เมนู

ในส่วนที่เหนือปัญหาก่อนขึ้นไป. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ภิกษุ
ทั้งหลายได้ถามปัญหาข้อแรกให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง.
ถัดนั้น พระเถระเมื่อจะพยากรณ์ปัญหาให้ภิกษุเหล่านั้นฟัง จึงได้
กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา อาวุโส (ยังมีอยู่คุณ) ดังนี้.

กถาพรรณนาอาหารวาระ


ภูต - สัมภเวสี

[113] ในจำนวนบทเหล่านั้น คำขยายต่อไปนี้ จะเป็นคำขยาย
ความเฉพาะบทที่ยาก.
คำว่า อาหาร ได้แก่ปัจจัย. เพราะปัจจัยนำผลมาให้ตน ฉะนั้น
ปัจจัยจึงเรียกว่า อาหาร.
เหล่าสัตว์ที่ถือกำเนิดเกิดแล้ว ชื่อว่า ภูต ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
ภูตานํ วา สตฺตานํ.
เหล่าสัตว์ที่เสาะหา คือแสวงหาการสมภพ คือการเกิด ได้แก่การ
บังเกิดขึ้น ชื่อว่า สัมภเวสี.
บรรดากำเนิดทั้ง 4 ชนิดเหล่านั้น. เหล่าสัตว์ที่เกิดในฟองและที่
เกิดในหยดน้ำ ตราบใดที่ยังไม่ทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก (ออกมา)
ตราบนั้นก็ยังชื่อว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก
ออกมาภายนอกแล้ว จึงชื่อว่า ภูต.
ส่วนสัตว์ที่เกิดแต่เถ้าไคลและผุดเกิด ในขณะแห่งจิตดวงแรก
ชื่อว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะแห่งจิตดวงที่ 2 ไป ชื่อว่า ภูต.
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายจะเกิดโดยอิริยาบถใดก็ตาม ตราบใด

ยังไม่เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้น ตราบนั้น ชื่อว่า
สัมภเวสี ต่อจากอิริยาบถนั้นไปจึงชื่อว่า ภูต.
อีกอย่างหนึ่ง เหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว ( สำเร็จแล้ว )
ชื่อว่า ภูต. พระขีณาสพเหล่าใด ผู้เป็นพระอริยเจ้าแล้วนั่นแหละ นับว่า
จักไม่เกิดอีก คำว่า ภูต นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดกำลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี
คำว่า สัมภเวสี นี้ เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนผู้กำลังแสวงหาการเกิด
ต่อไป เพราะยังละสังโยชน์ในภพไม่ได้.
เมื่อเป็นเช่นนี้ ด้วย 2 บทนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง (เนื้อความ) จึง
คลุมถึงสัตว์ทุกชนิด. และ วา ศัพท์ ในคำว่า ภูตานํ วา สตฺตานํ นี้
เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีเนื้อความรวม ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ). เพราะ-
ฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบ (ว่าเท่ากับ) เนื้อความนี้ว่า ภูตานํ จ
สมฺภเวสีนญฺจ
(ทั้งภูตทั้งสัมภเวสี).
บทว่า ฐิติยา ได้แก่เพื่อดำรงอยู่.
บทว่า อนุคฺคหาย ได้แก่เพื่ออนุเคราะห์ คือเพื่ออุปการะ.
ทั้ง 2 บท คือ ภูตานํ วา สมฺภเวสีนํ นั้น มีความแตกต่างกัน
เพียงคำพูดเท่านั้น แต่ความหมายของทั้ง 2 บทนั้น เป็นอย่างเดียวกัน
ทีเดียว.
บทว่า ฐิติยา ( เพื่อดำรงอยู่ ) คือเพื่อไม่ให้ธรรมทั้งหลายที่
เกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์นั้น ๆ ขาดตอนไป โดยไม่สามารถติดต่อกันได้.
บทว่า อนุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์ ได้แก่เพื่อให้ธรรมที่ยังไม่เกิด
ได้เกิดขึ้น.

และทั้ง 2 บทนี้ ควรใช้ในข้อความทั้งคู่อย่างนี้ว่า เพื่อการดำรงอยู่
และเพื่ออนุเคราะห์ภูตทั้งหลายด้วย เพื่อการดำรงอยู่และเพื่ออนุเคราะห์
สัมภเวสีทั้งหลายด้วย.

กวฬิงการาหาร


อาหารที่จะต้องทำให้เป็นคำๆ ไปแล้วกลืนกิน ชื่อว่า กวฬิงการา-
หาร.
คำว่า กวฬิงการาหาร นี้ เป็นชื่อของโอชะที่มีข้าวสุกและขนมสด
(กุมมาส) เป็นต้น เป็นที่ตั้ง.
สองบทว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา ความว่า ( อาหาร)
ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็นสิ่งที่หยาบ โดยวัตถุ. ชื่อว่า สุขุม เพราะ
เป็นสิ่งที่ละเอียด โดยวัตถุ.
แต่โดยสภาวะ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า เป็นของละเอียดทีเดียว
เพราะเป็นของนับเนื่องในสุขุมรูป. ถึงแม้ว่าการที่อาหารนั้นจะเป็นของ
หยาบและเป็นของละเอียดโดยวัตถุ ก็ต้องรู้ได้เพราะอุปาทายรูป. ความจริง
อาหารของนกยูงที่ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหาร
จระเข้. ได้ทราบว่า พวกจระเข้ฮุบก้อนหินเข้าไป และก้อนหินเหล่านั้น
พอตกถึงท้องของจระเข้เท่านั้นก็ย่อยหมด (ละลายไป). พวกนกยูงจิกกิน
สัตว์มีชีวิต เช่นงูและแมลงป่องเป็นต้น. แต่อาหารของพวกหมาใน
ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหารของนกยูง. ได้ทราบว่า
หมาในเหล่านั้นแทะเขาและกระดูก (สัตว์) ที่ทิ้งไว้ตั้ง 3 ปีได้ ก็เขา
และกระดูกสัตว์เหล่านั้น พอแต่เปียกน้ำลายของมันเท่านั้น ก็ยุ่ยเหมือน
กันกับเหง้ามัน.