เมนู

ก็ทำนองนี. แต่อุปาทานในคำนี้ว่า อุปาทานสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของ
กรรมภพที่เป็นกุศล. โดยอุปนิสสยปัจจัยนั้นเอง. อุปาทานเป็นปัจจัย
ของกรรมภพที่เป็นอกุศล โดยอุปนิสสยปัจจัยบ้างโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้น
บ้าง แต่เป็นปัจจัยของอุปปัตติภพ ของกรรมภพทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
ทั้งหมดโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
ดังนี้.
จบ กถาพรรณนาชาติวาระ

กถาพรรณนาอุปาทานวาระ


[120] พึงทราบวินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า กามุปาทานํ
ในอุปาทานวาระ.
กิเลสชาต ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุยึดมั่น
วัตถุกาม หรือเพราะยึดวัตถุกามนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง กามนั้นด้วย
เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.
การยึดมั่นท่านเรียกว่า อุปาทาน. เพราะว่า อุปศัพท์ ในคำว่า
อุปาทานํ นี้ มีเนื้อความว่ามั่น เหมือนอุปศัพท์ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
อุปายาส และ อุปกัฏฐะ.
คำว่า กามุปาทาน นี้ เป็นชื่อของราคะที่เป็นไปในกามคุณ. นี้
เป็นข้อความสังเขปในกามุปาทานนี้.
แต่โดยพิสดาร กามุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานเป็นไฉน ? ได้แก่ความพอใจด้วย
อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย.

ทิฏฐุปาทาน ก็อย่างนั้น คือ ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปทานด้วย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง กิเลสขาด ชื่อว่า
ทิฏฐุปาทาน เพราะยึดมั่นทิฏฐิ. หรือชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะวิเคราะห์
ว่า เป็นเหตุให้ยึดมั่นทิฏฐิ. อธิบายว่า กิเลสขาดใดย่อมยึดมั่นทิฏฐิเดิม
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง
เพราะฉะนั้น กิเลสชาตินั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (ทิฏฐุปาทาน).
อย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน ) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง
สิ่งนี้เท่านั้น เป็นสัตยะ (ของจริง) สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. (ไร้ประโยชน์).
คำว่า ทิฏฐุปาทานนี้ เป็นชื่อของทิฏฐิทั้งหมดเว้นไว้แต่สีลัพพัทตุปาทาน
และอัตตวาทุปาทาน. นี้เป็นข้อความสังเขปในทิฏฐุปาทานนี้. แต่
โดยพิสดารทิฏฐุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วนั่นแหละว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ทิฏฐุปาทานเป็นอย่างไร ? (ทิฏฐุปาทานคือ)
ทานที่บุคคลให้แล้ว ไม่มีผล.
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ชื่อว่า สีลัพพัตตุปาทาน เพราะเป็น
เหตุยึดมั่นศีลและพรตบ้าง เพราะศีลและพรตนั้นยึดมั่นเองบ้าง เพราะ
ศีลและพรตนั้นด้วยเป็นอุปทานด้วยบ้าง.
อธิบายว่า การยึดมั่นด้วยตนเองนั่นแหละโดยความเชื่อมั่นว่า ศีล
และพรตทั้งหลายมีศีลของโคและวัตรของโคเป็นต้น เป็นของบริสุทธิ์ด้วย
อาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (สีลัพพัตตุปาทาน). นี้
เป็นข้อความสังเขปในสีลัพพัตตุปาทานนี้.
แต่โดยพิสดารสีลัพพัตตุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไวแล้วว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น สีลัพพัตตุปาทานเป็นไฉน ? คือ ความบริสุทธิ์

ด้วยศีลของสมณพราหมณ์ทั้งหลายภายนอกศาสนานี้.
ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเหตุกล่าวในบัดนี้. ชื่อว่า อุปาทาน
เพราะเป็นเหตุยึดมั่น.
ถามว่า กล่าวหรือยึดมั่นอะไร ?
แก้ว่า กล่าวหรือยึดมั่นอัตตา (อาตมัน).
การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าอัตตวาทุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่น เพียงแต่วาทะของตนเท่านั้น
ว่าเป็นอัตตา (อาตมัน). คำว่า อัตตวาทุปาทาน นี้เป็นชื่อของ
สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20. นี้เป็นข้อความสังเขปในอัตตวาทุปาทานนี้.
ส่วนโดยพิสดารอัตตวาทุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไวแล้วว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น อัตตวาทุปาทานเป็นไฉน ? อัตตวาทุปาทาน
คือ ปุถุชนในพระศาสนานี้ ไม่ได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ดังนี้.
ตัณหาในคำว่า ตณฺหาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของกามุปาทานโดย
อุปนิสสยปัจจัย หรือโดยอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย
และอาเสวนปัจจัย แต่เป็นปัจจัยของอุปาทานที่เหลือ คือแม้โดยเป็น
สหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้.
จบ กถาพรรณนาอุปทานวาระ

กถาพรรณนาตัณหาวาระ


ตัณหา 108


[121] พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาวาระ (ต่อไป) :-
ตัณหาที่เป็นไปแล้วโดยชวนวิถี มีชื่อตามอารมณ์ที่คล้ายกับบิดา
(ผู้ให้เกิด) ว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา เหมือนกับ (คน)
มีชื่อตามบิดาในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า เศรษฐีบุตร พราหมณบุตร เป็นต้น .
ก็ในตัณหาวาระนี้ ตัณหามี 3 ประการอย่างนี้ คือตัณหาที่มีรูป
เป็นอารมณ์คือตัณหาในรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ารูปตัณหา รูปตัณหานั้น
เมื่อยินดี เป็นไปโดยความเป็นกามราคะ ชื่อว่า กามตัณหา.
เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง คือยั่งยืนได้แก่ติดต่อ
กันไป โดยความเป็นราคะที่เกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวตัณหา.
เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ คือหายไป ได้แก่
ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่มี โดยความเป็นราคะเกิดร่วมกับอุจเฉททิฏฐิ
ชื่อว่า วิภวตัณหา.
และสัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนกับรูปตัณหา ฉะนั้น จึงรวมเป็น
ตัณหาวิปริต 18 ประการ. ตัณหาวิปริตเหล่านั้น แจกออกเป็น 18
ในอายตนะทั้งหลายมีรูปภายในเป็นต้น (และ) แจกออกเป็น 18 ใน
อายตนะทั้งหลายมีรูปภายนอกเป็นต้น จึงรวมเป็น 36 ประการ. แจก
เป็นอดีต 36 เป็นอนาคต 36 เป็นปัจจุบัน 36 ด้วยประการอย่างนี้
จึงเป็นตัณหาวิปริต 108 ประการ.
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาวิปริต 18 ประการ อาศัยรูปที่เป็นไปภายใน