เมนู

ของสังขารนั้น สังขารที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่ากายสังขาร.
คำว่า กายสังขาร นี้ เป็นชื่อของสัตเจตนา 2 ดวง คือ 8
ดวง จากกามาวจรกุศล และ 12 ดวง จาก ( กามาวจร) อกุศลที่เป็นไป
แล้วโดยการไหวในกายทวาร.
คำว่า วจีสังขาร นี้ เป็นชื่อของวจีสัญเจตนา 20 ดวงเหมือนกัน
ที่เป็นไปแล้วโดยการเปล่งถ้อยคำในวจีทวาร.
สังขารที่เป็นไปแล้วทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร คำว่า จิตตสังขาร
นี้ เป็นชื่อของมโนสัญเจตนา 1 ดวง โดยโลกิยกุศลและโลกิยอกุศลที่
เป็นไปแล้ว ( เกิดขึ้น) แก่ผู้นั่งคิดอยู่ในที่ลับโดยไม่ได้ทำการไหวกาย
และวาจา. ก็ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า อวิชชา
ของสังขารที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง ของสังขารที่เป็นอกุศล โดย
สหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ดังนี้แล
จบ กถาพรรณนาสังขารวาระ

กถาพรรณนาอวิชชาวาระ


[128 ] พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาวาระ. (ต่อไป) :-
ความไม่รู้ในทุกขสัจ ชื่อว่าความไม่รู้ในทุกข์. คำว่า ทุกฺเข
อญฺญาณํ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทเย
อญฺญาณํ ก็มีนัยนี้.
ในจำนวนสัจจะทั้ง 4 นั้น การไม่รู้ในทุกข์ พึงทราบได้โดยเหตุ
4 ประการ คือ โดยการหยั่งลงภายใน 1 โดยฐาน (ที่ตั้ง) 1 โดยอารมณ์ 1
โดยการปกปิดไว้ 1. จริงอย่างนั้น การไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าหยั่งลง

ภายในทุกข์ เพราะนับเนื่องในทุกขสัจ ทุกขสัจ ชื่อว่าเป็นฐาน (ที่ตั้ง)
เพราะเป็นนิสสยปัจจัยของการไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะความ
เป็นอารัมณปัจจัย (ของการไม่รู้ทุกข์นั้น) และทุกขสัจ ย่อมปกปิด
การไม่รู้ทุกข์นั้นไว้.
ในอธิการแห่งอวิชชาวาระ ความไม่รู้ในสมุทัย พึงรู้ได้โดยเหตุ
3 ประการ คือ โดยฐาน 1 โดยอารมณ์ โดยการปิดบังไว้ 1 เพราะ
สมุทัยนั้นห้ามกันการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริง และเพราะไม่
มอบให้ซึ่งความเป็นไปแห่งญาณ. ความไม่รู้ในนิโรธและปฏิปทา
พึงทราบได้โดยเหตุเดียวเท่านั้น คือ โดยการปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้
ที่ปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้ที่ปิดบังนิโรธและปฏิปทาไว้นั่นเอง พึงทราบได้
เพราะห้ามไว้ซึ่งการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริงแห่งนิโรธสัจและ
ปฏิปทาเหล่านั้น และเพราะการไม่มอบให้ซึ่งความไม่เป็นไปแห่งญาณ
ในสัจจะทั้ง 2 นั้น. แต่ความไม่รู้สัจจะทั้ง 2 นั้น ไม่เป็นการหยั่งลงสู่ภายใน
ในสัจจะทั้ง 2 นั้น เพราะไม่นับเนื่องในสัจจะทั้ง 2 นั้น สัจจะทั้ง 2
นั้น ก็ไม่เป็นที่ตั้งของความไม่รู้สัจจะทั้ง 2 นั้น เพราะไม่เป็นธรรมเกิด
ร่วมกัน (และ) ไม่เป็นอารมณ์ เพราะไม่ปรารภสัจจะทั้ง 2 เป็นไป.
อธิบายว่า สัจจะ 2 ข้อหลัง เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง แต่ใน
เรื่องนี้ ความไม่รู้ไม่ใช่มืดบอด จึงเป็นไป. ส่วนสัจจะ 2 ข้อต้น
ลึกซึ้ง เพราะลักษณะของสภาวะเห็นได้ยาก โดยความหมายว่าเป็นข้าศึก
กัน จึงเป็นไปด้วยการถึงวิปลาสในสัจจะทั้ง 2 นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺเข พระเถระได้แสดงอวิชชา
ไว้ โดยการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน ทั้งโดยฐาน (ที่ตั้ง) โดยอารมณ์ และ

โดยกิจ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขสมุทเย ท่านแสดงไว้โดยฐาน (ที่ตั้ง )
โดยอารมณ์ และโดยกิจ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขนิโรเธ ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย
ท่านแสดงไว้โดยกิจ. แต่โดยไม่แตกต่างกันแล้ว อวิชชา พึงทราบว่า
ท่านแสดงไว้โดยสภาวะ. ด้วยคำว่า อญฺญาณํ นี้
ก็กามาสวะ ภวาสวะ ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้ เป็นปัจจัย
แห่งอวิชชา ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น. อวิชชาสวะ พึงทราบ
ว่า ก็อวิชชาที่เกิดขึ้นก่อนโดยอุปนิสสยปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่าอวิชชาสวะ
ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้. อวิชชาสวะนั้นจะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ของ
อวิชชาที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนาอวิชชาวาระ

กถาพรรณนาอาสววาระ


[130] พึงทราบวินิจฉัยในอาสววาระ (ต่อไป) :-
อวิชชาในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจย
เป็นต้น ของกามาสวะและภวาสวะ และเป็นปัจจัยแห่งอวิชชาสวะ โดย
อุปนิสสยปัจจัยนั่นแหละ แต่ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ อวิชชา
ที่เกิดขึ้นในกาลต่อ ๆ มา พึงทราบว่า เป็นอวิชชาสวะ. อวิชชานั่นเอง
ที่เกิดขึ้นในกาลก่อน จะเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอวิชชาสวะที่เกิดขึ้นในกาล
ต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.