เมนู

กถาพรรณนาสัจจวาระ


[114] บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของพระเถระนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนว่า สาธาวุโส
แล้วได้ถามปัญหาสูงขึ้นไปอีก และพระเถระก็ได้แก้ปัญหา โดยทำนอง
แม้อย่างอื่น แก่ภิกษุเหล่านั้น. ในทุกวาระแม้นอกจากวาระนี้ ก็มีนัยนี้.
[115] เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปข้าพเจ้าจักขยายความของบรรยาย
ที่พระเถระได้กล่าวแก้ไว้แล้ว ไม่พาดพิงถึงคำแบบนี้. แต่ด้วยการแสดง
โดยย่อซึ่งวาระนี้ พระเถระได้แสดงทุกขสัจว่า ทุกข์ ในคำว่า ทุกฺขญฺจ
ปชานาติ.
ส่วนในการแสดงโดยพิสดาร คำที่จะต้องกล่าวทั้งหมด ได้
กล่าวไว้แล้วในสัจจนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล.
จบ กถาพรรณนาสัจจวาระ

กถาพรรณนาชรามรณวาระ


[117 ] ต่อจากนี้ไป เป็นเทศนาว่าด้วยปฎิจจสมุปบาท.
ในจำนวนวาระเหล่านั้น ก่อนอื่นพึงทราบวินิจฉัยในชรามรณวาระ
ว่า
บทว่า เตสํ เตสํ นี้ เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จำนวนมากมายไว้
โดยสังเขป. เพราะว่า เมื่อพูดอยู่ตลอดทั้งวันอย่างนี้ว่า ความแก่ของ
พระเทวทัตอันใด ความแก่ของท่านโสมทัตอันใด. . .ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย
จะไม่ถึงการครอบคลุมไว้ ( จะไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์ทั้งหมด). แต่
ด้วยบททั้ง 2 นี้ (เตสํ เตสํ) สัตว์ตัวไหนจะไม่ถูกครอบคลุมเป็นไม่มี

(คลุมไปหมดทุกตัวสัตว์). เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า บทนี้
เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จำนวนมากไว้โดยสังเขป.
บททั้ง 2 ว่า ตมฺหิ ตมฺหิ นี้. เป็นการแสดงทั่วไปถึงหมู่สัตว์
จำนวนมากมายด้วยสามารถแห่งการเกิดในคติ.
บทว่า สตฺตนิกาย เป็นการแสดงสรุปถึงสัตว์ที่ได้แสดงไว้แล้ว
โดยสาธารณนิเทศ.
ก็บทว่า ชรา ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชรา ชีรณตา เป็นการ
แสดงถึงสภาวธรรม.
บทว่า ชีรณตา เป็นการ แสดงถึงอาการ.
บททั้งหลายมี ขณฺฑิจฺจํ เป็นต้น เป็นการแสดงถึงหน้าที่ (ของ
ชรา) ในเพราะผ่านกาลเวลาไป.
สองบทหลังเป็นการแสดงถึง (หน้าที่) ตามปกติ. เพราะว่า
ชรานี้ ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้โดยสภาวะด้วยบทว่า ชรา เพราะฉะนั้น
บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงสภาวะของชรานั้น.
ด้วยบทว่า ชีรณตา นี้ พระเถระได้แสดงไว้โดยอาการ. เพราะ
ฉะนั้น บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงอาการของชรานั้น
ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจํ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการการทำ
ภาวะแห่งฟันและเล็บที่หักเป็นชิ้น ๆ ในเพราะล่วงกาลเวลาไป.
ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการทำภาวะ
ที่ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตตจตา นี้ พระเถระได้แสดงแม้โดย
กิจคือการกระทำให้เนื้อเหี่ยวหนังย่น. ด้วยเหตุนั้น ศัพท์ทั้ง 3 มี ขณฺฑิจฺจํ
เป็นต้นเหล่านี้ จึงเป็นศัพท์แสดงถึงกิจของชรานั้น ในเพราะล่วงกาล

เวลาไป ด้วยศัพท์ทั้ง 3 เหล่านั้น พระเถระได้แสดงถึงชราที่ปรากฏคือ
เป็นสิ่งที่ปรากฏ ด้วยสามารถเห็นความพิการเหล่านี้ได้.
อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ทางเดินของน้ำปรากฏ (ให้เห็นได้) เพราะ
พัดหญ้าและต้นไม้เป็นต้นให้ล้มราบ หรือทางเดินของไฟปรากฏ (ให้
เห็นได้) เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้นไหม้. และทางเดิน (ของน้ำ
เป็นต้น ) นั้น ก็ไม่ใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย (เป็นคนละอย่าง) ฉันใด.
ทางเดินของชรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชาติปรากฏ (ให้เห็น)
ในอวัยวะทั้งหลายมีฟันเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มี
ความหักเป็นต้น คนแม้ลืมตาดูแล้ว ก็จับต้องได้. และทางเดินของชรา
นั้น ด้วยความสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มีความหักเป็นต้น ก็ไม่
ใช่ชรา. เพราะชราจะเป็นธรรมชาติรู้ได้ด้วยจักษุหามิได้เลย. ( ต้องรู้ได้
ด้วยปัญญา).
แต่ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก
พระเถระได้แสดงชราตามปกติ เพราะความสิ้นไปแห่งอายุเป็นสิ่งที่รู้ได้
จากความหง่อมของอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ในเพราะการก้าวล่วงกาลเวลา
เท่านั้น เหตุที่ท่านเป็นผู้ฉลาดยิ่ง.
เพราะฉะนั้น 2 อาการหลังนี้พึงทราบว่า เป็นการแสดง (อาการ)
ตามปกติของชรานั้น.
บรรดาอายุและอินทรีย์ทั้ง 2 อย่างนั้น เพราะเหตุที่อายุของผู้ถึง
ความแก่ ย่อมเสื่อมไป (มากขึ้น) ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวชราไว้โดย
ใกล้ต่อผล ( ใกล้ต่อความตาย) ว่า ได้แก่ความเสื่อมแห่งอายุ อายุมาก.
แต่เพราะเหตุที่เวลายังหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลายมีตาเป็นต้น ยังสดใส

สามารถรับเอาอารมณ์ (มีรูปเป็นต้น ) ของตน แม้ที่ละเอียดได้ โดย
ง่ายดาย เมื่อเข้าถึงชราแล้วจะหง่อม ขุ่นมัว ไม่สดใส อารมณ์ของตน
ถึงจะหยาบก็ไม่สามารถจะรับได้ ฉะนั้น ชราพระเถระจึงกล่าวไว้ โดย
ความใกล้ต่อผลว่า ความหง่อมของอินทรีย์ทั้งหลายบ้าง

ชรา 2 อย่าง


อนึ่ง ชรานี้นั้น คือชราทั้งหมดที่แสดงมาแล้วอย่างนี้ มี 2 อย่าง
คือ ปากฏชรา ( ความแก่ที่ปรากฏ ) 1. ปฏิจฉันนชรา (ความแก่ที่
ปกปิด ) 1. ในจำนวนชราทั้ง 2 อย่างนั้น ความแก่ในรูปธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความวิการ มีความหักเป็นต้น ในอวัยวะ
ทั้งหลาย มีฟันเป็นต้นให้เห็น ส่วนในอรูปธรรมชื่อว่า ปฏิจฉันนชรา
เพราะไม่แสดงความวิการเช่นนั้นให้เห็น.
มีชรา 2 อย่างอีก อย่างนี้ คือ อวีจิชรา ( แก่ไม่มีร่องรอยให้
เห็น) 1 สวีจิชรา (แก่มีร่องรอยให้เห็น) 1. ในจำนวนชรา 2
อย่างนั้น ชราของแก้วมณี. ทอง เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อวีจิชรา อธิบายว่า ชื่อว่าชราไม่มี
ระหว่างขั้น (ไม่มีขั้นตอนให้เห็น) เพราะความแตกต่างของสีเป็นต้น
ในระหว่าง ๆ รู้ได้ยาก เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่าง ๆ
ของสัตว์มีปราณ ในวัยมันททสกะ (วัย 10 ปีที่เยาว์) เป็นต้น และ
เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่าง ๆ ของสิ่งที่ไม่มีลมปราณ
ในดอกไม้ผลไม้และใบไม้เป็นต้น. แต่ชราในสิ่งอื่นนอกจากนั้น ตาม