เมนู

แก้ผรุสวาจา


เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยค
และวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา
เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป.
มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงคำว่า ขอให้แม่กระบือดุร้าย
จงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่น
แหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก
ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือ
ได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.
วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดัง
ที่พรรณนามานี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน. จริงอยู่
บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกก ๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็น
ท่อน ๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้
อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกัน
ก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลาย จงไล่เขาไปเสีย. แต่
ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม
(ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้น
อยู่.
อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด

จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า
คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้
ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิต
หยาบคาย.
ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึง
เป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้น มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้ที่จะต้องถูกด่า
เป็นคนอื่น 1 จิตขุ่นเคือง 1 การด่า 1.

แก้สัมผัปปลาปะ


ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี-
ประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ
สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความ
เคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก ( ความเคย
ชินมาก).
สัมผัปปลาปะนั้น มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ความมุ่งหน้า
ที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงความภารตะ และเรื่องการลักพา
นางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น 1 การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น 1.

แก้อภิชฌา


เจตนาชื่อว่า อภิชฌา เพราะเพ่งเล็ง อธิบายว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มุ่งหน้าเพ่งเล็งเฉพาะภัณฑะของผู้อื่นแล้วน้อมภัณฑะนั้นมา.