เมนู

อภิชฌานั้นมีลักษณะเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้
จะพึงเป็นของเรา. อภิชฌานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือน
กับอทินนาทาน.
อภิชฌานั้น มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ของของผู้อื่น 1
น้อมสิ่งนั้นมาเพื่อตน 1.
อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโลภที่มีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น
กรรมบถก็ยังไม่ขาดจนกว่าจะน้อมมาเพื่อคนว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึง
เป็นของเรา.

แก้พยาบาท


บาปธรรมชื่อว่า พยาบาท เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีลักษณะประทุษร้าย เพื่อความพินาศ
ของผู้อื่น. พยาบาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับ
ผรุสวาจา.
พยาบาทนั้น มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ สัตว์อื่น 1 ความคิด
ที่จะให้สัตว์นั้นพินาศ 1.
อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถ
ก็ยังไม่ขาด ตลอดเวลาที่ผู้โกรธยังไม่คิดให้สัตว์นั้นพินาศว่า ไฉนหนอ
สัตว์นี้จะพึงขาดสูญพินาศไป.

แก้มิจฉาทิฏฐิ


เจตนาชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตาม

ความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทาน
ที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง)
ชื่อว่ามีโทษน้อย ที่แน่นอน ( ดิ่ง ) ชื่อว่ามีโทษมาก.
มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การที่เรื่องผิดไป
จากอาการที่ยึดถือ 1 การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่
มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ 1.

วินิจฉัยโดยอาการ 5 อย่าง


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง 10 เหล่านี้ โดยอาการ
5 อย่าง คือ โดยธรรมะ ( ธมฺมโต) 1 โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) 1
โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) 1 โดยเวทนา (เวทนาโต) 1 โดยเค้ามูล
(มูลโต) 1.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงใน
จำนวนกรรมบถ 10 อย่างเหล่านี้ กรรมบถ 7 ข้อ ตามลำดับ (กาย-
กรรม 3 วจีกรรม 4 ) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ 3 อย่าง
มีอภิชฌา เป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.
บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า กรรมบถ 7 ข้อตามลำดับ และ
มิจฉาทิฏฐิอีก 1 รวมเป็น 8 ข้อนี้ เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล
(รากเหง้าของอกุศล) ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (2 ข้อนี้) เป็นทั้ง
กรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็น