เมนู

เปรียบเทียบด้วยการแทงด้วยหอกร้อยเล่ม


ส่วนในข้อเปรียบเทียบ การถูกแทงด้วยหอก 3 ร้อยเล่ม พึงทราบ
อรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้ ในเวลาเช้า ชายคนหนึ่งเดือนร้อนเพราะหอก
100 เล่มจำนวนโค. หอกจำนวนนั้นแทงร่างของเขาให้เป็นบาดแผลถึง
100 แห่ง ทะลุไปไม่หยุดอยู่ในระหว่างแล้ว ในกาลต่อมา ก็หล่นออกไป
หอก 200 เล่ม อีกต่างหาก ก็อย่างนั้น เมื่อเช่นนั้น ทั่วร่างจึงพรุน
ไปหมด เพราะหอกหลายด้ามที่พุ่งไปไม่หล่นในโอกาสที่หอก 100 ด้าม
(รุ่นก่อน) นั้น หล่นไปแล้ว. ทุกข์ของชายคนนั้นที่เกิดขึ้น เพราะ
ปากบาดแผล แม้บาดแผลเดียว ก็หาประมาณไม่ได้อยู่แล้ว. จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะปากบาดแผล 300 แผล.
บรรดาเหตุการณ์เหล่านั้น ปฏิสนธิเหมือนกับเวลาที่หอกตกถูก.
การเกิดแห่งขันธ์เหมือนกับการเกิดในเพราะปากบาดแผล การเกิดขึ้น
แห่งทุกข์นานาชนิดที่มีวัฏฏะเป็นมูลมีได้ในเพราะขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
เหมือนการเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาในเพราะปากบาดแผลทั้งหลาย.
อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิวิญญาณ เหมือนชายผู้ประพฤติชั่วช้า.
นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เหมือนปากบาดแผลที่เกิดขึ้นแก่ชาย
คนนั้น เพราะถูกหอกทั้งหลายแทงแล้ว. พึงเห็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์มี
ประการต่าง ๆ สำหรับวิญญาณ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย ด้วยสามารถ
ของกรรมกรณ์ 32 ประการ และโรค 98 ชนิด เป็นต้น เหมือนการ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์หนักแก่ชายคนนั้น เพราะมีปากบาดแผลเป็นปัจจัย.
เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นวิญญาณาหารว่า เป็นเช่นกับด้วยถูกแทง.

ด้วยหอก 300 เล่มอย่างนั้น ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในวิญญาณาหาร
ได้. นี้เป็นการประกอบความในการเปรียบเทียบด้วยการถูกแทงด้วยหอก
300 เล่ม.
เธอเมื่อครอบงำความใคร่ในอาหารเหล่านี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ย่อม
กำหนดรู้อาหารทั้ง 4 อย่าง. เมื่อกำหนดรู้อาหารเหล่านั้นแล้ว วัตถุ
ที่กำหนดรู้แม้ทั้งหมด ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน.
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายกำหนดรู้กวฬิงการาหารแล้ว
ราคะที่อาศัยเบญจกามคุณ ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้ราคะ
ที่อาศัยเบญจกามคุณแล้ว จะไม่มีสังโยชน์นั้น (กามราคสังโยชน์) ซึ่ง
เป็นเหตุให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว มาสู่โลกนี้อีก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารแล้ว เวทนาทั้ง 3
ก็เป็นอันเธอทั้งหลายกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้เวทนาทั้ง 3 แล้ว เรา
ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารแล้ว ตัณหา 3
ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้ตัณหา 3 แล้ว เราตถาคตกล่าวว่า
อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารแล้ว นามรูป
ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว เมื่อกำหนดรู้นามรูปแล้ว เราตถาคตก็กล่าวว่า
อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.

ตัณหาเกิด - อาหารจึงเกิด


บทว่า ตณฺหาสมุทยา อาหารสมุทโย มีเนื้อความว่า เพราะ
ตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น สมุทัย ( เหตุเกิด) คือการเกิดขึ้นแห่งอาหาร
ทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ ย่อมมีขึ้น.
มีอย่างไร ?
(มีอย่างนี้คือ) เพราะในขณะแห่งปฏิสนธิ จะมีโอชะที่เกิดขึ้นแล้ว
ในภายในรูป 30 ถ้วน ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ 3 นี้ คือ
กวฬิงการาหาร ที่เป็นอุปาทินนกะ (มีใจครอง) เกิดขึ้นแล้ว เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร
ที่เป็นอุปาทินนกะเหล่านี้ คือ ผัสสะและเจตนาที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิต
และวิญญาณคือตัวจิตเอง เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.
พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งอาหารทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ เพราะ
ตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.
แต่เพราะเหตุที่ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวถึงอาหาร
คละกันไปทั้งอาหารที่เป็นอุปาทินนกะ. (มีใจครอง) และที่เป็น
อนุปาทินนกะ (ที่ไม่มีใจครอง) ฉะนั้น จึงควรทราบการเกิดขึ้นแห่ง
อาหาร เพราะตัณหาเกิดอย่างนี้ สำหรับอาหารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะ
(ดังต่อไปนี้) :-
อันที่จริง โอชะมีอยู่ในรูปทั้งหลายที่ตั้งขึ้น แต่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ
8 ดวง นี้ คือกวฬิงการาหารที่เป็นอนุปาทินนกะ ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะ
ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นปัจจัย ส่วนผัสสะ 1 เจตนาที่สัมปยุตด้วย