เมนู

การปรากฏขึ้นในสันตตินั่นเอง ชื่อว่า ปฏิลาโภ อธิบายว่า
อายตนะเหล่านั้นที่ปรากฏอยู่นั่นแหละ ย่อมชื่อว่าเป็นอันสัตว์ทั้งหลาย
กลับได้แล้ว.
ด้วยบทนี้ว่า อยํ วุจฺจตาวุโส ชาติ พระเถระกล่าวย้ำชาติที่ได้
แสดงมาแล้ว ทั้งโดยโวหาร ทั้งโดยปรมัตถ์ ดังนี้แล.
ก็ผู้ศึกษาพึงทราบกรรมภพที่เป็นปัจจัยแห่งชาติ ในคำว่า ภว-
สมุทยา
นี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จบ กถาพรรณนาชาติวาระ

กถาพรรณนาภววาระ


[119] พึงทราบวินิจฉัยในภววาระดังต่อไปนี้ :-
กรรมภพและอุปปัตติภพ ชื่อว่า กามภพ. บรรดาภพทั้ง 2 อย่าง
นั้น กรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงกามภพนั่นเอง ชื่อว่า กรรมภพ.
อธิบายว่า กรรมนั้นเองท่านกล่าวว่า ภพ โดยการกล่าวถึงผล
เหมือนคำทั้งหลายมีอาทิว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุ
นำมาซึ่งความสุข การสะสมบาปเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ดังนี้ เพราะกรรมภพ
นั้นเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ. ขันธปัญจกที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครองแล้ว
เกิดขึ้นแล้วด้วยกรรมนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. เพราะว่าขันธปัญจกนั้น
ท่านกล่าวว่า ภพ เพราะตั้งวิเคราะห์ว่า เป็นที่เกิด (แห่งปฏิสนธิจิต).
เมื่อเป็นอย่างนี้ ทั้ง 2 อย่างนี้ คือ กรรมภพนี้ 1 อุปปัตติภพ 1
ท่านกล่าวว่า เป็นกามภพแม้โดยประการทั้งปวง. ในรูปภพและอรูปภพ