เมนู

อทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา. หรือเสวยสุข-
เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มี
อามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส. หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส. หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส. หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามี
อามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยอทุกขมสุข-
เวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส. ด้วย
เหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบาง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอ
ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงเพื่อความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก
เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนา อยู่.
จบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


[140] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิต

ปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ. จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ. หรือจิตมีโมหะ
ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจาก
โมหะ. จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน.
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า
จิตไม่เป็นมหัคคตะ. จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. จิตตั้งมั่น
ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น. ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น. จิตหลุดพ้น
ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุด
พ้น. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


นิวรณบรรพ

[141] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม