เมนู

โดยกิจ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขสมุทเย ท่านแสดงไว้โดยฐาน (ที่ตั้ง )
โดยอารมณ์ และโดยกิจ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขนิโรเธ ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย
ท่านแสดงไว้โดยกิจ. แต่โดยไม่แตกต่างกันแล้ว อวิชชา พึงทราบว่า
ท่านแสดงไว้โดยสภาวะ. ด้วยคำว่า อญฺญาณํ นี้
ก็กามาสวะ ภวาสวะ ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้ เป็นปัจจัย
แห่งอวิชชา ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น. อวิชชาสวะ พึงทราบ
ว่า ก็อวิชชาที่เกิดขึ้นก่อนโดยอุปนิสสยปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่าอวิชชาสวะ
ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้. อวิชชาสวะนั้นจะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ของ
อวิชชาที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนาอวิชชาวาระ

กถาพรรณนาอาสววาระ


[130] พึงทราบวินิจฉัยในอาสววาระ (ต่อไป) :-
อวิชชาในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจย
เป็นต้น ของกามาสวะและภวาสวะ และเป็นปัจจัยแห่งอวิชชาสวะ โดย
อุปนิสสยปัจจัยนั่นแหละ แต่ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ อวิชชา
ที่เกิดขึ้นในกาลต่อ ๆ มา พึงทราบว่า เป็นอวิชชาสวะ. อวิชชานั่นเอง
ที่เกิดขึ้นในกาลก่อน จะเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอวิชชาสวะที่เกิดขึ้นในกาล
ต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.

วาระนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว โดยการแสดงปัจจัยของอวิชชานี้ ที่
เป็นประธานในบทปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย. ด้วยวาระที่ท่านกล่าวไว้อย่าง
นี้ เป็นอันสำเร็จความที่สงสารมีที่สุดเบื้องต้น (เงื่อนต้น) อันใคร
ตามไปไม่รู้แล้ว.
ถามว่า ไม่รู้อย่างไร ? แก้ว่า (ไม่รู้อย่างนี้คือ ) เพราะว่า การ
เกิดขึ้นแห่งอวิชชา มีเพราะการเกิดขึ้นแห่งอาสวะ การเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะก็มี แม้เพราะการเกิดขึ้นแห่งอวิชชา อาสวะเป็นปัจจัยของอวิชชา
ถึงอวิชชาก็เป็นปัจจัยของอาสวะ เพราะอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ที่สุด
เบื้องต้น (เงื่อนต้น)1 จึงไม่ปรากฏ ภาวะที่สงสารมีเงื่อนต้นที่ใคร
ตามไปไม่รู้แล้ว เป็นอันสำเร็จแล้ว เพราะเงื่อนต้นของอวิชชานั้น
ไม่ปรากฏ.
วาระเหล่านั้นทั้งหมดคือ กัมมปถวาระ 1 อาหารวาระ 1 ทุกข-
วาระ 1 ชรามรณวาระ 1 ชาติวาระ 1 ภววาระ 1 อุปาทานวาระ 1
ตัณหาวาระ 1 เวทนาวาระ 1 ผัสสวาระ 1 สฬายตนวาระ 1 นามรูป-
วาระ 1 วิญญาณวาระ 1 สังขารวาระ 1 อวิชชาวาระ 1 อาสววาระ 1
รวม 16 วาระ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วในพระสูตรนี้ ดังที่พรรณนา
มานี้.
เพราะในจำนวนวาระทั้ง 16 วาระนั้น แต่ละวาระท่านวางไว้ 2
อย่าง โดยอย่างย่อและอย่างพิสดาร จึงเป็น 32 สถาน. ด้วยเหตุดังนี้
ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันพระเถระได้กล่าวสัจจะไว้ อย่าง ใน 22
สถานเหล่านี้ .
1. ปาฐะ ปุพฺพา โกฏิ แยกกัน แต่ฉบับพม่าติดกันเป็น ปุพฺพโกฏิ จึงแปลตามที่ไม่แยก.
ถ้าแยก ก็ต้องแปลว่า เบื้องต้น เบื้องปลาย...

พระเถระได้กล่าวอรหัตไว้ในที่ 16 สถาน ที่กล่าวไว้แล้วโดย
พิสดารในบรรดาอย่างย่อและอย่างพิสดารนั้นนั่นเอง. แต่ตามมติของพระ
เถระท่านได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง 5 และมรรคทั้ง ไว้ใน 32 สถานเท่านั้น
เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้แล ในพระพุทธพจน์ที่พระธรรมสังคาห-
กาจารย์ได้รวบรวมไว้ในนิกายใหญ่ทั้ง 5 นิกาย หมดทั้งสิ้น จึงไม่มีสูตร
ที่ประกาศสัจจะ 4 อย่างไว้ถึง 32 ครั้ง และประกาศอรหัตไว้ถึง 32
ครั้ง นอกจากสัมมาทิฏฐิสูตรนี้แล.
คำว่า อิทนโวจายสฺมา สาริปุตฺโต มีเนื้อความว่า ท่านพระ
สารีบุตร
ได้กล่าวสัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แพรวพราวไปด้วยเหตุ 64 อย่าง
คือ ด้วยการบรรยายอริยสัจ 4 ไว้ 32 อย่าง และบรรยายพระอรหัตไว้
32 อย่าง.
ภิกษุเหล่านั้น พอใจ ได้พากันชมเชยภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ดังนี้แล.
จบ อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร
จบ สูตรที่ 9

10. สติปัฏฐานสูตร


[131 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในแคว้นกุรุทั้งหลาย
(ทรงอาศัย) นิคมหนึ่งของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ. ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[132] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้คือ
สติปัฏฐาน 4 ประการ. 4 ประการเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1.
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1.
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1.
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1.