เมนู

ปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ. จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ. หรือจิตมีโมหะ
ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจาก
โมหะ. จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน.
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า
จิตไม่เป็นมหัคคตะ. จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. จิตตั้งมั่น
ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น. ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น. จิตหลุดพ้น
ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุด
พ้น. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


นิวรณบรรพ

[141] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

อยู่อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัย พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้
ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่
ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มีอยู่ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง
กามฉันทะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อม
รู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่
ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง
พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้
ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ
ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต

ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจ-
กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายใน
จิตของเรา. อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วย
ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ
วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของ
เรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี
อยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วย
ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสีย
ได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภาย
ในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรม
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น
อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือนิวรณ์ 5 อยู่.
จบ นิวรณบรรพ

ขันธบรรพ


[142] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ 5.
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ 5 อย่างไร
เล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิด
ขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ. ด้วยเหตุ
ดังพรรณนามานี้ ภิกษุ ย่อมพิจารณาเป็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอก
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือควานเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง
ความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ
ทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ 5
อยู่.
จบ ขันธบรรพ