เมนู

แก้ปิสุณาวาจา


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น. วาจาที่เป็นเหตุให้
หัวใจของบุคคลผู้ที่คนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่า
ปิสุณาวาจา.
ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจา
ที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่า
ผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัป-
ปลาป ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่า
นั้น ก็ได้นามว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์
เอาเจตนานั้นแล.
เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี-
ประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำคนให้เป็นที่รักของ
ผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น. ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษ
น้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก
เพราะมีคุณธรรมมาก.
ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ผู้ต้องถูกทำลาย
เป็นคนอื่น 1 ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็น
ผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รัก
เป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) 1 ความ
พยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น 1 การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น 1.

แก้ผรุสวาจา


เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยค
และวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา
เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป.
มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงคำว่า ขอให้แม่กระบือดุร้าย
จงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่น
แหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก
ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือ
ได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.
วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดัง
ที่พรรณนามานี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน. จริงอยู่
บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกก ๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็น
ท่อน ๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้
อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกัน
ก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลาย จงไล่เขาไปเสีย. แต่
ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม
(ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้น
อยู่.
อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด