เมนู

วิญญาณธาตุ 3 ดวง. ในโสตทวารเป็นต้น ก็ทำนองนี้. ส่วนมโนทวาร
พึงเข้าใจว่า เป็นเวทนาสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุ.
ก็ในคำว่า ผสฺสสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ในทวารทั้ง 5
เวทนาอาศัยวัตถุทั้ง 5 มีการเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เป็นต้นเกิดขึ้น. จักขุสัมผัสเป็นต้น จึงเป็นปัจจัยของเวทนาที่เหลือทั้งหลาย
โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเป็นต้น เวทนาโนตทาลัมพณขณะ. ในมโนทวาร
และเวทนาในปฏิสนธิขณะ ภวังคขณะและจุติขณะที่เป็นไปในทวารทั้ง 6
มีการเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน. คำที่เหลือ
มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
จบ กถาพรรณนาเวทนาวาระ

กถาพรรณนาผัสสวาระ


[123] พึงทราบวินิจฉัยในผัสสวาระ (ต่อไป) :-
สัมผัสในเพราะจักษุชื่อว่า จักขุสัมผัส. ในทุกทวารก็ทำนองนี้.
และด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ฯลฯ กายสมฺผสฺโส เป็น
อันพระเถระได้กล่าวถึงสัมผัสทั้ง 10 มีวัตถุ 5 ทั้งที่เป็นกุศลวิบากและ
อกุศลวิบาก.
ด้วยคำว่า มโนสมฺผสฺโส นี้ เป็นอันพระเถระได้กล่าวถึงผัสสะที่
สัมปยุตด้วยโลกิยวิบากที่เหลือ 22 อย่าง.
บทว่า สฬายตนสมุทยา ความว่า เพราะอายตนะ 6 อย่าง มี
ภิกษุเป็นต้นเกิดขึ้น ผัสสะแม้ทั้ง 6 อย่างนี้ ก็มีการเกิดขึ้น. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จบ กถาพรรณนาผัสสวาระ

กถาพรรณนาสฬายตนวาระ


[124] พึงทราบวินิจฉัยในสฬายตนวาระ (ต่อไป) ว่า
อายตนะทั้งหมด ที่ควรจะกล่าวในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า จกฺขายตนํ
มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในขันธกนิเทศและอายตนนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรคนั่นเอง.
แต่ว่า ในคำว่า นามรูปสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้น
แห่งสฬายตนะ เพราะนามรูปเกิด โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศ
แห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่มีรูป
(อย่างเดียว) และนาม (อย่างเดียว) และทั้งนามทั้งรูปเป็นปัจจัย.
คำที่เหลือมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
จบ กถาพรรณนาสฬายตนวาระ

กถาพรรณนานามรูปวาระ


[125] พึงทราบวินิจฉัยในนานรูปวาระ (ต่อไป) :-
นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ.
แต่ว่าในวาระแห่งวิตถารนัยของนามรูปนั้น พึงทราบว่า เวทนา ได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการุ ได้แก่
สังขารขันธ์. ถึงจะมีธรรมะแม้อย่างอื่นที่สงเคราะห์เข้าด้วยสังขารขันธ์
ก็จริงอยู่ แต่ธรรม 3 อย่างนี้ มีอยู่ในจิตที่มีพลังต่ำทุกดวง เพราะฉะนั้น
ในนามรูปวาระนี้ พระเถระก็ได้แสดงสังขารขันธ์ไว้ ด้วยอำนาจแห่งธรรม
3 อย่างเหล่านี้นั่นเอง
คำว่า จตฺตาริ ในคำว่า จตฺตาริ มหาภูตานิ นี้ เป็นการกำหนด