที่มีคนมาจากบุพพวิเทหทวีปอาศัย
อยู่ ได้นามว่า วิเทหรัฐ ตามชื่อเก่านั้นเอง. ถิ่นที่มีตนมาจากอมร-
โคยานทวีป
อาศัยอยู่ ได้นามว่า อปรันตชนบท. ถิ่นที่มีคนมาจากอุดร-
กุรุทวีป
อาศัยอยู่ ได้นามว่า กุรุรัฐ. แต่คนทั้งหลายเรียกด้วยพหูพจน์
โดยหมายถึงบ้านและนิคม จำนวนมาก เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้
ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่าประทับอยู่ที่หมู่บ้านกุรุทั้งหลาย (เป็นพหูพจน์)
ดังนี้ .

ที่มาของคำว่า กัมมาสธัมมะ


ในบทว่า กมฺมาสธมฺมํ ในบรรดาคำว่า กมฺมาสธมฺมํ นาม
กุรูนํ นิคโม นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถาธิบายความ โดย (แปลง)
ธ อักษร เป็น ท อักษร. สถานที่ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ เพราะเป็นที่
1. ปาฐะว่า ผุฏฺฐิตคฺคตฺโต พม่าเป็น ผุฏฺฐคตฺโต จึงแปลตามพม่า.